ฟูจิ ซีร็อกซ์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำ “โซลูชั่นงานเอกสารยุคดิจิทัล” ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ Digital Intelligence

0
943
image_pdfimage_printPrint

เปิดตัวมัลติฟังก์ชั่นใหม่ 14 รุ่น ภายใต้แนวคิด Smart Work Innovation เสริมศักยภาพธุรกิจยุคใหม่ด้วยนวัตกรรมที่เป็นมากกว่างานพิมพ์

ในภาพ (จากซ้ายไปขวา): นายฮิเดยูกิ โมริทาดะ Director, Business Planning & Marketing, นายพิชัย ธัญญวัชรกุล Director, Area Sales and GCS, นายฮิโรอากิ อาเบะ ประธานบริษัทฯ, นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ และนางสาวโลจนันท์ ชลลัมพี หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจด้านการพิมพ์และโซลูชั่นบริหารจัดการงานเอกสารอย่างครบวงจร เพื่อช่วยลูกค้าเปลี่ยนผ่านการทำงานในยุคดิจิทัล ชูกลยุทธ์ใหม่ Digital Intelligence ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart Work Innovation ที่ได้รับการตอบรับ และเป็นที่สนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา จึงทำให้ต้องการขยายฐานลูกค้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นกับลูกค้าและคู่ค้าต่อไปในปี 2562 โดยเน้นย้ำในเรื่องการเป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องการผสมผสานแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโลกการทำงาน และการสื่อสารระหว่างกันอย่างไร้รอยต่อด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์และเอไอ ตอบโจทย์ความเป็นดิจิทัลในองค์กรให้เกิดขึ้น ด้วยหลักการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมแบบ SMART Platform ที่ทำให้เครื่องพิมพ์เป็นมากกว่าแค่การนำไปใช้พิมพ์งาน สแกน สำเนา และส่งแฟกซ์ แต่ต้องเป็นศูนย์รวมของการทำงานและสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ฯ ยังได้เปิดตัวเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นขนาด A3 รุ่นใหม่ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ApeosPort-VII C / DocuCentre-VII C Series รวม 14 รุ่น หวังเจาะกลุ่มองค์กรธุรกิจครอบคลุมทุกกลุ่มในตลาด การเงิน กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มการศึกษา กลุ่มสุขภาพ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีในไทย โดยตั้งเป้าเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในกลุ่มเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นภายในปี 2562

นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในปี 2561 ที่ผ่านมา เรามุ่งมั่นช่วยเหลือและดูแลลูกค้าของเราในการเปลี่ยนผ่านการทำงานในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อออกแบบโซลูชั่นให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า เราทำงานภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับความสามารถในการสร้างสรรค์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพให้ลูกค้าของเรา ดังนั้นแผนการดำเนินงานของฟูจิ ซีร็อกซ์ในปี 2562 นี้ เราจะยังคงสานต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลให้กับองค์กรต่างๆ พร้อมยกระดับการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีและกลยุทธ์ใหม่ ซึ่งเกิดจากการผสมผสาน Machine Intelligence และ Human Intelligence ให้เกิดเป็น Digital Intelligence มาสนับสนุนการทำงานของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และสานต่อแนวคิด Smart Work Innovation ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ เดินหน้าไปสู่ยุค Asean industrial 4.0 อีกด้วย นั่นคือ สิ่งที่ฟูจิ ซีร็อกซ์กำลังมุ่งไปในไตรมาสสุดท้ายจนถึงปี 2562 นี้”

“ทิศทางธุรกิจในปีนี้เราจะตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Solution Provider โดยเน้นทำการตลาดในส่วน Solution & Service Business มากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สามารถทำงานร่วมกับใช้โซลูชั่นการพิมพ์ การจัดการต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการ โดยนำเรื่องของเทคโนโลยี AI, Cloud, และ RPA (Robotic Processing Automation) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจฮาร์ดแวร์ที่เป็นรายได้หลักควบคู่ไปด้วย และเรายังมุ่งเน้น Solution Selling ด้วยการพัฒนาศักยภาพของทีมขายให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าในรูปแบบ Consultant เพื่อให้สามารถนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงประเด็นมากขึ้น ภายใต้กลยุทธ์หลักใหม่ Digital Intelligence ที่เน้นการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรธุรกิจให้สามารถแข่งขัน และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนรูปแบบการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลให้มีความยืดหยุ่น ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลายที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคล แผนก และหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร เพื่อพัฒนาไปสู่การมี Smart Platform ในแต่ละองค์กรให้มากขึ้น สร้างพื้นที่ทำงานใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ที่เกิดจากการผสานของผู้คน, กระบวนการ และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในทำงานแบบมีส่วนร่วม และอัตโนมัติยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละองค์กร”

“เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาดิสรัปชั่นในธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในรูปแบบเดิมๆ มีอัตราลดลงก็จริง แต่ความต้องการงานพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ในรูปแบบ Digital Document กลับเพิ่มสูงขึ้นตามการเติบโตขององค์กร แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการเติบโตและความต้องการงานพิมพ์เพื่อนำไปใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่และเอสเอ็มอียังมีอยู่จำนวนมาก รวมถึงแนวโน้มความต้องการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-document ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายกิติกร กล่าวสรุป

