ผู้ผลิตเบียร์ ไวน์ และสุราชั้นนำของโลก ผนึกกำลังร่วมแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดอันตรายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
11 บริษัทเจ้าของแบรนด์เบียร์ ไวน์ และสุราชื่อดังของโลก จับมือเป็นพันธมิตรอย่างสร้างสรรค์กับองค์กรหลายร้อยแห่งทั่วโลก โดยมีเป้าหมายดังนี้:
– ส่งสารให้ความรู้แก่ประชากรกว่า 100 ล้านคน เพื่อป้องกันปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยอันควร
– รณรงค์ไม่ให้เมาแล้วขับใน 80% ของตลาดที่มีความเสี่ยงสูง
– ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆสามารถจับมือเป็นพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยเร่งผลักดันการดำเนินงานสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals / SDGs)
ในรายงานความคืบหน้าว่าด้วยพันธกิจของผู้ผลิต (Producers’ Commitments) ปี 2016[ii] ที่มีการเผยแพร่ในวันนี้ ระบุว่า ผู้ผลิตชั้นนำของโลกกำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างต่อเนื่อง โดยการจับมือเป็นพันธมิตรกับภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่รัฐบาล ผู้ค้าปลีกรายย่อย ไปจนถึงองค์กรไม่แสวงผลกำไร และภาคเอกชนอื่นๆ
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160524/371287LOGO )
รายงานฉบับดังกล่าวซึ่งจัดทำขึ้นจากกรณีศึกษาใน 7 ประเทศ ได้มุ่งเน้นไปที่บทเรียนและดุลยพินิจในการดำเนินแผนงานในอนาคต นอกจากนี้ยังแสดงความตระหนักด้วยว่า ถึงแม้ความร่วมมือในอดีตที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้า แต่ก็มีอีกหลายสิ่งที่ยังต้องทำต่อไป
Carlos Brito ประธานกลุ่มซีอีโอ IARD[iii] และซีอีโอของ Anheuser-Busch InBev (AB InBev) กล่าวว่า “เรามีความภูมิใจในผลิตภัณฑ์ของเราและบทบาทในสังคม เราเชื่อว่าวัฒนธรรมการดื่มอย่างชาญฉลาดเป็นเรื่องที่ดีสำหรับธุรกิจ และเราก็ตระหนักในหน้าที่ที่จะช่วยลดการบริโภคแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดอันตราย เราได้เห็นความคืบหน้าที่สำคัญ แต่เราทราบดีว่ายังมีงานอีกมากมายที่ต้องทำ ด้วยเราต่างก็มองหาโอกาสที่จะรื่นเริงไปกับสิ่งดีๆในชีวิต และต่างก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวและชุมชนของเรา มันขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนในการส่งเสริมพฤติกรรมการดื่มอย่างชาญฉลาดและลดการบริโภคแอลกอฮอล์ที่จะทำให้เกิดอันตราย การดื่มที่ให้โทษเป็นปัญหาซับซ้อนที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เราเชื่อว่าบริษัทเบียร์ ไวน์ และสุรา สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ได้ โดยการช่วยเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงแสดงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และส่งเสริมการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับสังคม เรามุ่งมั่นที่จะสานต่อความพยายามในพันธกิจปีสุดท้าย และหลังจากนั้น”
Henry Ashworth ประธาน IARD กล่าวเสริมว่า “รายงานความคืบหน้าดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้ผลิตชั้นนำของโลกเหล่านี้ในการผนึกกำลังกันเพื่อสิ่งที่ดีในอุตสาหกรรมและสังคม การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวและลดปัญหาการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตรายนั้น สามารถทำได้เมื่อภาคเอกชน รัฐบาล และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำงานร่วมกันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก เราต้องการทำงานร่วมกับคนอื่นๆเพื่อสร้างความสัมพันธ์และโมเดลใหม่ของการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในทุกชุมชนของเรา”
ไฮไลท์เด่นจากกรณีศึกษาในรายงานฉบับนี้ ประกอบด้วย
— ประสิทธิภาพที่หลากหลายในการรณรงค์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น
– ออสเตรเลีย: การร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนได้นำไปสู่แคมเปญ “ดื่มอย่างไรให้เหมาะสม” [https://drinkwise.org.au/our-work/drinking-do-it-properly/#] ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมไปทั่วโลก โดยเข้าถึงกลุ่มเยาวชน 2 ล้านคนและสามารถแก้ปัญหาการติดแอลกอฮอล์ได้เป็นอย่างดี
– แอฟริกาใต้: แคมเปญ #bethementor [http://www.bethementor.sab.co.za/ ] ของเราบนเฟซบุ๊ก ซึ่งส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง ช่วยลดการติดแอลกอฮอลล์ในกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้ถึง 91%
