1

“รักษ์ตับ” อย่ามองข้ามการตรวจตับด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan) และอัลตร้าซาว์ด ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)

ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายสร้างสารที่จำเป็นต่อการทำให้เลือดแข็งตัวทำลาย ของเสีย และกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
หากเซลล์ตับถูกทำลายแล้วเซลล์นั้นไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ แต่ความมหัศจรรย์ของตับ คือ แม้มีเซลล์ดีเหลืออยู่เพียง 10-15% ตับก็ยังสามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้ ยังคงประคับประคองชีวิตไปได้ หากไม่เกิดความเสียหายลุกลามขึ้นอีก นั่นคือ หากความผิดปกติ เสียหายเกิดขึ้นกับตับ เรามักจะไม่รู้ตัวเลยหากไม่ได้รับการตรวจเลือด เพราะในระยะแรกที่ตับเสียหายร่างกายจะยังไม่แสดงอาการ
ความเสียหายของตับเกิดด้วยสาเหตุ และอยู่ในระดับต่างๆ กันไป ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ภาวะไขมันพอกตับ หรือภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือภัยเงียบ จากการใช้ ชีวิต เช่น โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหรือความดันโลหิตสูง
ขั้นที่ 2 ภาวะตับอักเสบ หรือภาวะตับอักเสบ เกิดจากมีไขมันที่พอกตับเป็นเวลานาน จนทำให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ เกิดจากการ ดื่มแอลกอฮอล์ใช้ยา ยาเสพติด หรือได้รับสารพิษ หรือในผู้ป่วยทีวินิจฉัยพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือไวรัสตับ อักเสบซี
ขั้นที่ 3 ภาวะพังผืดในตับ คือ ความผิดปกติขั้นต่อมาจากการอักเสบ ที่นำไปสู่ภาวะเซลล์ตับตายจนเป็นพังผืดขึ้นในตับ
ขั้นที่ 4 ตับแข็ง หรือภาวะที่เซลล์ตับที่ตายไปและเกิดเป็นพังผืดจำนวนมากจนนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หากเซลล์ที่อักเสบ เรื้อรัง หรือ ตายอาจเปลี่ยนเป็นเซลล์ร้ายก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งที่ตับได้

โรงพยาบาลสุขุมวิท จึงได้จัดให้มีการตรวจไฟโบรสแกน (Fibroscan) และอัลตร้าซาว์ดช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงได้ทำการตรวจ และวางแผนแนวทางในการป้องกัน ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นต่อการ รักษาที่ได้รับร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล

กลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีไขมันในตับ เช่น
– เบาหวาน
– อ้วนหรือดัชนีมวลกาย > 25
– มีประวัติไขมันในเลือดสูง
– มีประวัติตับอักเสบเรื้อรัง

กลุ่มเสี่ยง ผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง / มะเร็งตับ เช่น
– ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
– ดื่มสุราเป็นประจำ
– มีประวัติครอบครัว เป็นมะเร็งตับ หรือโรคตับ
– มีประวัติดีซ่าน

ข้อจำกัดในการตรวจไฟโบรสแกน
– หญิงมีครรภ์
– ผู้ป่วยท้องมานน้ำ
– อายุ < 18 ปี
– ผู้ป่วยมีประวัติโรคหัวใจล้มเหลว

ปรึกษาปัญหาอาการได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 1A โรงพยาบาลสุขุมวิท โทร. 02-391-0011 ต่อ 225, 226, 227