เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศาสตราจารย์ สัมพันธ์ ฤทธิเดช พร้อมด้วยทีมงานกระทรวงอุดมศึกษา ได้เยี่ยมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อชี้แจงโครงการอาสาประชารัฐ ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
อธิการมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ให้การต้อนรับและพาชมความพร้อมและศักยภาพของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วคือความร่วมมือกับ ICDL มาตรฐานสากลด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและทดสอบทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL เรียบร้อยแล้ว ได้มีการจัดสอบนักศึกษาไปแล้ว 300 คน รวมทั้งกำลังสร้างวิทยากรต้นแบบมาตรฐานสากล เพื่อเตรียมขยายผลไปช่วยพัฒนาท้องถิ่น ช่วยยกระดับความรู้และทักษะให้กับประชาชนกาฬสินธุ์ต่อไป เป้าหมายพลิกโฉมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกาฬสินธุ์ด้วยดิจิทัล รวมทั้งยังมีศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ อีกด้วย
สร้างความเข้มแข็งของบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อขยายผลสู่ท้องถิ่น นำนโยบายสู่ปฏิบัติ นำความสำเร็จจากสากลมาช่วยสร้างความสำเร็จและความกินดีอยู่ดีให้แก่ท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มั่นใจเพราะมีพันธมิตรระดับสากลที่เข้มแข็งอย่างเช่น ICDL มาร่วมสร้างคนกาฬสินธุ์ให้มีทักษะแห่งยุคดิจิทัลที่เข้มแข็ง พร้อมก้าวสู่ดิจิทัลกาฬสินธุ์ยกระดับชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
# # #
เกี่ยวกับ ICDL
The International Computer Driving Licence (ICDL) หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล มีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเพิ่มขีดความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคคลในทุกระดับทั่วโลกให้ได้มาตรฐานและคุณภาพที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน ปัจจุบันหลักสูตร ICDL ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงด้านวุฒิบัตรวัดระดับความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และยังได้รับการลงนามรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลไทย และสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ระดับนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติ ยูเนสโก และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก อีกด้วย
เกี่ยวกับหลักสูตร ICDL
1. กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน (Workforce Digital Skills) ได้แก่ 1.1 กลุ่มหลักสูตรทักษะดิจิทัลพื้นฐาน (Basic Skills) ได้แก่ พื้นฐานคอมพิวเตอร์ (Computer Basics) พื้นฐานการออนไลน์ (Online Basics) 1.2 กลุ่มหลักสูตรทักษะเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน (Productivity Skills) ได้แก่ หลักสูตรเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลหรือโปรแกรมอำนวยความสะดวก (Application) ขั้นต้นสำหรับการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) แผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และการนำเสนอ (Presentation) 1.3 กลุ่มหลักสูตรเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสม การทำงานร่วมกันออนไลน์ (Online Collaboration) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมั่นคงปลอดภัย (IT Security) และ
2. กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง (Professional/Occupational Digital Skills) จัดกลุ่มทักษะตามลักษณะเฉพาะของงาน อาทิ 2.1 กลุ่มหลักสูตรสำหรับสายงานการตลาดและการสื่อสาร 2.2 กลุ่มหลักสูตรสำหรับสายงานการเงินและการบริหาร 2.3 กลุ่มหลักสูตรสายงานการออกแบบ 2.4 กลุ่มหลักสูตรสายงานด้านเทคนิค และ 2.5 กลุ่มหลักสูตรสำหรับครู อาจารย์ และนักการศึกษา