ผลการศึกษาแบบจำลองที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร BMC Public Health โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย UMIT ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์แห่งรัฐทิโรล ประเทศออสเตรีย ร่วมกับศูนย์ Oncotyrol มหาวิทยาลัย Medical University of Innsbruck และมหาวิทยาลัย University of Toronto ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างเหมาะสม
(รูปภาพ: http://mma.prnewswire.com/media/529873/UMIT_Dr_Uwe_Siebert.jpg )
(รูปภาพ: http://mma.prnewswire.com/media/529874/UMIT_Nikolai_Muhlberger.jpg )
“การตรวจคัดกรองโรคให้ทั้งคุณและโทษ เช่นเดียวกับขั้นตอนทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ศ.ดร. Uwe Siebert ประธานภาควิชา Public Health, Health Services Research and Health Technology Assessment ของ UMIT และว่าที่ประธานสมาคม Society for Medical Decision Making กล่าวอธิบาย “ความเสี่ยงที่สำคัญจากการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ได้แก่การวินิจฉัยและรักษาเกินจำเป็น สิ่งนี้หมายถึงการวินิจฉัยและรักษาเนื้องอกที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการรักษา โดยเนื้องอกเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆตลอดช่วงชีวิตของผู้ชาย และยังคงตรวจไม่พบหากไม่มีการตรวจคัดกรองโรค โดยขณะนี้ยังไม่มีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการจำแนกเนื้องอกที่มีความสัมพันธ์กับการรักษา ออกจากเนื้องอกที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการรักษา ด้วยเหตุนี้เอง เนื้องอกที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการรักษาจึงถูกรักษาไปด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวโดยไม่จำเป็น เช่น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะซึม และลำไส้ทำงานผิดปกติ เป็นต้น”
โมเดลจำลองที่พัฒนาขึ้นโดยคณะนักวิจัยในโครงการวิจัย ONCOTYROL ที่ศึกษาเรื่องการแพทย์ส่วนบุคคลนั้น จำลองให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของการตรวจคัดกรอง ในแง่ของช่วงเวลาและคุณภาพชีวิตของผู้ทำการตรวจคัดกรอง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ที่ความเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองนั้นอาจมีมากกว่าคุณประโยชน์ โดย รศ.ดร. Nikolai M?hlberger ผู้ประสานงานประจำโครงการวิจัย ได้กล่าวสรุปผลการวิจัยไว้ดังนี้ “ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การตรวจคัดกรองโรคช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และยืดอายุขัยของผู้ชายที่เข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตด้วยแล้ว พบว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจากกรรมพันธุ์เพิ่มขึ้นนั้น ได้รับประโยชน์จากการตรวจคัดกรองโรค ส่วนผู้ชายที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากโดยเฉลี่ยทั่วไปนั้น มีแนวโน้มได้รับผลเสียจากการตรวจคัดกรองโรคมากกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองคาดการณ์ว่า ข้อดีจากการตรวจคัดกรองโรคในผู้ชายที่เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจากกรรมพันธุ์นั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะเกิดผลข้างเคียงระยะยาวที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย”
ด้านผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบขับถ่ายปัสสาวะในทีมวิจัย ได้แก่ ศ.ดร. Wolfgang Horninger และ ศ.ดร. Helmut Klocker มองว่าการวิจัยนี้มีบทบาทสำคัญต่อวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากแบบเฉพาะรายบุคคล โดย ศ. Horninger ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาระบบปัสสาวะ แห่ง Medical University of Innsbruck กล่าวอธิบายว่า “โครงการวิจัยนี้ชูให้เห็นถึงปัญหาของการวินิจฉัยเกินจำเป็น พร้อมแสดงให้เห็นคุณประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคในแง่ของปัจจัยเสี่ยงและความพึงใจของผู้เข้ารับการตรวจแต่ละราย ด้วยเหตุนี้ การวิจัยดังกล่าวจึงช่วยยกระดับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ทั้งยังรองรับการดำเนินการตรวจคัดโรคในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ซึ่งเราทุกคนมองว่าเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่ง”
ติดต่อ: Prof. Dr. Uwe Siebert, อีเมล: public-health@umit.at , โทร: +4350-8648-673930
ที่มา: UMIT – The Health & Life Sciences University