ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเครือข่ายไร้สายในองค์กร ด้วยการบริหารผ่านคลาวด์

0
635
image_pdfimage_printPrint

ปัจจุบัน อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อป สมาร์ทโฟน แท้ปเล็ตจะมีชิปเซ็ทรองรับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ (Gartner) คาดว่า จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ท (Connected things) ที่ต้องการการดูแลจัดการมากกว่า 60 ล้านชิ้นในปี คศ. 2018 และจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ทมากถึง 350 ล้านชิ้นในปีคศ. 2020 ซึ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเองนับวันจะกลายเป็นบริการพื้นฐานเหมือนบริการสาธารณูปโภคทั่วไป

ดังนั้น หมายความว่า จะมีจำนวนอุปกรณ์โมบายที่จะเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายขององค์กรมากขึ้นอีกมาก องค์กรจะต้องพิจารณาเลือกใช้เครือข่ายที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการมากมายเหล่านั้น ให้มีการเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอราบรื่น ให้แบนด์วิธสูง ความเร็วสูง องค์กรจึงควรจะพิจารณาเลือกอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้สายประเภท (Wireless LAN – WLAN) ที่ใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน (On-premises WLAN) หรือเครือข่ายที่ให้คลาวด์เป็นผู้บริหารให้ (Cloud-managed WLAN) ก็ตาม ซึ่งเราควรย้อนกลับไปดูถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN แล้วจึงพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างกันต่อไป

วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN
แอคเซสพ้อยท์ (Access Point) ทำงานอิสระ
ย้อนกลับไปในยุคที่เริ่มมีเครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์แต่ละชิ้นจะทำงานและถูกบริหารแยกชึ้นกัน ซึ่งไม่ได้สร้างปัญหาใดๆ เนื่องจาก ส่วนใหญ่องค์กรจะใช้แอคเซสพ้อยท์ในงานที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน ในที่ที่ต่างกันไป เช่น ในห้องประชุม หรือที่ล้อปบี้ และมีอุปกรณ์โมบายเชื่อมต่อเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนน้อย
ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน
ต่อมา ความต้องการใช้งานเปลี่ยนไป ผู้ใช้งานต้องการใช้สัญญาณไวไฟในอาคารมากขึ้น อาทิ ในการประชุมและใช้จำนวนแอคเซสพ้อยท์นับร้อยๆ ชิ้น แต่แอคเซสพ้อยท์ยังไม่สามารถประสานงานระหว่างเครื่องกันเองได้ มีผลทำให้เกิดปัญหาด้านเทคนิค อาทิ การจัดโหลดบาลานซ์ การเลือกช่องทางสัญญาณ การทำ RF optimization การยืนยันสิทธิ์เพื่อเข้าใช้งาน และการทำโรมมิ่ง ซึ่งมักส่งผลให้เครือข่ายทำงานไม่สม่ำเสมอและคาดการณ์ในอนาคตไม่ได้แน่นอน
ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) เพื่อจัดการทราฟฟิคและบริหารแอคเซสพ้อยท์ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น การตั้งค่าและนโยบายต่างๆ แต่ยังต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญเพื่อจัดการดูแลระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายดังกล่าว
โซลูชั่นบริหารผ่านคลาวด์
และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ผลักดันให้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายได้รับการพัฒนาเป็นการใช้งานโดยคลาวด์ ซึ่งหากองค์กรเลือกใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายไร้สายขององค์กรผ่านคลาวด์ (Cloud-managed WLAN Solution) นี้ องค์กรจะไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายเพื่อติดตั้งในทุกสาขาในการเชื่อมโยงการใช้งาน ในที่นี้ คลาวด์จะทำงานเป็นคอนโทรลเลอร์เสมือนในพับลิคคลาวด์ (Public Cloud) และทำงานกับแอคเซสพ้อยท์ทุกชิ้นผ่านอินเทอร์เน็ต คลาวด์จึงสามารถบริหารแอคเซสพ้อยท์ได้ทั้งหมด รวมถึงการตั้งค่าเริ่มใช้งาน การตรวจสอบ การแก้ไขปัญหาต่างๆ
องค์กรเพียงจ่ายค่าโซลูชั่นบริหารเครือข่ายไร้สายขององค์กรผ่านคลาวด์นี้ในรูปแบบค่าบริการรายปี ทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในการวางแผนงบประมาณได้มากกว่า และเพียงจ่ายค่าไลเซ้นต์ (Subscribed licenses) เท่านั้น คลาวด์จะช่วยดูแลเรื่องอื่นๆ ให้อย่างครบครัน รวมถึง การสำรองข้อมูล สตอเรจ การทำระบบสำรอง และอื่นๆ อีกมาก
ประโยชน์ของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน และโซลูชั่นบริหารผ่านคลาวด์
ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน
• ไม่ต้องใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต
โซลูชั่นทางบริหารผ่านคลาวด์จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการปฏิบัติงาน และอาจจะมีปัญหาในการทำงานหากองค์กรนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือมีค่าความหน่วงสูง หรือมีปัญหาด้านทรูพุธ (Throughput) ความเร็วที่ไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้าม ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงานจะสามารถจัดการคุณสมบัติการทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการใช้อินเทอร์เน็ต
• ยืดหยุ่น ใช้งานและการทำงานต่อเนื่องกว่า
ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่สำนักงานจะได้รับการยอมรับว่ามีความยืดหยุ่น และปรับให้ใช้งานตรงต่อความต้องการมากกว่าในหลายๆ กรณี สามารถรองรับคุณสมบัติขั้นสูงของอุปกรณ์ไวไฟ (Wi-Fi) และแอปพลิเคชั่น (Application) ได้มากกว่า นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นเครือข่ายใหญ่ที่ใช้แอคเซสพ้อยท์นับร้อยๆ ชิ้น ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่ตั้งค่าเป็น Role-based access control และมี Secondary controller Configuration จะสามารถทำงานเข้ากันได้ดี เพื่อสร้างศักยภาพในการเข้าใช้งานเครือข่ายแลนทีดีกว่าและให้การทำงานที่ต่อเนื่องกว่า
ข้อได้เปรียบของการโซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์
• เริ่มต้นใช้งานและบริหารจากที่อื่นได้อย่างง่ายๆ
โซลูชั่นนี้จะช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายขึ้นมาก เนื่องจากไม่มีการติดตั้งระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่สาขาใด ผู้ให้บริการคลาวด์จะรีโมทเข้ามาจัดการกับอุปกรณ์โดยตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีประจำ ณ ที่นั้น แต่ที่สำคัญคือ อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายนั้นต้องฉลาดและมีคุณสมบัติระดับสูงเป็นประเภท Zero-touch deployment ที่ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีเข้าไปจัดการใดๆ จึงเห็นได้ชัดว่า การใช้โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้ทำให้การจัดการเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในองค์กรที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีไม่เพียงพอ
• ไม่มีข้อจำกัดของจำนวนอุปกรณ์ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ที่เป็นฮาร์ดแวร์
โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้สามารถบริหารแอคเซสพ้อยท์ได้ไม่จำกัด ซึ่งช่วยให้การปรับเปลี่ยนเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ องค์กรจึงสามารถเริ่มใช่โซลูชั่นนี้ในการบริหารแอคเซสพ้อยท์เพียงชิ้นเดียว และเพิ่มจำนวนได้ทันทีที่ธุรกิจขยายตัวหรือมีการขยายสาขาใหม่ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์
องค์กรแบบใดที่ควรใช้คลาวด์
ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า องค์กรแบบใดที่ควรใช้โซลูชั่นแบบคลาวด์ เนื่องจากโครงสร้างการเชื่อมต่อไร้สายทั้งสองรูปแบบล้วนให้ประโยชน์ต่อองค์กร แต่ข้อมูลดังต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านตัดสินใจได้
เครือข่ายของท่านบริหารงานโดยเจ้าหน้าที่ไอทีที่มีจำนวนจำกัดหรือไม่?
ให้ท่านลองตรวจสอบโครงข่ายไอทีขององค์กรอีกครั้ง หากท่านมีเจ้าหน้าที่ไอทีที่สนับสนุนงานให้กับสาขาและพนักงานประจำที่สาขาเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ท่านอาจพิจารณาใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงาน เนื่องจากสามารถออกแบบใช้งานได้ตามความต้องการจริงได้ดี แต่ถ้าหากทีมงานของท่านมีจำนวนน้อยและท่านเองกำลังมองหาหนทางที่จะทำให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายๆ โซลูชั่นแบบคลาวด์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
องค์กรของท่านมีสาขากระจายตัวในสถานที่หลายแห่งหรือไม่?
ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงานเหมาะกับองค์กรใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีดูแลเพียงพอ แต่โซลูชั่นแบบคลาวด์ที่แอคเซสพ้อยท์สามารถตั้งค่าเองได้จะเหมาะกับธุรกิจมีสาขาหลายแห่ง เช่น เชนร้านค้า (Chain Store) ที่มีร้านสาขาขนาดเล็กในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ พนักงานที่สาขานั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอทีเพียงแต่เสียบสายไฟและเปิดอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่จะรีโมทเข้าไปจัดการตั้งค่าและตรวจสอบอุปกรณ์จากที่อื่นได้
องค์กรของท่านมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไม่?
เนื่องจากโซลูชั่นแบบคลาวด์ไม่ต้องการระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์ และไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่าระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายควรเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ แต่กลับสามารถเพิ่มแอคเซสพ้อยท์ในที่ใด จำนวนเท่าใด เมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ บริการโซลูชั่นแบบคลาวด์จะเป็นลักษณะจ่ายตามที่ท่านเติบโต (Pay as you grow) จึงทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในปัจจุบันและอนาคตที่อาจมีความไม่แน่นอนสูง

