ยันฮีสบช่องตลาดทันตกรรมรากฟันเทียมมาแรง จัดงบ 50 ล้านเสริมเทคโนโลยีศูนย์ทันตกรรมครบวงจรตอบโจทย์ลุกค้า
ยันฮีสบช่องตลาดทันตกรรมรากฟันเทียมมาแรง จัดงบ 50 ล้านเสริมเทคโนโลยีศูนย์ทันตกรรมครบวงจรตอบโจทย์ลุกค้า
“ยันฮี” สบช่องว่างตลาด เปิดตลาดทันตกรรมรากฟันเทียม การรักษาที่กำลังมาแรง เทคนิคดีไม่แพ้เมืองนอก ทุ่มงบปีละ 50 ล้านบาทพัฒนาเทคโนโลยี และขยายพื้นที่รองรับลูกค้า ศูนย์ทันตกรรมครบวงจร 24 ชั่วโมง ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของกลุ่ม ทันตกรรมรากเทียมปีละ 15 %
ทพ. อำนวย สันติวิภานนท์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมช่องปาก,ใบหน้าและรากเทียม รพ.ยันฮี เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ วงการทันตกรรมในประเทศไทยมีความทัดเทียมกับนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญของทันตแพทย์ โดย การรักษารากฟันเทียมกำลังเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากสามารถนำมาใช้ทดแทนการทำฟันปลอมและมีความสวยงามเสมือนฟันแท้ โดยข้อดีของการทำรากฟันเทียม คือ มีคุณสมบัติที่ดีกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด ลดปัญหาฟันปลอมหลวมจากการใช้งานไปนานๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น สามารถพูดออกเสียงได้ถนัดชัดเจน ลดความรำคาญจากการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการการพูด การรับประทานอาหาร
ทพญ. สิริวรรณ ตันจันทร์พงศ์ ทันตแพทย์เฉพาะทางใส่ฟันและรากเทียม รพ.ยันฮี กล่าวว่า การใส่รากฟันเทียมนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อเติมเต็มและทดแทนฟันแท้ที่ถอนหรือหลุดไป เป็นตัวยึดให้กับฟันปลอมและเป็นแบบชนิดถอดได้และแบบติดแน่น เพื่อทำให้ง่ายต่อการเคี้ยวอาหาร นอกจากนั้นการทำรากเทียม เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการใส่ฟันเทียมเพื่อป้องกันฟันล้มเอียง ฟันห่าง และทำให้เกิดความสวยงามตามมา ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอมเหมือนใส่สะพานฟัน ช่วยเพิ่มการยึดของฟันปลอมถอดได้ทั้งปากทำให้มีประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น ซึ่งต่างจากการใส่ฟันเทียมในแบบเดิมที่จะมีผลต่อฟันข้างเคียง ฟันหลวมง่าย เกิดการละลายของสันกระดูกฟัน เป็นโรคปริทันต์และฟันผุในระยะต่อมา จึงเป็นที่มาของการรักษาเติมฟันใหม่ด้วยการฝังรากเทียม
สำหรับวัสดุที่ใช้ในการในการทำรากฟันเทียมนั้น ทำจากโลหะที่เรียกว่า ไทเทเนียม เพราะเป็นวัสดุที่ร่างกายยอมรับ เพราะโดยปกติแล้ว ร่างกายคนเรา จะต่อต้านหรือไม่ยอมรับวัสดุแปลกปลอมใดๆเข้าสู่ร่างกาย โดยไททาเนียมจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกคล้ายสกรู โดยการรักษาเริ่มแรกแพทย์จะทำการตรวจช่องปากพร้อมกับถ่ายภาพ X-RAY เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพกระดูกและฟันของคนไข้ แล้ววางแผนการรักษาโดยทั่วไปแล้ว จะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลักคือ 1.การฝังรากเทียม 2. การใส่เดือยรองรับครอบฟัน 3. การใส่ครอบฟัน รวมระยะเวลาที่ใช้ในการทำรากฟันเทียม ประมาณ 2- 3 เดือนในบางรายอาจใช้เวลาถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างกระดูกและฟันของคนไข้ ส่วนการดูแลตนเองหลังการรักษา การดูแลแผลผ่าตัดจะดูแลคล้ายๆ กับการผ่าตัดถอนฟันทั่วไป
เมื่อคนไข้ได้รับการใส่ฟันบนรากเทียมแล้ว ทันตแพทย์จะนัดกลับมาตรวจเช็คครอบฟันและรากเทียมทุก 1 เดือน 2 เดือน และทุกๆ 6 เดือน ซึ่งทาง รพ. จะมีระบบการแจ้งเตือนโดยทางเจ้าหน้าที่จะโทรเตือนนัดคนไข้หลังทำครอบฟันบนรากเทียมไปแล้ว 1 ปีเพื่อมาตรวจเช็คซ้ำ ที่สำคัญการดูแลรักษาความสะอาดของคนไข้เป็นสำคัญนั้นคือ -การแปรงฟัน ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน-Superfloss /แปรงซอกฟัน ทำความสะอาดใต้ฟันปลอม เป็นต้น ถ้าคนไข้สามารถดูแลและมาตรวจเช็คซ้ำตามที่แพทย์นัด รากเทียมก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
“ในปัจจุบันมีลูกค้าที่สนใจมาทำรากฟันเทียมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมามีผู้มารับบริการทั้งคนไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งฝีมือทันตแพทย์ไทยได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น โดยทางรพ. ยันฮี มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางทุกสาขา และสามารถทำการผ่าตัดฝังรากเทียมภายใต้การดมยาสลบได้ ซี่งในแต่ละปี ศูนย์ทันตกรรมจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มีงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือทาง ทันตกรรมและมีการขยายห้องตรวจทันตกรรมอย่างน้อยปีละ 50 ล้านบาท และตั้งเป้าเติบโตของการรักษารากฟันเทียมปีละ 15 % ” นพ.อำนวย กล่าวทิ้งท้าย