1

รีบสมัครด่วน “โครงการประกวดกิจกรรมบูรณาการระดับปฐมวัย และสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ครั้งที่ ๒ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕

          “โครงการประกวดกิจกรรมบูรณาการระดับปฐมวัย

และสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ครั้งที่  ๒   ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕

ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จัดโดย

คณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและเยาวชน   

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

กระทรวงศึกษาธิการ   และ   สถาบันวิจัยการเรียนรู้

 

ความเป็นมาของโครงการประกวด

เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา  ๘๕

พรรษา   ในวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๕    คณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และเยาวชน  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา

กษัตริย์  กระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันวิจัยการเรียนรู้  จึงร่วมขับเคลื่อนแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน  “โครงการประกวดกิจกรรมบูรณาการระดับปฐมวัย      และสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ ๒”   ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   เพื่อให้สถาบันการ

ศึกษาในระดับปฐมวัยทั่วประเทศ ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมบูรณาการ  พร้อมสื่อประกอบการเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมต่อไป

โดยกิจกรรมบูรณาการและสื่อประกอบที่ส่งเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้  จะต้องสะท้อนความหมายในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเฉพาะความหมายของความพอประมาณ  มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันในตัว

ที่ดี     ตลอดจนเหมาะสมกับวิถีชุมชนและสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น    ัตริย์  ัพย์สินส่วน้ ร่วมกับ ๕สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหลักสูตรการ

ศึกษาปฐมวัย  และปลูกฝังกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง  เพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกัน  ที่ดีในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลและครอบครัว

ข้อกำหนดในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

๑.เป็นสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับปฐมวัย

๒.สามารถส่งกิจกรรมพร้อมสื่อประกอบได้สถานศึกษาละ ๑ ผลงาน

๓.ผลงานที่ส่งจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมหลัก  ๖  กิจกรรม  ที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้

ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖  และมีสื่อประกอบกิจกรรม

เงื่อนไข

นำเสนอกิจกรรมบูรณาการในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

๑.แผนการจัดกิจกรรมบูรณาการทั้ง ๖ กิจกรรม

๒.ภาพกิจกรรมที่จัดขึ้น (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว)

๓.การบรรยายประกอบกิจกรรม ไม่จำกัดรูปแบบ (เพื่อให้คณะกรรมการเข้าใจกิจกรรมยิ่งขึ้น)

นำเสนอสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๑.ภาพสื่อประกอบการเรียนรู้สำหรับใช้ในกิจกรรมข้างต้น

๒.รายละเอียดวัสดุที่ใช้และวิธีการผลิต

๓.ขั้นตอนและวิธีใช้สื่อประกอบในแต่ละกิจกรรม

วิธีการส่งและสถานที่ส่งผลงาน

ส่งแผ่นซีดีผลงานในรูปไฟล์ มาที่  สถาบันวิจัยการเรียนรู้   ๕๑/๓  อาคารวิภาวดีทาวเวอร์ ชั้น ๑๕  ถ.งามวงศ์วาน  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

วันและเวลาส่งผลงาน

สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้  จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕

ประกาศผลการคัดเลือกระดับภูมิภาค

ภาคเหนือ :  ๔ พ.ย. ๒๕๕๕  โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๕  โรงแรมราชาวดีรีสอร์ท จ.ขอนแก่น,     

ภาคกลาง ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก  : ๑๔ พ.ย. ๒๕๕๕  ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  กทม.

ภาคใต้  : ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๕  โรงแรมลีการ์เด้นท์ จ.สงขลา

ประกาศผลการคัดเลือกระดับประเทศ 

วันที่  ๑๒-๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕    ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์   กรุงเทพฯ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝ่ายกิจกรรมวิชาการ  คุณภควัต  เกตุอุ่น  โทร.๐๒-๙๔๑๒๕๒๑-๒  ต่อ ๑๐๑ , ๐๘-๖๐๖๙-๔๕๖๗

รางวัลสำหรับผู้ส่งผลงาน

กิจกรรมบูรณาการและสื่อประกอบการเรียนรู้ที่ส่งเข้าประกวด  แบ่งรางวัลออกเป็น ๒ ระดับ  คือ  ระดับภูมิภาค   และระดับประเทศ  ดังนี้

ระดับประเทศ

รางวัลที่ ๑  ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พร้อมเงินรางวัล  ๕๐,๐๐๐ บาท