จากเทรนด์การเลือกใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายผ่านคลาวด์ที่ให้ความคล่องตัวมากกว่าและประหยัดการลงทุนมากกว่า ไซเซลจึงได้เปิดตัวเนบูล่า (Nebula) ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านการเชื่อมโยงและจัดการเครือข่ายผ่านคลาวด์ใหม่ ที่ช่วยบริหารอุปกรณ์เนบูล่าประเภทไร้สายและมีสายได้ทั้งหมดจากที่เดียวกัน เนบูล่าแตกต่างจากรายอื่นตรงที่เป็นประเภทปลั๊กแอนด์เพลย์ใช้งานได้ทันที สามารถเริ่มต้นใช้งาน ดูแลและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ได้จากระยะไกล จึงช่วยองค์กรเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานและเพิ่มความยืดหยุ่นด้านธุรกิจ

การเชื่อมโยงระบบบริหารผ่านคลาวด์ของเนบูล่าจากไซเซล

เนบูล่าแตกต่างจากโซลูชั่นการเชื่อมโยงบนคลาวด์ของรายอื่นที่มักเน้นการบริหารเครือข่ายไร้สายเท่านั้น แต่เนบูล่าจากไซเซลนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์ไร้สาย (Access Point) สวิตช์ (Switch) และซีเคียวริตี้เกทเวย์ (Security Gateway) อันครบถ้วนและถูกบริหารผ่านศูนย์ควบคุมเนบูล่า (Nebula Control Center) ซึ่งศูนย์ควบคุมเนบูล่านี้จะให้ข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงสรุปรายงานของทราฟฟิค (Traffic) สถานะของอุปกรณ์ การใช้งานของเครือข่ายและสาขาในรูปแบบแดชบอร์ด (Dashboard) ที่ใช้งานผ่านเว็บเบร้าเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้งานจึงสามารถรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลกของตนนั้นได้ และมั่นใจได้ว่าธุรกิจมีความต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

ตระกูลผลิตภัณฑ์เนบูล่าจากไซเซล

กลุ่มผลิตภัณฑ์เนบูล่าจะรวมถึง อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์ที่ช่วยบริหารคลาวด์ (Cloud Managed Access Points: NAP) สวิตช์ที่ช่วยบริหารคลาวด์ (Cloud Managed Switches: NSW) และเกทเวย์ด้านความปลอดภัยที่ช่วยบริหารคลาวด์ (Cloud Managed Security Gateway: NSG) ทั้งนี้ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนบูล่า (Nebula)ได้ที่ www.zyxel.co.th