1

มหาวิทยาลัยในไทยได้อันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก ปี 2020

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (QS World University Rankings) ฉบับที่ 16 ได้รับการเผยแพร่วันนี้โดยนักวิเคราะห์การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
ของโลกจาก QS (Quacquarelli Symonds) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของไทยที่ทำผลงานดีที่สุดในอันดับโลก ขณะที่มีมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมด
จำนวน 8 แห่งที่ติดอันดับในปีนี้ และมี 3 แห่งที่ได้ตำแหน่งสูงขึ้น

การจัดอันดับโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของโลก QS (Quacquarelli Symonds) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำจำนวน 1000
แห่งทั่วโลก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ถูกจัดอยู่ในอันดับหนึ่งของโลกเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ทั้งนี้ เว็บไซต์ www.TopUniversities.com
ของ QS มีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 70 ครั้งในปี 2018 โดยบรรดานักเรียน นักศึกษา กลุ่มการศึกษา และผู้เขียนหลักสูตรจากทั่วโลก จึงเป็นเว็บไซต์สำหรับ
การค้นข้อมูลเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีผู้นิยมที่สุดในโลก[1]

มหาวิทยาลัยในประเทศไทยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก(QS World University Rankings)ปี2020

247= 271 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

314= 380 มหาวิทยาลัยมหิดล

601-650 651-700 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

601-650 601-650 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

801-1000 801-1000 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

801-1000 801-1000 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

801-1000 801-1000 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

801-1000 801-1000 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

(C) QS Quacquarelli Symonds 2004-2019 www.TopUniversities.com

ข้อมูลสำคัญ – ประเทศไทย

– มหาวิทยาลัยของประเทศไทยจำนวน 3 แห่งมีอันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับของ QS ปี 2020 ขณะที่มหาวิทยาลัยอีก 5 แห่งยังคงอยู่ในอันดับกลุ่ม
เดิม
– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (247) ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ขยับสูงขึ้น 24 อันดับ กลายเป็นหนึ่งใน 250 มหาวิทยาลัยชั้นนำของ
โลก ซึ่งได้อันดับสูงขึ้นทั้งในกลุ่มวิชาการนานาชาติและบริษัทจ้างงานทั่วโลกที่สำรวจความเห็นโดย QS
– มหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่ได้อันดับเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลมีผลงานยอดเยี่ยม เมื่อดูจากตัวชี้
วัดทัศนคติของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต (Employer Reputation) ซึ่งอ้างจากความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายบุคลากรของบริษัททั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ถูก
ถามว่าพวกเขาต้องการเลือกบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยใด และจากตัวชี้วัดด้านสัดส่วนอาจารย์หรือบุคลากร/นักศึกษา (Faculty/Student) ที่วัดจากวิธีที่
มหาวิทยาลัยจัดสรรบุคลากรให้นักศึกษา
– ในด้านอันดับโดยเฉลี่ย มหาวิทยาลัยในประเทศไทยสามารถทำคะแนนได้ดีที่สุดในเรื่องของสัดส่วนคณะนานาชาติ (International Faculty Ratio)
– ในด้านทัศนคติของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต (Employer Reputation) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนสูงที่สุดในประเทศ
– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักในด้านชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation)
– ส่วนมหาวิทยาลัยที่มีสัดส่วนอาจารย์หรือบุคลากร/นักศึกษา (Faculty Student Ratio) สูงสุดคือ มหาวิทยาลัยมหิดล
– สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ (International Student Ratio) สูงสุดคือ มหาวิทยาลัยมหิดล
– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสัดส่วนคณะนานาชาติ (International Faculty Ratio) มากที่สุด
– คณะที่มีผลงานต่อเนื่องมากที่สุด โดยวัดจากการสัดส่วนงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้อ้างอิง (Citations Per Faculty) คือ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

ไฮไลท์สำคัญทั่วโลก

– สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้รับตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน
– มหาวิทยาลัยที่ได้อันดับสูงสุด 3 อันดับยังเป็นของอเมริกา ได้แก่ MIT ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (อันดับ 2) และมหาวิทยาลัยฮาร์วา
ร์ด (อันดับ 3)
– มหาวิทยาลัยที่ได้อันดับสูงสุดของสหราชอาณาจักร (UK) และของยุโรป คือ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งขยับตำแหน่งขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ส่วน
คู่แข่งอย่าง มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ถูกลดอันดับลงไปอยู่ที่ 7
– เนื่องจากปัญหาด้านทัศนคติของนายจ้าง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนชั้นกลางและล่าง ทำให้มหาวิทยาลัยทั้ง 84 แห่งของสหราชอาณาจักรทำคะแนน
ได้แย่ที่สุดเป็นอันดับสาม
– มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของยุโรปภาคพื้นทวีป คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (ETH Zurich) ที่ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 6
ซึ่งเป็นอันดับที่สูงสุดที่เคยทำได้
– มหาวิทยาลัยชั้นนำ 2 แห่งของเอเชียเป็นของประเทศสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
หนานหยาง ทั้งสองแห่งอยู่ในอันดับ 11
– มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของลาตินอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 74 และเป็นผู้นำในฝั่งภาคพื้นทวีปติดต่อกัน
เป็นปีที่ 5