ฤาประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศแห่งสังคมผู้สูงวัยระดับสูงสุดในอนาคต

0
280
image_pdfimage_printPrint

เป็นที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และถือเป็นประเทศแรกที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ประเทศสังคมผู้สูงวัยระดับสูงสุด” (Super-aged country) คือมีประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีมีสัดส่วนมากกว่า 20%* ใขณะที่ ประเทศไทยเองก็มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยมีจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีอยู่ที่ 10.05% จึงทำให้ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายเช่นเดียวกันในอนาคตอันใกล้นี้

super aged

บริกิต มิคซา (Brigitte Miksa) หัวหน้าแผนกบำนาญสากล บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ หนึ่งในบริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า “ถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเล็กน้อยที่นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าในปี 2014 ที่ประเทศญี่ปุ่น ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่จะขายดียิ่งกว่าผ้าอ้อมสำหรับเด็กเสียอีก ด้วยอายุเฉลี่ย (มัธยฐาน) ที่ 45 ปีในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มไปอยู่ที่ 50 ปี ภายในปี 2025 ญี่ปุ่นจะกลายเป็นประเทศที่ครองแชมป์ประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดและยาวนานที่สุดในโลก และที่น่าแปลกใจที่สุดก็คือในช่วงทศวรรษที่ 1960 แดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้มีจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปอยู่เพียง 6% แต่ปัจจุบันญี่ปุ่นได้เปลี่ยนจากประเทศที่มีสัดส่วนคนหนุ่มสาวมากที่สุดในกลุ่มประเทศ จี7 กลายมาเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุด

 

ภายในระยะเวลาเพียง 25 ปี ระหว่างปี 1970 ถึง 1995 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศแห่งสังคมผู้สูงวัย กลายมาเป็นประเทศแห่งสังคมผู้สูงวัยระดับสูงสุด ตามคำจำกัดความของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี และสหประชาชาติ ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นได้เพิ่มจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปี ขึ้นเป็นสองเท่า จาก 7% เพิ่มเป็น 14% ภายในเวลาเพียง 25 ปี และญี่ปุ่นได้กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุระดับสูงสุดในปี 2006 เมื่อประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีมีสัดส่วนมากกว่า 20%

การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วทำให้มีเวลาน้อยสำหรับการปฏิรูปสังคม

 

กระบวนการเกิดสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่นปรากฏชัดเจนในดัชนีชี้วัดต่างๆ เช่น สัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงาน (อัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา) และยิ่งเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ กราฟข้อมูลเชิงลึกว่าด้วยประชากรศาสตร์แบบอินเทอร์แอคทีฟ แสดงให้เห็นจำนวนผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงข้อมูลประชากรศาสตร์ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินบำนาญและเศรษฐกิจมหภาค

 

หากจะพิจารณาในกรณีของประเทศญี่ปุ่นให้ชัดขึ้นอีก เราจำเป็นจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศสที่ต้องใช้เวลาถึง 115 ปี (ตั้งแต่ ค.ศ.1865 – 1980) ถึงจะมีจำนวนผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 65 ปีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คือ จาก 7% เพิ่มเป็น 14% นั่นหมายความว่าประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ มีกรอบเวลาที่ยาวนานกว่าในการเตรียมตัวรับมือกับสภาวะสังคมแห่งผู้สูงอายุ

 

นี่คือสัญญาณเตือนไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย

 

สำหรับประเทศเอเชียชาติอื่นๆ การเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็วของประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง จากตุรกีถึงมาเลเซีย มีหลายประเทศที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยในย่างก้าวที่คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และจะมีเวลาไม่ถึง 25 ปีที่จะปรับปรุงสถาบันการเงินเพื่อการเกษียณเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมผู้สูงวัยมากกว่าสังคมที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ถือเป็นประเทศที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีอยู่ที่ 10.05%

 

นายจอห์น เบียร์ด ผู้อำนวยการ แผนก Ageing and Life Course องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “ไม่จำเป็นต้องเศร้าไป ถึงแม้ว่าความกดดันจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรจะมีอิทธิพลต่อระบบประกันสังคม แต่การล่วงเข้าสู่วัยสูงอายุกลับถือเป็นโอกาสมากกว่า เพราะจะเห็นได้ว่ามีผู้สูงวัยที่มีอายุ 85 ปีที่สามารถทำงานภายใต้ความกดดันที่สูงมากๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยที่พวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถทำงานได้พอๆ กับคนอายุ 35 เลยทีเดียว”

 

ผลการสำรวจที่แย่ลงของญี่ปุ่นในแง่ของดัชนีเงินบำนาญเพื่อความยั่งยืนโดยอลิอันซ์ (PSI) มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในเวลาอันรวดเร็วของญี่ปุ่น ผลการสำรวจเบื้องต้นในรายงาน PSI ฉบับล่าสุด ซึ่งจะออกเผยแพร่ในปีนี้ แสดงให้เห็นว่าอัตราความยั่งยืนของระบบบำนาญของญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลง และมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเช่นนี้อีกในอนาคต

 

รายงาน PSI ฉบับแรกในปี 2009 ระบุว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 30 ของดัชนีดังกล่าว จากนั้นในปี 2011 ตกลงมาอันดับที่ 40 และจากรายงานฉบับล่าสุดปี 2014 ตกมาอยู่อันดับที่ 3 จากท้ายตาราง ด้วยระดับหนี้ที่สูงเกินปกติ คือสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ จีดีพีถึง 238% (อ้างอิงตามสถิติจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ) ยิ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญศึกหนักยิ่งขึ้น

 

เงินบำนาญใจดี? ไม่น่าจะใช่!

