– บุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการคือผู้ที่จะสร้างความแตกต่างในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคล
– บุคคลที่มีความสามารถยังคงหลั่งไหลสู่ประเทศเล็กๆที่มีรายได้สูง และสหรัฐอเมริกา
– วอชิงตันดีซีเป็นเมืองที่ครองอันดับสูงสุด
– ผลวิเคราะห์ 5 ปีเผยให้เห็นว่า ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันมีช่องว่างด้านทรัพยากรบุคคลมากขึ้น
รายงานการจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลของโลกประจำปี 2562 (2019 Global Talent Competitiveness Index: GTCI) เผยให้เห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นผู้นำของโลก ขณะที่ประเทศในเอเชีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา มีจำนวนบุคคลที่มีความสามารถลดลงอย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวยังตอกย้ำด้วยว่า ปัญหาทรัพยากรบุคคลได้กลายเป็นความกังวลหลักของบริษัท เมือง และประเทศต่างๆ ขณะที่ศักยภาพของบุคคลที่มีความสามารถได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรือง
https://mma.prnewswire.com/media/810173/The_Adecco_Group_Logo.jpg
https://mma.prnewswire.com/media/810946/INSEAD_Logo.jpg
https://mma.prnewswire.com/media/810947/Tata_Communications_Logo.jpg
รายงานประจำปีนี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมถึงการสนับสนุน บ่มเพาะ และพัฒนาทั่วโลก รวมถึงผลพวงที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ปัจจุบันมีการคิดค้นแนวทางใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการและบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กร รวมถึงรับประกันว่าจะมีการสนับสนุนพนักงานและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ ความก้าวหน้าดังกล่าวเห็นได้ชัดเป็นพิเศษในเมืองที่มีระบบนิเวศ “เมืองอัจฉริยะ” เป็นแม่เหล็กดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถ สำหรับผลการค้นพบอื่นๆที่สำคัญประกอบด้วย
– ประเทศและเมืองที่ครองอันดับต้นๆ มีแนวโน้มเปิดรับบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด
– การเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์และยุคดิจิทัลทำให้บุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการมีบทบาทมากขึ้น
รายงานยังเผยด้วยว่า เมืองมีการพัฒนาบทบาทมากกว่าประเทศในฐานะศูนย์กลางของบุคคลที่มีความสามารถ และจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านทรัพยากรบุคคลของโลก เมืองมีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีความยืดหยุ่นและมีศักยภาพในการปรับตัวตามเทรนด์และรูปแบบใหม่ๆมากกว่า นอกจากนั้นยังเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่คล่องแคล่วเพราะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมืองจึงดึงดูดใจบุคคลที่มีความสามารถมากกว่า โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการ
เมืองที่คว้าแชมป์ในปีนี้ไปครองคือวอชิงตันดีซี ตามมาด้วยโคเปนเฮเกน ออสโล เวียนนา และซูริค โดยวอชิงตันทำผลงานได้อย่างแข็งแกร่งใน 4 จาก 5 เกณฑ์หลักที่มีการพิจารณา ได้แก่ ความเป็นสากล ความดึงดูด การเติบโต และความสามารถ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของบุคคลที่มีความสามารถ ได้แก่ เศรษฐกิจมั่นคง ผู้คนกระตือรือร้น โครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อแข็งแกร่ง แรงงานทักษะสูง และการศึกษาระดับโลก
มองภาพรวมในระยะยาว
นับเป็นครั้งแรกที่รายงาน GTCI ทำการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลในระยะยาว โดยพิจารณาผลการจัดอันดับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ทำให้ค้นพบว่าประเทศที่โดดเด่นด้านทรัพยากรบุคคลกับประเทศอื่นๆมีช่องว่างระหว่างกันมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลสูงอยู่แล้วก็ยิ่งมีศักยภาพสูงขึ้นไปอีก ส่วนประเทศที่มีศักยภาพด้อยกว่าก็ยิ่งด้อยลงไปอีก
คุณบรูโน แลนวิน กรรมการบริหารฝ่ายดัชนีทั่วโลกของ INSEAD และบรรณาธิการร่วมของรายงานนี้ กล่าวว่า “ในกลุ่มประเทศที่ติด 10 อันดับแรก มีเพียงสองประเทศที่ไม่ได้อยู่ในทวีปยุโรป ได้แก่ สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอกย้ำว่ายุโรปยังคงเป็นผู้นำในด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ นอกจากนั้นยังตอกย้ำว่าประเทศที่มีมหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยมและมีระบบการศึกษาที่แข็งแกร่งจะดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถ อย่างไรก็ดี บุคคลที่มีความสามารถมักย้ายไปตามประเทศต่างๆทั่วโลก ดังนั้นสถานการณ์ความได้เปรียบนี้ก็ยังมีสิทธิเปลี่ยนขั้วได้ ประเทศเหล่านี้จึงจำเป็นต้องเปิดกว้างต่อไปเพื่อรักษาสถานะผู้นำของตนเอง”
คุณเฟลิเป มอนเตโร ศาสตราจารย์ด้านยุทธศาสตร์และกรรมการฝ่ายวิชาการของ INSEAD รวมถึงบรรณาธิการร่วมของรายงานนี้ กล่าวเสริมว่า “ดูเหมือนว่าความเป็นผู้ประกอบการจะเป็นพรสวรรค์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ องค์กรทุกรูปแบบจำเป็นต้องดึงดูดและพัฒนาบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการในยุคที่ระบบนิเวศทั่วโลกถูกพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล”
