พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติโตเกียวกำลังมีสองเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น เหตุการณ์แรกคือ ทางพิพิธภัณฑ์ครอบครองคอลเลคชั่นผลงานศิลปะตะวันตกที่ดีที่สุดในเอเชีย เปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้ย้อนรอยประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกตั้งแต่ปลายยุคกลางมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 และอีกหนึ่งเหตุการณ์คือ อาคารหลักของทางพิพิธภัณฑ์ ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังของโลกอย่างเลอกอร์บูซีเย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
(รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/release/201903254637?p=images)
ทางพิพิธภัณฑ์กำลังจัดนิทรรศการหลายหัวข้อโดยอิงหลักปรัชญาพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์ในปี 2019 นี้ ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้ง โดยหลังจบนิทรรศการ “Le Corbusier and the Age of Purism” ที่กำลังเปิดให้เข้าชมในขณะนี้ ทางพิพิธภัณฑ์จะจัดนิทรรศการหัวข้อ “THE MATSUKATA COLLECTION: A One-Hundred-Year Odyssey” ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เพื่อจัดแสดงคอลเลคชั่นผลงานของโคลด โมเนต์, ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์, โอกุสต์ โรแด็ง และผลงานชิ้นเอกอีกมากมายซึ่งเป็นของสะสมของโคจิโร่ มัตสึกาตะ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น โดยในนิทรรศการนี้จะมีการจัดแสดงผลงานภาพวาดชุดสระบัว “Water-Lilies, Reflections of Weeping Willows” ของโมเนต์ ซึ่งหายสาบสูญไปนานและเพิ่งค้นพบที่ฝรั่งเศสในปี 2016 ก่อนที่จะมีการบริจาคให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในภายหลัง โดยถือเป็นการจัดแสดงครั้งแรกในโลกนับตั้งแต่รวบรวมผลงานกลับมาได้
มัตสึกาตะสะสมผลงานศิลปะจำนวนมหาศาลในลอนดอนและปารีสตลอดระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ปี 1916 และหนึ่งในนั้นคือผลงานชุด “สระบัว” โดยเขาตั้งใจว่าจะสร้างพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงผลงานศิลปะตะวันตกในประเทศญี่ปุ่น ทว่าผลงานจำนวนมากสูญหายไปเพราะถูกขายหรือถูกเพลิงไหม้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งผลงาน 375 ชิ้นในปารีสคืนกลับมายังญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และพิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติก็ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงผลงานเหล่านี้
ตารางนิทรรศการพิเศษ
– เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ
Le Corbusier and the Age of Purism
ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม
– เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ
THE MATSUKATA COLLECTION: A One-Hundred-Year Odyssey
วันที่ 11 มิถุนายน ถึง 23 กันยายน
มีบริการเสียงบรรยายภาษาอังกฤษ จีน และเกาหลี (เสียค่าบริการ) รวมถึงมีแท็บเล็ตและแอปทั้งสามภาษาให้บริการฟรีในบางนิทรรศการ
เว็บไซต์ทางการของพิพิธภัณฑ์: http://www.nmwa.go.jp/en/
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติโตเกียว
AsiaNet 78049