ระดมสมองครูกศน.ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนฯ

0
331
image_pdfimage_printPrint

ระดมสมองครูกศน.และบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน
ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนฯ

โครงการ Children in Street ระดมสมองครูกศน.และบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนฯ
นายกุลธร เลิศสุริยะกุล นายกสมาคมสถาบันส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สพช.) และหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดให้มีการประชุมปฎิบัติการ“พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคล” ณ โรงแรมคูณ จังหวัดสมุทรปราการเพื่อระดมความคิดจากครูกศน. จากสนง.กศน.กทม.และคณะทำงานกับเด็กบนท้องถนนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเอ็นจีโอ และหน่วยงานของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร อาทิ , ศูนย์สร้างโอกาศเด็กกรุงเทพมหานคร ,มูลนิธิสายเด็ก 1387 , องค์กรเฟรนด์ประเทศไทย,มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล(ศูนย์เมอร์ซี่),มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก จำนวน 60 คน โดยการแบ่งกลุ่มทำWORK SHOP เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมศักยภาพ เด็กบนท้องถนน เด็กด้อยโอกาส และเด็กกลุ่มเสี่ยง-เปราะบาง ในเรื่องของ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง/ทักษะชีวิต เรื่องของการเรียนรู้เพื่อเพิ่มคุณวุฒิตามระดับ และเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมี ผชช.กุลธร เลิศสุริยะกุล ดร.ปาน กิมปี และ ผศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) เป็นผู้นำกลุ่มระดมความคิด ซึ่งแนวคิดและรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้จากการระดมความคิดในการประชุมครั้งนี้จะถูกนำไปวิเคราะห์ ทำเป็นรูปแบบอย่างเป็นทางการและทำเป็นคู่มืออีกครั้งโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน จากนั้นทางโครงการฯจะได้นำคู่มือที่ได้มานี้ไปให้กับครูหรือบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนนำไปทดลองใช้กับเด็กกลุ่มเป้าหมาย และทำการประเมินผล โดยครูหรือบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนอีกครั้งเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ได้คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคลที่สมบรูณ์ที่สุดในการที่จะนำไปใช้ต่อไป
นายกุลธร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในการประชุมครั้งนี้นอกจากผู้เข้าร่วมประชุมจะได้มีส่วนร่วมในการระดมความคิดแล้ว ยังได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กบนท้องถนน เด็กด้อยโอกาส และเด็กกลุ่มเสี่ยง-เปราะบางจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ ) ร่วมบรรยายหัวข้อแนวคิดหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กเร่ร่อน (ด้อยโอกาส) รศ.ดร.ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์ ที่ปรึกษาโครงการ Children in Street บรรยายในหัวข้อ ธรรมชาติ และบริบทของกลุ่มเป้าหมาย เด็กบนท้องถนน/เด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส เด็กกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)บรรยายในหัวข้อจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนน (เด็กด้อยโอกาส) นางสาวทองพูล บัวศรี (ครูจิ๋ว) ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กบรรยายในหัวข้อ เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาหรับเด็กบนท้องถนน (เด็กด้อยโอกาส)