คุณอเลน เดเฮซ ซีอีโอบริษัท อเด็คโก้ กรุ๊ป (Adecco Group) กล่าวว่า “เนื่องจากโลกของการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากเมืองหรือประเทศใดก็ตามไม่มีสภาพที่เหมาะสมต่อการดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถ ทั้งคนและธุรกิจก็จะย้ายหนีไปที่อื่นเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ รายงาน GTCI ประจำปีนี้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการถูกมองว่าเป็นผู้ที่จะนำพาโลกไปในทิศทางที่เหมาะสมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง การบ่มเพาะบุคคลเหล่านี้คือส่วนสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้เจริญก้าวหน้าและวางรากฐานความสำเร็จในอนาคต”
คุณวิโนด กุมาร์ ซีอีโอบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ (Tata Communications) กล่าวว่า “แนวคิดการเปิดกว้างมีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีความเป็นผู้ประกอบการ ขณะที่วัฒนธรรมทางธุรกิจก็มีบทบาทสำคัญ ธุรกิจและเมืองต้องร่วมมือกันสร้างวัฒนธรรมความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรและชุดความคิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมนุษย์คือปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งจะช่วยปลดล็อกศักยภาพเชิงบวกอันเป็นผลพวงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่มนุษย์และจักรกลทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กัน อีกทั้งยังมีความร่วมมือและความคิดเกิดขึ้นมากมายหลายรูปแบบ”
รายงาน GTCI ประจำปี 2562 ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้โดยโรงเรียนธุรกิจ INSEAD ร่วมกับ อเด็คโก้ กรุ๊ป และทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ คือรายงานเปรียบเทียบศักยภาพในการดึงดูด เพิ่มจำนวน และรักษาทรัพยากรบุคคลของเมืองและประเทศต่างๆ นับเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจภาพรวมของศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคล และสามารถพัฒนากลยุทธ์ต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
รายงานนี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลด้วยตัวแปร 68 รายการ โดยในปีนี้มีการจัดอันดับ 125 ประเทศ และ 114 เมือง (เพิ่มขึ้นจาก 119 ประเทศ และ 90 เมืองในปี 2561) ครอบคลุมทุกระดับรายได้และระดับการพัฒนา
ประเทศที่ติด 20 อันดับแรกในปี 2562
ในรายงานฉบับที่ 6 นี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังครองแชมป์เช่นเคย ส่วนสิงคโปร์และสหรัฐอเมริกาก็ตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ นอร์เวย์ (อันดับ 4) เดนมาร์ก (อันดับ 5) ฟินแลนด์ (อันดับ 6) และสวีเดน (อันดับ 7) ส่วนประเทศที่รั้งท้ายตารางประกอบด้วยบุรุนดี (อันดับ 123) คองโก (อันดับ 124) และเยเมน (อันดับ 125)
เช่นเดียวกับปีก่อนๆ ประเทศที่รั้งหัวตารางเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ประเทศเหล่านี้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคลที่ต้านทานความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมได้ดีกว่า นอกจากนี้ ประเทศที่มีรายได้สูงยังมีความมั่นคงมากพอที่จะลงทุนในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมทักษะ ตลอดจนการดึงดูดและรักษาบุคคลที่มีความสามารถจากทั่วโลก
อันดับประเทศ
คะแนน
1. สวิตเซอร์แลนด์
81.82
2. สิงคโปร์
77.27
3. สหรัฐอเมริกา
76.64
4. นอร์เวย์
74.67
5. เดนมาร์ก
73.85
6. ฟินแลนด์
73.78
7. สวีเดน
73.53
8. เนเธอร์แลนด์
73.02
9. สหราชอาณาจักร
71.44
10. ลักเซมเบิร์ก
71.18
11. นิวซีแลนด์
71.12
12. ออสเตรเลีย
71.08
13. ไอซ์แลนด์
71.03
14. เยอรมนี
70.72
15. แคนาดา
70.43
16. ไอร์แลนด์
70.15
17. เบลเยียม
68.48
18. ออสเตรีย
68.31
19. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
65.90
20. อิสราเอล
63.26
เมืองที่ติด 10 อันดับแรกในปี 2562
เมืองที่รั้งหัวตารางทำผลงานได้ดีในเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 5 เกณฑ์ โดยแชมป์ตกเป็นของวอชิงตันดีซี ซึ่งติด 10 อันดับแรกใน 3 จาก 5 เกณฑ์ การที่เมืองต่างๆมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะศูนย์กลางของผู้ที่มีความเป็นผู้ประกอบการ ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและคึกคัก โดยเฉพาะในด้านนวัตกรรม
อันดับเมือง
คะแนน
1. วอชิงตันดีซี (สหรัฐอเมริกา)
69.2
2. โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก)
68.0
3. ออสโล (นอร์เวย์)
66.1
4. เวียนนา (ออสเตรีย)
65.7
5. ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์)
65.5
6. บอสตัน (สหรัฐอเมริกา)
65.4
7. เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์)
65.0
8. นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)
64.6
9. ปารีส (ฝรั่งเศส)
63.5
10. โซล (เกาหลีใต้)
62.7
ข้อมูลเพิ่มเติม
ดาวน์โหลดรายงาน: http://bit.ly/GTCI2019report
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิก: http://bit.ly/GTCI2019infographic
ติดตามทวิตเตอร์ #GTCI
ชมถ่ายทอดสดการเปิดตัวรายงานทางเฟซบุ๊กในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 15.00 น.ตามเวลา CET ที่ https://www.facebook.com/theadeccogroup/videos/716518675400145/