โดยคารีน เดอ ปงเดฟร์ นักวิเคราะห์แอนตี้ไวรัส ทีมฟอร์ตการ์ด แห่งฟอร์ติเน็ต
ในช่วงครึ่งปีหลังของปีค.ศ. 2012 นี้ มีกิจกรรมะดับโลกมากมาย อาทิ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ และการแข่งขันฟุตบอล UEFA European Football Championship ตลอดจนการแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตพุ่งขึ้นสูงมากแน่นอน และมักจะมีภัยคุกคามแพร่กระจายมากขึ้นตามตัว โดยภัยประเภทแปลกปลอมกลลวง (Scams) อยู่ในอันดับต้นๆ
ในปัจจุบันมี Scams แพร่กระจายนับพันๆ ชนิด มีเป้าหมายล้วงข้อมูลด้านบัตรเครดิต โดยภัยประเภทแปลกปลอมกลลวงที่มาเป็นอันดับแรกคือ พวกกลล็อตเตอรี่ปลอม (Fake Lotteries) ที่มักจะมาในรูปแบบอีเมลที่แจ้งว่าท่าน (อาจจะ) ได้สิทธิ์รับรางวัลใหญ่ราคาสูง แต่ท่านต้องจ่ายค่าภาษี และแน่นอนไม่ว่าท่านจะจ่ายหรือไม่จ่ายภาษี ท่านจะไม่ได้รางวัลนั้นอย่างแน่นอน
ภัยแพร่กระจายหนักที่รองลงมาคือพวกหลอกให้ซื้อ (Purchase fraud) ที่เชิญชวนว่าท่านมีสิทธิ์ซื้อตั๋วของงานใหญ่ๆ ได้ในราคาพิเศษ เมื่อท่านเข้าเว็ปพวก eBay และ Craigslist ท่านอาจพบหน้าโฆษณาที่อยู่ข้าง ซึ่งดูราคาจูงใจมากเพราะช่วงนี้มีกิจกรรมกีฬามาก ท่านอาจตกเป็นเหยื่อได้ ขอให้ระวัง
ภัยประเภทที่ 3 ได้แก่ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอม (Rogue AV) ในช่วงที่มีกิจกรรมมากมายนี้ จะมีการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อติดตามข่าวสาร อาทิ คะแนน ผลการเลือกตั้ง และข่าวด่วนอื่นๆ อาจเกิดเว็ปไซท์ปลอม (ที่อาจเกิดจากเว็ปที่ถูกต้องโดนแฮค) โดนอาจมีหน้าต่างป๊อบอัปขึ้นมาบนหน้าจอแจ้งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านติดไวรัส (ทั้งๆ ที่มีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอยู่แล้ว) ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนทั่วไปมักจะคลิ๊กที่ป๊อบอัปนั้น ดูเหมือนเป็นการลงโปรแกรมแอนตี้ไวรัส (ปลอม) แต่จริงๆ แล้วจะเป็นการแพร่โทรจันลงไปในเครื่องแล้วจะเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น รหัสผ่านและเลขบัญชีธนาคาร
ดังที่กล่าวข้างต้น ในช่วงกีฬาโอลิมปิคเกมส์ การแข่งขันฟุตบอล UEFA European Football Championship และการแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา อาจมีภัยเพิ่มขึ้นเท่าตัว อย่างไรก็ดี มีภัยลวงประเภทอื่นที่พบเห็นในปัจจุบัน ได้แก่
ภาพวิดีโอปลอม (Video Hoaxes and Social Networks)
ในกรณีนี้ ท่านอาจจะได้รับข้อความจากเพื่อนในเฟสบุ๊คชวนให้ไปดูวิดีโอหายากหรือลับเฉพาะของดารา โดยท่านต้องคัดลอกและวางลิ้งค์ที่ให้มาที่เบร้าเซอร์ จึงเป็นการติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องโดยไม่รู้ตัว ทางป้องกัน
คือท่านไม่ควรคลิ๊กเปิดดูหรือตอบอีเมลนั้น และท่านอาจจะไปดูข้อมูลจริงๆ ที่เว็ปไซท์ที่เป็นทางการของเรื่องนั้นแทน
การปลอมแปลอีเมลหรือเว็ป และการขโมยข้อมูล (Phishing & Identity Theft)
การปลอมแปลอีเมลและเว็ปไซท์รูปแบบหนึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ที่จะต้อง การข้อมูลข่าวสารต่างๆ ท่านอาจได้รับอีเมล์ปลอมจากธนาคาร แจ้งว่าบัญชีของท่านโดยบล็อค ท่านไม่ควรตอบอีเมลนั้น และจำไว้ว่าธนาคารไม่เคยถามเลขบัญชีของท่านทางอีเมล
ภัยขอค่าธรรมเนียมก่อน (Advance Fee “Nigerian” Fraud)
ภัยนี้เกิดมานานแล้ว กลลวงนั้นง่ายมาก โดยจะแจ้งว่าท่านได้รับรางวัลเงินสดก้อนโตแต่ท่านต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน และเมื่อท่านให้ข้อมูลไป แน่นอนว่าท่านจะตกเป็นเหยื่อและได้รับความเสียหายมากมายภายหลัง
ภัยรักลวงโลก (Sweetheart Swindles)
อาชญกรมักจะปลอมแปลงเป็นนักธุรกิจที่มีฐานะ ทำงานอยู่ต่างประเทศ หรือปลอมเป็นสตรีที่มีเสน่ห์ จะทำตัวใกล้ชิดสนิทสนมกับเหยื่อให้ตายใจ และเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จะออกลายขอเงินทองและทรัพย์สิน
ทีมวิจัยฟอร์ติการ์ดแห่งฟอร์ติเน็ตขอเสนอเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ป้องกันมิให้ท่านตกเป็นเหยื่อได้
• เมื่อมีการขอข้อมูลด้านการเงินของท่าน ขอให้ท่านไตร่ตรองให้รอบคอบหลายๆ ครั้งก่อนจะทำตาม
• ระวังลิ้งค์ที่เชื่อมโยงไปสู่แอปพลิเคชั่นหรือเว็ปไซท์ภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝังมากับอีเมลหรือข้อความที่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับดาราและกิจกรรมใหญ่ต่างๆ
• ยูอาร์แอลที่ถูกย่อให้สั้งลงอาจเป็นการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเมื่อท่านคลิ๊กไปแล้ว ท่านอาจโดนเชื่อมไปยังเว็ปไซท์แปลกปลอมได้
• เมื่อท่านต้องกู้รหรัสผ่านของบริการด้านเว็ปใดๆ ที่มีขั้นตอนต้องกรอกข้อมูล อาทิ โรงเรียนเดิม ชื่อของมารดา และอื่นๆ ขอให้ระวังในการเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอาจโดนแอบรวบรวมและสรุปหาบัญชีของท่านหรือนำไปแอบอ้างในธุรกรรมปลอม เช่น การกู้เงินโดยใช้ข้อมูลของท่าน
• อย่าส่งเงินให้ใคร อย่านัดพบเป็นการส่วนตัว
• ตรวจสอบรายงานบัญชีการเงินของท่านทุกสัปดาห์ ทุกเดือน เมื่อพบปัญหาเร็วจะสามารถแก้ไขปัญหาได้เร็ว
• จงเชื่อว่า “ในโลกนี้ ไม่มีใครดี ใครหล่อ (สวย) เกินจริงเสียขนาดนั้น”
• และ คิดว่า “ท่านไม่เคยซื้อล็อตเตอรรี่ แล้วจะถูกรางวัลได้อย่างไร”