ภาพข่าวประชาสัมพันธ์

0
476
image_pdfimage_printPrint

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นสถานการศึกษาที่ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2436 และตามพระราชดำริแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร ต่อมาในปีพุทธศักราช 2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงโปรดให้จัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เรียกว่า “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย” และเมื่อพุทธศักราช 2527 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติรับรองหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 4 คณะ คือ คณะศาสนาและปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2531 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา และสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยต่อรัฐสภาและได้รับอนุมัติให้ตราพระราชบัญญัติยกขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ มีฐานนะเป็นนิติบุคคลอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2540 และในปีการศึกษา 2548 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยจัดการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ปัจจุบันมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาไปในจังหวัดต่างๆ รวม 7 วิทยาเขต 3 วิทยาลัย และได้สนองงานของสงฆ์ในการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ
ในการประทานปริญญาบัตรครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติปริญญาบัณฑิต จำนวน 1,599 รูป/คน ปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 528 รูป/คน และปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 10 รูป/คน รวม 2,137 รูป/คนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รับความกรุณาอย่างสูงที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีเมตตามาเป็นประธานในพิธีประทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2559 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ และประทานพระโอวาทเพื่อเป็นสิริมงคลว่า
“ ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอันมีเกียรติภูมิ มีประวัติความเป็นมาคู่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์ชาติไทย ย่อมมีหน้าที่ที่จะรักษาเกียรติภูมินั้นให้ดำรงอยู่กับตนเสมอ บัณฑิตที่จะก้าวออกไปปฎิบัติภารธุระ ตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบนั้น ต้องมี “ขันติธรรม” ประจำใจ ต้องรู้จักอดทนและอดกลั้นไม่ยอมตัว ยอมใจให้วู่วามไปตามเหตุการณ์ ตามอคติและอารมณ์ที่ตนชอบใจ หรือไม่ชอบใจนั้น