 

ทุกวันนี้ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลกมีสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ประมาณ 42 คนต่อจำนวนคนในวัยทำงานทุกๆ 100 คน และอย่างเร็วที่สุดภายในปี 2023 อัตราส่วนพึ่งพิงวัยชราจะเพิ่มเป็น 50 คนต่อคนในวัยทำงาน 100 คน – หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนในวัยทำงานของญี่ปุ่นทุกสองคนจะต้องให้การสนับสนุนเลี้ยงดูคนในวัยเกษียณหนึ่งคน โดยเมื่อดูจากอัตราส่วนดังกล่าวแล้ว ผลประโยชน์จากเงินบำนาญที่สัญญาว่าจะมอบให้แก่ผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มว่าอาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขารับปากเอาไว้

 

แรงผลักดันจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงผนวกกับอายุไขเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มปัญหาอันเกิดจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่นไม่ได้บ่งบอกถึงสัญญาณในการสิ้นสุดลงเลย ทั้งนี้ อายุไขเฉลี่ยของสตรีชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 87 ปี มากกว่าอายุไขเฉลี่ยของสตรีชาวไทย 9.2 ปี และมากกว่าสตรีในประเทศเอเชียอื่นๆ 13.45 ปี โดยที่อายุไขเฉลี่ยของสตรีชาวไทยอยู่ที่ 77.67 ปี ขณะที่บุรุษมีอายุไขเฉลี่ยอยู่ที่ 70.97 ปี

 

ในทางกลับกัน อัตราส่วนจำนวนเด็กต่อสตรีอยู่ที่ 1.41 ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ของญี่ปุ่นอยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดในโลก ส่งผลให้จะมีการหดตัวของจำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นลงถึง 15% ภายในปี 2050

 

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุน้อยกว่าประเทศญี่ปุ่น แต่ก็กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว และจะต้องเผชิญกับความท้าทายแบบเดียวกันนี้ในไม่ช้า ด้วยอัตราเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.41 ประเทศไทยยังคงมีสัดส่วนที่ต่ำกว่าอัตราทดแทนอยู่มาก ซึ่งคร่าวๆ อยู่ที่ประมาณ 2.1 คือแม่ 1 คนมีลูก 2.1 คน ในประเทศไทยในจำนวนคนวัยทำงาน 100 คนจะมีผู้สูงวัยอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปอยู่ประมาณ 14 คน และภายในปี 2050 คาดว่าอัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 53 คนต่อ 100 คน ซึ่งอยู่ในอัตราเดียวกับที่ญี่ปุ่นเผชิญมาก่อนหน้าถึง 27 ปี กว่าจะถึงจุดนั้น ประเทศไทยจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากสังคมผู้สูงวัยระดับสูงสุดเหมือนอย่างที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่อย่างแน่นอน ความแตกต่างอยู่ที่กรอบเวลาเท่านั้น

 

สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความท้าทายในด้านประชากรในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก กรุณาเข้าไปเยี่ยมชมกราฟข้อมูลเชิงลึกด้านประชากรแบบอินเทอร์แอคทีฟของโครงการ Project M ได้ที่ http://projectm-online.com/#/global-agenda/demographic-insights ซึ่งจะมีการเพิ่มเติมประเทศใหม่ๆ เข้าไปอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของประเทศไทยนั้น บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มอลิอันซ์ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับภาวะสังคมสูงวัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่องทางการขายผ่านโทรทัศน์ (DRTV) กับผลิตภัณฑ์ “สูงวัย ได้เกินร้อย” ซึ่งแผนประกันตัวนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างแท้จริง จุดเด่นคือมีเงินคืนพิเศษ ให้ทุกปี สูงสุดปีละ 6,000 บาท โดยไม่ต้องรอจนครบสัญญา และเมื่ออยู่ครบสัญญารับเงินก้อนคืนอีกสูงสุด 450,000 บาท อีกทั้งยังมอบความคุ้มครองชีวิตให้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 150% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยค่าเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา โดยมีการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นสื่อฟรีทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ เคเบิ้ล พร้อมเพิ่มช่องทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้าวัยทำงาน ที่ต้องการมองหาผลิตภัณฑ์ให้แก่คุณพ่อคุณแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

*ในกรณีที่จำนวนประชากรอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนเท่ากับหรือต่ำกว่า 7% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ให้ถือว่าเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ หลังจากนั้นจะพบว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุเรื่อยไปจนมีจำนวนเกิน 14% และเมื่อใดที่จำนวนผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 20% ให้ถือว่าสังคมนั้นอยู่ในสังคมผู้สูงวัยระดับสูงสุด