“มจธ.” จับมือ “โคคา-โคลา” เดินหน้าสร้างสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบข้าง ส่งเสริมการใช้ชีวิตแอคทีฟอย่างยั่งยืน

0
237
image_pdfimage_printPrint
  • จัดกิจกรรมปั่นจักรยานร่วมกับชุมชนไปกว่า 95 ครั้ง มีนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วม
    ปั่นจักรยานกว่า 8,496 คน ใน
    ระยะทางใช้จักรยานรวมทั้งสิ้น 780,316 กิโลเมตร
  • พร้อมต่อยอดการส่งเสริมการใช้ชีวิตแอคทีฟด้วยการปั่นจักรยานควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมในกิจกรรม Recycle to Cycle
  • ตั้งเป้าจัดกิจกรรมปั่นจักรยานให้ครบ 100 ครั้ง พร้อมผลักดันนักศึกษาและชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก 10% ภายในปี 2557
  • ประกาศผลประกวดนวัตกรรมบันทึกการใช้จักรยาน  

กรุงเทพฯ – 28 เมษายน 2557 – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา
ในประเทศไทย สนับสนุนเยาวชนไทยให้ใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงและมีสุขภาพแข็งแรงด้วยการปั่นจักยานใน  โครงการสร้างสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืพร้อมร่วมแถลงความคืบหน้าหลังจากเปิดโครงการฯ      ไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2556 โดยผลการดำเนินงานภาพรวมตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา เดือนสิงหาคม 2556 – เมษายน 2557 ประสบความสำเร็จเกินกว่าแผนที่วางไว้ พร้อมต่อยอดกิจกรรมใหม่ Recycle to Cycle ขวดและกระป๋องเปล่าแลกชั่วโมงการใช้จักรยาน ปลูกจิตสำนึกการใช้ชีวิตแอคทีฟด้วยการใช้จักรยานไปพร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

CocaCola_KMUTT1

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า “หลังจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ได้ร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาในประเทศไทย เปิดตัว โครงการสร้างสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน ภายใน มจธ. เมื่อเดือนสิงหาคมในปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินกิจกรรมในการสร้างสังคมจักรยานเพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยและขยายต่อไปยังชุมชนสังคมรอบข้าง โดยผู้บริหาร นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย รวมทั้งชุมชนโดยรอบต่างมีส่วนร่วมกับโครงการสังคมจักรยาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 5 กิจกรรมหลัก โดยทั้ง 5 กิจกรรมประสบผลสำเร็จเกินคาดกว่าที่ตั้งเป้าไว้”

 

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจักรยานปรับปรุงอาคารเสร็จสมบูรณ์เพื่อจัดทำเป็นศูนย์กิจกรรมสังคมจักรยานและกิจกรรมด้านอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อม Green SocietyBuilding” ประกอบด้วย Bike Service & Information Center, Bike Sharing Center หรือจักรยานสำหรับให้นักศึกษายืมใช้เพื่อเป็นพาหนะขับขี่ในมหาวิทยาลัย 170 คัน, Bike for Social Service จักรยานเพื่อใช้ในกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น ออกค่ายอาสาจำนวน 45 คัน , Parking Service Center และ Bike Maintenance & Service Zone ศูนย์ซ่อมบำรุงและซ่อมแซม 2 แห่ง

 

การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและจัดทำฐานข้อมูลการใช้จักรยาน พัฒนาฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลการยืมจักรยานเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับสังคมจักรยานที่เติบโตขึ้น รวมทั้งการสอนวิธีการปั่นจักรยานที่ถูกต้อง

 

กิจกรรมด้านนวัตกรรมในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ได้จัดโครงการประกวดออกแบบระบบบันทึกข้อมูลการใช้จักรยานตัวต้นแบบ (Bike Tracking) มีนักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดถึง 13 ทีม และผ่านเข้ารอบ
7 ผลงาน โดยจะประกาศผู้ชนะในวันนี้ นอกจากนี้ศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ยังได้พัฒนาที่จอดจักรยาน ภายใต้แนวคิด Bike Park and Seat ที่จอดจักรยานแบบนั่งพักได้ เพื่อความสวยงามของภูมิทัศน์และเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างสูงสุด

