วิศวะฯ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัลประกาศเกียรติคุณ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น วช.

0
488
image_pdfimage_printPrint

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ “รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2562” พร้อมเงินรางวัล 1 แสนบาท จาก ผลงานประดิษฐ์คิดค้น“แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่ออสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์ส สาธิตผ่านระบบพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ ทีมคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชร นันทิวัฒนา หัวหน้าผู้ประดิษฐ์ ดร.คทา จารุวงศ์รังสี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เติมพงษ์ ศรีเทศ, รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา กอเจริญ (สถาบันเทคโนโลยีจิตลดา) และรองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม รองอธิการบดี ที่ปรึกษาโครงการฯ
ในโอกาสที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ “รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2562” พร้อมเงินรางวัล 1 แสนบาท จาก ผลงานประดิษฐ์คิดค้น “แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่ออสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์ส สาธิตผ่านระบบพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ” (Open-Source Visible-Light-Communication Development Platform with the Demonstration on Intelligent Museum Used Case)” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชร นันทิวัฒนา อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะหัวหน้าผู้ประดิษฐ์คิดค้น กล่าวว่า “แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่ออสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์ส สาธิตผ่านระบบพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ” เป็นแพลตฟอร์มพัฒนา ระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นซึ่งเปิดให้นักพัฒนาไปต่อยอดได้แบบโอเพนเซอร์ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และการนำแพลตฟอ์มดังกล่าวไปพัฒนาระบบที่พิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งเปิดใช้งานจริงเพื่อเป็นการสาธิตให้เห็นถึงความสามารถของตัวเทคโนโลยีดังกล่าว
ในส่วนของแพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นที่พัฒนาขึ้นนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ส่วนของฮาร์ดแวร์ ซึ่งประกอบด้วยวงจรภาคส่ง-ภาครับ และส่วนของซอฟต์แวร์ซึ่งมีลักษณะเป็นไฟล์โลบารี่ที่สามารถดุงเข้าผนวกกับโปรแกรมของนักพัฒนาได้โดยตรงโดยการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ทำให้นักพัฒนาหรือผู้สนใจที่อาจขาดความเขี่ยวชาญในการพัฒนาวงจรสื่อสารดปรโตคอลสื่อสาร หรือการจัดการสัญญาณรบกวนสามารถพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดไอเดียเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาไทยไปสู่นัวตกรรมที่เป็นรูปธรรมได้