ลักษณะอาการ การวินิจฉัยโรค และภาวะแทรกซ้อน

0
451
image_pdfimage_printPrint

unnamed-file.jpg2

เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า DM) เป็นกลุ่มโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้ขาดได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของระบบการควบคุมน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกินค่ามาตรฐาน สาเหตุเกิดจากการหลั่งอินซูลิน (insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีปริมาณไม่เพียงพอต่อร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง กรณีที่ปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียต่อระบบอวัยวะและระบบเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะภายในทำงานผิดปกติ และท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดภาวะอาการของโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะภายใน อาทิ ระบบประสาท สมอง ดวงตา หัวใจ ไต และเท้า

“ลักษณะอาการของโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย โหยอาหารบ่อย สายตาพร่ามัว เมื่อเป็นแผลจะหายช้า เกิดภาวการณ์ติดเชื้อตามผิวหนัง ปาก หรือกระเพาะปัสสาวะ พบอาการชาบริเวณมือและเท้า”
ข้อมูลที่มาจาก https://www.youtube.com/watch?v=mSK5DD3q_bo

วินิจฉัยโดยการเจาะตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือด โดยก่อนที่จะเข้ารับการวินิจฉัยผู้ป่วยจำเป็นต้องงดอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ณ ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ 126 มก./ดล. หากทำการวินิจฉัยซ้ำอีกครั้งแล้วพบระดับน้ำตาลที่มากกว่า 126 มก./ดล. ถือว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน แต่ในกรณีที่ท่านไม่ได้อดอาหารมาก่อน แต่ต้องการตรวจเลยโดยไม่อยากกลับมาใหม่ในวันรุ่งขึ้น ท่านสามารถเจาะเลือดได้เลยโดยใช้ค่า 200มก./ดล.เป็นเกณฑ์ หากวินิจฉัยแล้วพบค่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 200มก./ดล. ถือว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน
ภาวะโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นโรคเบาหวาน จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ป่วยและครอบครัว จึงเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้ารับการรักษาในอัตราที่สูง ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อป้องกัน พร้อมทั้งลดปัญหาโรคเบาหวานที่พบได้มากในคนไทย ส่งเสริมและรณรงค์ให้คนไทยทุกคนตระหนักและทราบถึงปัญหา และภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้ถึงวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน เป็นเหตุให้จำเป็นต้องตรวจค้นหา และวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรคให้เป็นไปตามเกณฑ์หรือเป้าหมายที่แพทย์กำหนดไว้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดอัตราความพิการ การเสียชีวิตที่เกิดจาก โรคเบาหวาน รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูการรักษาโรคเบาหวานให้สมฤทธิ์ผล จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทาง การแพทย์หลายสาขาวิชา อาทิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน นักโภชนาการ นักกิจกรรม นักบำบัด ที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ทันสมัย รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจในโรคเบาหวาน และสามารถนำไปใช้ในการดูแลตนเองได้ ในกรณีหากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำการรักษาโดยทีมแพทย์หลายสาขา อาทิ จักษุแพทย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและปอด ศัลยแพทย์ คลินิกสุขภาพเท้า อินซูลิน