มอบรางวัล “สร้างนักนวัตกรรม”

0
442
image_pdfimage_printPrint

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มอบรางวัลแก่นักศึกษาในโครงการประกวด “Young Innovator 2017” รอบชิงชนะเลิศ ภายใต้แนวคิด “Smart Store Solution” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี และ คุณสาวิตร สุทธิพันธุ์ Deputy Director Enterprise Business บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมผู้บริหาร เป็น ผู้มอบรางวัล ซึ่งโครงการนี้เป็นจุดริเริ่มของการทำงานร่วมกันด้านวิชาการ ระหว่างพีไอเอ็มและหัวเว่ยเพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการริเริ่มโครงการเชิงปฏิบัติจากความรู้พื้นฐาน ต่อยอดจากองค์ความรู้ให้เกิดประสิทธิตามผลความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งเฟ้นหาแนวคิดการพัฒนา Smart Store Solution สำหรับร้านสะดวกซื้อให้มีระบบการจัดการมากขึ้น ไม่เพียงแค่เป็นเวทีสร้างนักนวัตกรรมรุ่นใหม่เท่านั้น นักศึกษายังได้เข้าถึงและเข้าใจ IOT (Internet of Things) ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ตามแนวรูปแบบการศึกษาของพีไอเอ็ม “Work-based Education” และเป็นก้าวใหม่ของการเรียนรู้ที่เปี่ยมประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และในอนาคต

ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก นับเป็นจุดเด่นที่เชื่อมั่นได้ว่าองค์กรให้ความสำคัญด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง และพีไอเอ็มในฐานะภาคการศึกษาที่มีองค์ความรู้ทั้งทางวิชาการสั่งสมอยู่จำนวนมาก รวมถึงจุดแข็งด้านจัดการศึกษาในรูปแบบ Work-based Education ที่หล่อหลอมหลักสูตรผ่านระบบการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ภายใต้การแข่งขัน Smart Store Solution สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับปริญญาตรีและโท และคณะวิชาอื่นๆ ที่สนใจ กว่า 50 คน จากการสนับสนุนทุนการศึกษา และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทดสอบโซลูชั่น รวมมูลค่ากว่า 7 แสนบาทแล้ว หัวเว่ยยังสนับสนุนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในสาขาอาชีพ ทั้งจากบริษัทหัวเว่ย และบริษัทโกซอฟท์ ในฐานะพันธมิตรด้านการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้กับนักศึกษา สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แก้ปัญหา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรม โดยทีมรางวัลชนะเลิศได้แก่ “อ้ายมาสองคน” กับชิ้นงาน เครื่องตัดจ่ายไส้กรอกอัตโนมัติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 3 ทีม ได้แก่ ทีม Reaction ชื่อชิ้นงาน Smart Cleaning Bin , ทีม Hot Head กับชิ้นงานม่านเบียร์อัตโนมัติ และทีม Big Boss กับชิ้นงานถึงเวลาเติม Vault , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม VR AME , ทีม Far Man, ทีม Common Sense, ทีม 4G และ ทีม Please us Pass.

ทั้งนี้หัวเว่ยได้จัดอุปกรณ์ IOT Gateway ให้นักศึกษาสามารถใช้ทดสอบโซลูชั่นภายในระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้นักศึกษาเป็นนักนวัตกรรม นักประดิษฐ์ ที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ Huawei Open Lab Bangkok ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการนำร่องในระยะแรกจะมุ่งเน้นเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างร้านสะดวกซื้อให้เป็น Smart Store ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลอดจนการบริการของทางหน้าร้านต่อไป