รางวัลที่ ๒  ถ้วยรางวัลจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี

พร้อมเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท

รางวัลที่ ๓  ถ้วยรางวัลจาก ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วน

พระมหากษัตริย์    พร้อมเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท

รางวัลชมเชย  โล่เกียรติยศจาก  สถาบันวิจัยการเรียนรู้  พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท

ระดับภูมิภาค  ( ๔ ภูมิภาค)

รางวัลชนะเลิศ   ถ้วยเกียรติยศ  ถ้วยเกียรติยศ  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมเงินรางวัล

๑๕,๐๐๐ บาท

รางวัลรองชนะเลิศ  (๒ รางวัล)  ถ้วยเกียรติยศ  ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ   ผู้ทรงคุณวุฒิเศรษฐกิจ

พอเพียงด้านการศึกษา พร้อมเงินรางวัล  ๑๐,๐๐๐ บาท

รางวัลชมเชย  (๓ รางวัล)  โล่เกียรติยศ  จากหน่วยงานต้นสังกัด  พร้อมเงินรางวัล  ๕,๐๐๐ บาท

 

ใบสมัครส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

“โครงการประกวดกิจกรรมบูรณาการระดับปฐมวัย

และสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ครั้งที่  ๒

 

ชื่อสถานศึกษา…………………………………………………………………………………………………………………………………………….

สังกัด     ¨ สช.    ¨ สพฐ.     ¨  อปท.     ¨ กทม.    ¨ ตชด.    ¨ อื่นๆ ระบุ…………………………………………….

เลขที่…………………….ตรอก/ซอย……………………………………………………..ถนน………………………………………………………

ตำบล/แขวง…………………………………………………………..อำเภอ/เขต…………………………………………………………………….

จังหวัด………………………………………………โทรศัพท์……………………………………โทรสาร………………………………………..

เว็บไซต์………………………………………………………….อีเมล์………………………………………………………………………………….

ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา………………………………………………………………………ตำแหน่ง……………………………………………

ชื่อผู้ติดต่อ………………………………………………………..โทรศัพท์………………………………….มือถือ……………………………….

ส่งผลงานกิจกรรมบูรณาการ

สำหรับชั้น                            ¨ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก     ¨ อนุบาล ๑      ¨ อนุบาล ๒     ¨ อนุบาล ๓

สาระที่ควรเรียนรู้                ¨ ๑. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

¨ ๒. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

¨ ๓. ธรรมชาติรอบตัว

¨ ๔. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

เรื่อง…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สิ่งที่ส่งมาด้วย      ๑………………………………………………………………………………………………………………………………………

๒……………………………………………………………………………………………………………………………………..

๓………………………………………………………………………………………………………………………………………

๔………………………………………………………………………………………………………………………………………

๕………………………………………………………………………………………………………………………………………

ประทับตราโรงเรียน(ถ้ามี)

 

ลงชื่อ……………………………………………………………………

(………………………………………………………..)

ตำแหน่ง……………………………………………………………….

วันที่………..เดือน……………………พ.ศ.๒๕๕๕

 

 *คำตัดสินขอคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด  ผู้ส่งผลงานยินยอมให้คณะผู้จัดเผยแพร่ผลงานได้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  สถาบันวิจัยการเรียนรู้  ๕๑/๓ อาคารวิภาวดีทาวเวอร์ ชั้น ๑๕

ถ.งามวงศ์วาน   แขวงลาดยาว เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทร.๐๒-๙๔๑๒๕๒๑-๒   โทรสาร.๐๒-๙๔๑๒๕๒๙

 

รายละเอียดเกณฑ์การตัดสิน

“โครงการประกวดกิจกรรมบูรณาการระดับปฐมวัยและสื่อประกอบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ครั้งที่  ๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕

จัดโดย

คณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและเยาวชน  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

   สถาบันวิจัยการเรียนรู้

 

๑. ความสอดคล้องของกิจกรรมกับบริบทของโรงเรียนและผู้เรียน (๑๐ คะแนน)

จัดกิจกรรมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ  สภาพสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม  สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและชุมชน  โดยมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านของผู้เรียน  มีความยาก-ง่ายเหมาะกับพัฒนาการของผู้เรียนในระดับที่นำเสนอ

๒. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน (๑๐ คะแนน)

ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้  และลงมือ

ปฏิบัติ  โดยมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำ  เป็นวิทยากร  เป็นผู้จัดหาสื่อ/วัสดุประกอบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม

