พรีม่าสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมด้วยการนำหลักจรรยาบรรณของสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติและเอเปคมาปรับใช้

0
292
image_pdfimage_printPrint

26 พฤศจิกายน 2555 สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์(พรีม่า) (Pharmaceutical Research and Manufacturers Association: PReMA)เผยโฉม เกณฑ์จริยธรรมฉบับที่ 9พ.ศ.2555ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับเกณฑ์จริยธรรมฉบับแก้ไข ประจำปี 2555 ของสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ(International Federation of Pharmaceutical Manufacturers & Associations Code: IFPMA Code) ขยายขอบเขตนอกเหนือจากหลักจริยธรรมด้านการตลาดของสมาชิก ให้ครอบคลุมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันการแพทย์และองค์กรผู้ป่วย โดยเกณฑ์จริยธรรมฉบับแก้ไขนี้ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555แล้ว ในฐานะสมาชิกของIFPMAพรีม่า มุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะผลักดันให้เกณฑ์จริยธรรมนี้ สอดคล้องตอบรับกับเกณฑ์จริยธรรมสากลของสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติดังกล่าว

 

 

พรีม่ายังให้การสนับสนุนหลักการแห่งกรุงเม็กซิโก ว่าด้วยจรรยาบรรณทางธุรกิจสาขาเภสัชชีวภาพของเอเปคอีกด้วย หลักการนี้สอดคล้องกับเกณฑ์จริยธรรมฉบับแก้ไขของIFPMA และได้รับมติเห็นชอบจากงานประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวายในปี พ.ศ.2554 โดยโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่และวงการแพทย์นี้ยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจยา องค์กรแพทย์และหน่วยงานรัฐบาลของทุกเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคมีการพัฒนาและนำหลักจรรยาบรรณมาปฏิบัติ

 

นอกจากนั้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเกณฑ์จริยธรรมตามหลักปฏิบัติสากลขึ้น ณ กรุงไทเป  ประเทศไต้หวัน เพื่อช่วยเหลือสมาคมที่ยังไม่มีเกณฑ์จริยธรรม หรือมีแต่ไม่ตรงตามมาตรฐานที่ทางเอเปคกำหนด ทำการร่างและนำเกณฑ์จริยธรรมอันถูกต้องสมควรไปปฏิบัติใช้ ขณะที่ในปี พ.ศ.2556 ประเทศอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดงานฝึกอบรมความรู้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในภาครัฐและสมาคมแพทย์ ตามด้วยประเทศมาเลเซียที่จะรับบทเจ้าภาพจัดงานฝึกอบรมวิทยากรในปีถัดไป พรีม่าได้สนับสนุนความพยายามดังกล่าวและมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อผลักดันให้ทุกฝ่ายนำเกณฑ์จริยธรรมมาปฏิบัติใช้ต่อไปในอนาคต

ในฐานะตัวแทนจากอุตสาหกรรมวิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ในประเทศไทย พรีม่ามุ่งมั่นที่จะยกระดับสุขภาพของประชาชน ผ่านกระบวนการวิจัย พัฒนา ผลิต ทำการตลาดและติดตามความปลอดภัยของยาใหม่ให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล นอกจากนั้นอุตสาหกรรมฯ ยังตระหนักถึงบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเภสัชภัณฑ์อันถูกต้องแก่ผู้บุคลากรทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมให้ใช้ยาอย่างเหมาะสม

 

ภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกับเกณฑ์จริยธรรมของIFPMA และหลักการฯ ของเอเปค พรีม่าต้องการให้กิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมขั้นสูงการให้ข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเป็นไปเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพผู้ป่วยได้ดีที่สุด ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบัน เที่ยงตรง ครบทุกด้าน และไม่สร้างความเข้าใจผิด สรรพคุณและข้อบ่งใช้ต้องสนับสนุนด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ต้องเป็นความจริง แม่นยำตามหลักวิทยาศาสตร์ ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ และระบุผลข้างเคียง ข้อควรระวัง ข้อห้าม และ คำเตือน ฯลฯ

 

เกณฑ์จริยธรรมขั้นสูงนี้ ควรนำไปปรับใช้กับการส่งเสริมการขายเภสัชภัณฑ์ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบบริการสุขภาพ หรือขนาดองค์กรเล็กหรือใหญ่เพียงใด ด้วยความตระหนักต่อข้อเท็จจริงนี้ เหล่ารัฐมนตรีในกลุ่มเอเปคซึ่งรับผิดชอบดูแลกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงเริ่มดำเนินการผลักดันให้เรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญอย่างมากต่อสภาพการวงการอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสุขภาพผู้ป่วยของแต่ละประเทศ โดยพรีม่าได้เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพทั้งระดับชาติและระดับสากลดำเนินงานภายใต้แนวทางจริยธรรมเดียวกันเพื่อเอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

***

 

เกี่ยวกับสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่า (PReMA):

พรีม่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรสมาชิกสมาคมล้วนเป็นบริษัทที่มีหรือเกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆซึ่งอาจยังไม่สามารถรักษาได้หรือเพื่อให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพดียิ่งๆขึ้นไป

 

เกี่ยวกับสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติหรือIFPMA:

IFPMAเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรมีสำนักงานตั้งอยู่ณกรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีสมาชิกเป็นบริษัทที่มีหรือเกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมรวมไปถึงเทคโนโลยีชีวภาพและวัคซีนมีสมาชิกเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำระดับนานาชาติกว่า 26 บริษัทและอีกกว่า 45 องค์กรทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยในนามสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์(พรีม่า (

 

อนาคตด้านงานวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนใหม่ๆครอบคลุมยารักษาโรคในหลายกลุ่มอาทิโรคมะเร็งโรคหัวใจโรคเอดส์และมาลาเรียสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติยังให้การสนับสนุนองค์การอนามัยโลกด้านกิจกรรมเชิงวิชาการต่างๆโดยเฉพาะการดำเนินการด้านประสิทธิภาพคุณภาพและความปลอดภัยของยา

 

เกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือAPEC:

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นความเจริญเติบโตการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกาออสเตรเลียบรูไนแคนาดาชิลีจีนฮ่องกงอินโดนีเซียญี่ปุ่นมาเลเซียเม็กซิโกนิวซีแลนด์ปาปัวนิวกินีเปรูฟิลิปปินส์รัสเซียสิงคโปร์เกาหลีใต้ไต้หวันไทยและเวียดนาม