– บราซิล: โครงการ Sem Excesso (“No Excess”) ของ ABRABE สามารถดึงดูดผู้เยี่ยมชมบนเว็บไซต์มากถึง 159,460 ราย มียอดวิวในยูทูบกว่า 400,000 วิว ยอดคนกดไลค์ในเฟซบุ๊กกว่า 808,000 ไลค์ และมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์กว่า 50,000 ราย
— ความคืบหน้าสำคัญในการลดปัญหาเมาแล้วขับ
– โปแลนด์: ปัจจุบันโปแลนด์มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกให้สามารถตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่บนท้องถนนในจังหวัดส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีจังหวัดหนึ่งสามารถลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอันเนื่องมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ถึง 44% ในช่วงปี 2013-2016
– เม็กซิโก: ปัจจุบันเม็กซิโกมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกให้สามารถตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่บนท้องถนนในรัฐส่วนใหญ่แล้วเช่นกัน
– สเปน: การรณรงค์ทางมัลติมีเดียเพื่อลดปัญหาเมาแล้วขับของเรา ได้รับการยกย่องจาก European Alcohol and Health Forum (EAHF) ว่าเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลทรงเกียรติจากกระทรวงอุตสาหกรรมสเปนอีกด้วย
— บันทึกความเข้าใจ (MOU) ฉบับแรกระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมกับบรรดาผู้ผลิตเครื่องดื่ม
– สาธารณรัฐโดมินิกัน: MoU ฉบับนี้ได้สร้างแผนงานที่ครอบคลุม เพื่อลดปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยอันควร เสริมสร้างและขยายกฎเกณฑ์ด้านการตลาด ลดปัญหาเมาแล้วขับ และขอการสนับสนุนจากผู้ค้าปลีกให้ช่วยลดการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้ง “Alcohol Cluster” ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ถือผลประโยชน์จากหลากหลายสาขา โดยจะมีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือนเพื่อถกหารือถึงแผนงานสนับสนุนพันธกิจเหล่านี้
อ้างอิง
i. 11 รายชื่อบริษัทผู้ลงนามในพันธกิจ “Beer, Wine and Spirits Producers’ Commitments to Reduce Harmful Drinking” [http://www.producerscommitments.org ] ได้แก่ Anheuser-Busch InBev, Asahi Group Holdings, Bacardi, Beam Suntory, Brown-Forman Corporation, Carlsberg, Diageo, Heineken, Kirin Holdings Company, Molson Coors, Pernod Ricard
ii. พันธกิจของผู้ผลิต (Producers’ Commitments)
– ลดการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยอันควร
– เสริมสร้างและขยายกฎเกณฑ์ด้านการตลาด
– ให้ข้อมูลและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบแก่ผู้บริโภค
– ลดปัญหาเมาแล้วขับ
– ขอการสนับสนุนจากผู้ค้าปลีกให้ช่วยลดการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตราย
iii. IARD ก่อตั้งขึ้นในเดือนม.ค. 2015 เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาสาธารณสุขระดับโลก จากการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตราย และส่งเสริมให้ดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ
สมาชิกของ IARD ประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับโลกที่ลงนามในพันธกิจ Producers’ Commitments โดยผู้ลงนามในพันธกิจได้มอบหมายภารกิจเฉพาะให้แก่ IARD ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือบนเวทีโลก
IARD ในฐานะเลขาธิการ:
– ร่วมมือกับ KPMG และ Accenture ในการรายงานความคืบหน้าของพันธกิจ รวมถึงบริหารจัดการโครงการนำร่อง (โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปัญหาเมาแล้วขับ)
– ร่วมมือกับหุ้นส่วนระดับนานาชาติ (เช่น สหพันธ์ผู้โฆษณาโลก)
– วิเคราะห์การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการตลาด
– จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (เช่น นักวิจัย) และพันธมิตร (เช่น ผู้ค้าปลีก)
– จัดทำแบบวิเคราะห์นโยบายและโครงการ และสร้างเครื่องมือนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ดี (เช่น คู่มือศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [http://alcoholedguide.org ])
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และรายงานฉบับเต็ม สามารถเยี่ยมชมได้ที่: producerscommitments.org
ที่มา: International Alliance for Responsible Drinking (IARD)