 

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสังคมจักรยานเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน มีการจัดกิจกรรมจักรยานภายในมหาวิทยาลัยร่วมกับชุมชนกว่า 95 ครั้ง อาทิ กิจกรรม Bike Friday ปั่นวันศุกร์ การรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาที่ใช้จักรยานโดยจัดทริปปั่นจักรยานไปกับชุมชนโดยรอบในหลากหลายเส้นทาง กิจกรรมปั่นไปชิมไปแชะไปกับ KMUTTGreen Bike Club เป็นต้น โดยมีนักศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชนใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 8,496 คน ด้วยระยะทางใช้จักรยานรวมทั้งสิ้น 780,316 กิโลเมตร ส่งผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพโดยลดปริมาณแคลอรีได้มากถึง25,750,428 กิโลแคลอรี่ ลดการเกิดก๊าซโลกร้อนได้ถึง190,397 กิโลกรัมคาร์บอน และลดการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงได้ถึง65,026.3 ลิตร

 

กิจกรรมการบูรณาการจักรยานส่งเสริมการใช้จักรยานในวิชาเรียน เพื่อปลูกฝังการใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงและแข็งแรง อาทิ กิจกรรมปั่นจักรยานเยี่ยมชมความสวยงามของชุมชน และรายงานผลที่ได้ในรูปแบบอี-แม็กกาซีนและวิดีโอคลิป

 

“เรามั่นใจว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง และจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย รวมทั้งศิษย์เก่า ผู้ปกครอง และชุมชนโดยรอบในระยะยาว เพื่อการกระตุ้นให้เกิดการใช้ชีวิตแอคทีฟอย่างยั่งยืน” รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวสรุป

 

นายนันทิวัต ธรรมหทัย ผู้จัดการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย สนับสนุนให้คนไทยใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงรวมถึงสนับสนุนการบริโภคอย่างสมดุล ร่วมกับการมีกิจกรรมทางกายอย่างพอเพียง เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการสร้างสังคมจักรยานฯ ของมจธ. สามารถ          ปลูกจิตสำนึกการใช้จักรยานเพื่อการใช้ชีวิตแอคทีฟได้ทั้งในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง รวมทั้งมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในโครงการ อาทิ จุดจอดรถจักรยานพลังแสงอาทิตย์ และการเก็บข้อมูลการใช้จักรยาน เป็นต้น”

 

 

“นอกจากนี้ มจธ.และโคคา-โคลายังได้ต่อยอดโครงการจักรยานด้วยกิจกรรม“Recycle to Cycle” ขวดและกระป๋องเปล่าแลกชั่วโมงจักรยาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาหันมาใช้จักรยานเพื่อสุขภาพที่ดีไปพร้อมๆ กับการปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการนำขวดและกระป๋องเครื่องดื่มเปล่าที่ไม่ใช้แล้วมารีไซเคิลแลกรับคะแนนสะสม      เพื่อแลกชั่วโมงจักรยานและอุปกรณ์การปั่นฟรี นักศึกษาสามารถเช็คยอดคะแนนสะสมวัสดุรีไซเคิลของสมาชิกแบบออนไลน์ รวมถึงอัพเดตข่าวสารความคืบหน้าของโครงการทางหน้าเฟซบุค”

 

“โครงการนี้เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ของการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อสร้างความยั่งยืน       เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสามารถเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยหรือชุมชนอื่นๆ และขยายความยั่งยืนออกไปใน    วงกว้างได้ในอนาคต” นายนันทิวัต กล่าว

 

 

มจธ.และโคคา-โคลา ตั้งเป้าดำเนินโครงการสร้างสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีแผนต่อยอดกิจกรรมการปั่นจักรยานในหมู่นักศึกษาและชุมชนรอบข้างให้ได้ถึง 100 ครั้งต่อปี และคาดว่าจะมีนักศึกษาและชุมชนรอบข้างเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการเพิ่มขึ้นอีก 10% ภายในปีนี้