นางสาวโลจนันท์ ชลลัมพี หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปี 2561 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความท้าทายของทุกธุรกิจและจะมีความเข้มข้นมากขึ้นในปีนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมพร้อมมาตั้งแต่ปี 2559 โดยริเริ่มแนวคิด Smart Work Innovation และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เครื่องพิมพ์กลายเป็น SMART Platform ประกอบกับเทรนด์ความต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์วันนี้ในองค์กรต่างมองหาโซลูชั่นงานพิมพ์ที่ให้มากกว่าแค่เรื่องฟังก์ชั่นแบบ output แต่ต้องสามารถสื่อสารและจัดการเอกสารผ่านเทคโนโลยี (AI/Cloud) ดังนั้นการออกแบบนวัตกรรมของเราจะเน้นไปใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ ประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายขึ้น (User Experience), ความปลอดภัยแบบ 360 องศา (Security), สามารถนำดาต้าระหว่างการใช้งานเครื่องพิมพ์มาช่วยเรื่องการคาดการณ์การบำรุงรักษาเครื่อง (Analytics) และที่สำคัญที่สุดคือ การปรับแต่งโซลูชั่นใหม่ๆ สามารถทำได้เสมอ (New Solutions) เพราะโซลูชั่นที่ดีวันนี้อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของธุรกิจวันพรุ่งนี้ก็เป็นได้ ดังนั้น ฟูจิ ซีร็อกซ์จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และเป็นสิ่งที่เราเน้นในปีนี้ คือ การสร้าง SMART Platform ที่ทำให้เครื่องพิมพ์ต้องเป็นได้มากกว่าแค่การสั่งพิมพ์งานและเดินไปรับเอกสาร แต่ต้องเป็น Gateway ที่เชื่อมโยงให้ทุกอย่างเป็นไปได้ โดยผู้ใช้หรือองค์กรจะสามารถออกแบบและปรับแต่งโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละองค์กร เพราะความสำเร็จในการเป็นผู้นำด้านไอทีและเทคโนโลยีวันนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างอะไรขึ้นมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรานำเทคโนโลยีอะไรมาปรับใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบริการและงานของเรา”

“ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดที่เปิดตัวในวันนี้ รองรับการใช้งานบนระบบคลาวด์เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น “Working Folder” ฟีเจอร์ใหม่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนเอกสารกับบุคคลภายนอกได้สะดวกขึ้น ทุกรุ่นมีฟีเจอร์การทำงานร่วมกับ Cloud Connector ของฟูจิ ซีร็อกซ์อย่าง “Cloud Service Hub” ที่เชื่อมต่อกับ Public Cloud ได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถรองรับการสแกนเอกสารอย่างอัตโนมัติ เพื่อถอดข้อความออกจากเอกสารอัตโนมัติ (Optical Character Recognition: OCR) ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถค้นหาไฟล์บนคลาวด์สตอเรจต่างๆ อีกทั้งยังยกระดับความปลอดภัยให้กับเอกสารสำคัญ เมื่อสแกนและแชร์ผ่านคลาวด์สามารถเลือกให้เข้ารหัสเอกสารดิจิทัล ปกป้องการส่งต่อเอกสารนั้นให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง พร้อมแจ้งเตือนทางอีเมล์อัตโนมัติถึงผู้ส่งได้อีกด้วย ในรุ่น ApeosPort VII / DocuCentre VII C6673 สามารถสแกนงานได้ถึง 270 หน้าต่อนาที ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นเดียวกันในตลาด สามารถรองรับการเติบโตของเอกสารดิจิทัล สแกน และเก็บข้อมูล ได้เป็นระเบียบมากขึ้น รวมถึงยังมีข้อมูลช่วยเหลือ และวิธีใช้บนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลล่าสุดในการใช้งานที่แสดงบนแผงควบคุมของเครื่องมัลติฟังก์ชั่น หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของเรายังให้ความสำคัญในสิ่งแวดล้อมตามนโยบายรักษ์โลก ด้วยการใช้หมึก Super EA Eco ซึ่งเป็นหมึกที่สามารถหลอมละลายที่อุณหภูมิต่ำกว่าหมึกทั่วไป ที่สามารถรีไซเคิลได้ถึง 99.8% ไม่ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และยังช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอีกด้วย”

เกี่ยวกับฟูจิ ซีร็อกซ์:
บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยเป็นบริษัทชั้นนำด้านบริการเอกสารและการสื่อสาร นำเสนอโซลูชั่นและบริการที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ลูกค้าแก้ไขปัญหาท้าทายทางด้านธุรกิจ โซลูชั่นและบริการของเราประกอบสร้างขึ้นจากอุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่น เครื่องพิมพ์ และเครื่องพิมพ์สำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ระดับโลก ซึ่งเราได้พัฒนาและผลิตเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์นำเสนอบริการคลาวด์และโซลูชั่นโมบายล์ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมการสื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าของเราเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาและรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เป็นธุรกิจร่วมทุน 75-25 ระหว่างบริษัท ฟูจิฟิล์ม โฮลดิ้ง และบริษัท ซีร็อกซ์ และมีทีมขายตรงครอบคลุมการดำเนินงานในญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงจีน บริษัทฯ มีรายได้ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ มีพนักงานราว 45,000 คนทั่วโลก และมีบริษัทในเครือ รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายกว่า 80 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ http://www.fujixerox.com/