มีส่วนร่วมในการประเมินผลและใช้ชุมชนเป็นแหล่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม

๓. ความสอดคล้องของกิจกรรมกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (๓๐ คะแนน)

มีมาตรฐานคุณลักษณะที่สะท้อนถึงการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการสอน

มีการจัดประสบการณ์สำคัญทั้ง ๔ ด้าน สอดแทรกสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มีร่องรอยหลักฐานถึงการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ

มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์   อีกทั้งมีการ

จัดกิจกรรมทั้ง ๖ กิจกรรมสอดคล้องกับสาระ หน่วย และเรื่อง  พร้อมกับกำหนดสื่อการเรียนรู้และเสนอนวัตกรรมที่สะท้อนถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อผู้เรียน

๔. ความสอดคล้องของกิจกรรมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (๓๐ คะแนน)

กิจกรรมมีความหลากหลายของเนื้อหาตามสภาวะภูมิสังคม*ของแต่ละสถานศึกษา  ปลูกฝัง

ให้ผู้เรียนมีวิธีคิด อุปนิสัย และพฤติกรรมสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดำเนินการโดยนักเรียน  และมีครูเป็นผู้นำหรือสนับสนุน  มุ่งเน้นให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม/สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา   และสามารถขยายผลการเรียนรู้ ความเข้าใจแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงออกสู่ชุมชนได้   กิจกรรมสอดคล้องกับกับความคิด ความต้องการ และความจำเป็นของสถานศึกษาและคนในชุมชน

โดยมีการวางแผนที่ดี  สมเหตุสมผล มีหลักคิดและหลักปฏิบัติของกิจกรรมสอดคล้องกับหลักวิชาที่เกี่ยวข้อง แสดงถึงภูมิคุ้มกันที่ดี มีการวางแผนยืดหยุ่น มีข้อเสนอทางเลือกหากมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น

กิจกรรมส่งเสริมความรู้และคุณธรรมของผู้เรียน  มีการพัฒนาทักษะ ความมีระเบียบวินัย มีสัมมา

คารวะ ซื่อสัตย์ กตัญญู  ส่งเสริมสติปัญญา แยกแยะถูกผิด ควรไม่ควร  และส่งเสริมความขยันหมั่นเพียร อดทน สนใจใฝ่รู้ ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

 

 

 

๕. ความสามารถในการบูรณาการทักษะทางวิชาการลงในกิจกรรม (๑๐ คะแนน)

บูรณาการทักษะทางภาษา สังคม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  และทักษะทาง

วิชาการเฉลี่ยน้ำหนักในกิจกรรมหลักทั้ง ๖ กิจกรรมเท่า ๆ กัน

 

๖. การใช้วัสดุในท้องถิ่น และการนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ในการผลิตสื่อประกอบ (๑๐ คะแนน)

เป็นสื่อปลอดภัย มีขนาด รูปทรง น้ำหนักเหมาะกับผู้เรียน  มีประโยชน์ ตรงกับจุดมุ่งหมาย

ถูกต้องตามเนื้อหาที่สอน เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน  มีวิธีการใช้ง่าย นำไปใช้ได้หลายกิจกรรม คุ้มค่า และจัดเก็บได้สะดวก  นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้สื่อ และเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย สามารถสัมผัสได้ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น กล้าแสดงออก  ผลิตได้ง่าย ประหยัดเวลา  แรงงาน และผลิตจากวัสดุเหลือใช้ที่หาง่ายหรือราคาถูก เป็นของจริงใกล้ตัว และเป็นสื่อจากธรรมชาติ/วัสดุท้องถิ่น

 

*****************************************

 

  • “ภูมิสังคม”
  • ภูมิ หมายความถึง ลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งก็คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั่นเอง พูดแบบชาวบ้านก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง เพราะสภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคนั้น แตกต่างกันไปมาก ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิความหนาวร้อน ความแห้งแล้งและชุ่มฉ่ำแตกต่างกันไป อย่างในประเทศไทย ภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทางใต้เป็นพื้นที่พรุ ภาคกลางงเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงแห้งแล้งในบางส่วน เป็นต้น
  • สังคม คือสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม จารีตประเพณี วิถีชีวิต แนวคิดทัศนคติ ที่แตกต่างกันและอยู่ล้อมรอบผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น

ข้อมูลศูนย์ศึกษาการพัฒนา