“ผู้ประกอบการดิจิทัล” พลิกวิกฤตโควิด-19
สร้างโอกาสทางธุรกิจ -รายได้จากเทคโนโลยี
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคมไปสู่สังคมออนไลน์หรือสังคมดิจิทัล ซึ่งส่งผลต่อการทำธุรกิจ ที่จะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การทำธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลตามการขับเคลื่อนของสังคม การพัฒนาทักษะสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้ประกอบการในไทยควรเร่งพัฒนา เพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว” มุมมองของ ดร.รชฏ ขำบุญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการด้านนวัตกรรมหลักสูตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในยุคโควิด-19
ด้วยข้อจำกัดจากมาตรการของรัฐ อย่าง อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ รวมถึงปิดสถานประกอบการต่างๆ ทำให้หลายธุรกิจเปลี่ยนมาให้พนักงานการทำงานที่บ้านแทน และเมื่อไม่สามารถออกไปไหนได้ การใช้ชีวิตของผู้คนจึงพึ่งพาออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสั่งซื้ออาหาร การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงนี้ จะกลายเป็นความปกติใหม่ (New normal) ถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการดิจิทัล หรือ Digital entrepreneurs
ดร.รชฎ กล่าวว่าหลายคนอาจกำลังมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวสร้างปัญหา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่โดยส่วนตัวมองว่านี่เป็นโอกาสของผู้ประกอบการทุกคน หรือนักธุรกิจหน้าใหม่ที่สนใจการทำธุรกิจออนไลน์ ซึ่งในด้านธุรกิจเอง มีหลายธุรกิจที่เติบโตขึ้นท่ามกลางมหันตภัยของไวรัสที่มองไม่เห็นนี้ เช่น การให้บริการประชุมออนไลน์ ที่ชื่อแอพพลิเคชั่นว่า Zoom Video Conferencing มีผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสูงถึง 200 ล้านคน จากเดิม 10 ล้านคน ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ส่วนแอพพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารออนไลน์อย่าง GrabFood ที่มียอดขายสูงขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤติการณ์นี้
ขณะที่ แอพพลิเคชั่นสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ อย่าง Shopee สามารถดันยอดขายโตขึ้นถึง 400% ส่วนเจ้าตลาดออนไลน์อย่าง Lazada เพิ่มยอดขายสูงขึ้นอีก 100% และสำหรับผู้ให้บริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix ในช่วงระยะเวลาเพียง 3 เดือน มีผู้สมัครลงทะเบียน 15.8 ล้าน คิดเป็นการเพิ่มสูงถึงเกือบ 10% แสดงให้เห็นว่า เมื่อเกิดวิกฤติ ทุกคนต่างเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์หรือดิจิทัลบนทุกมิติของการใช้ชีวิต ธุรกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับออนไลน์เหล่านี้จึงเฟื่องฟู และแสดงให้เห็นถึงการก้าวข้ามมาสู่ยุคธุรกิจดิจิทัลอย่างเต็มตัวและรวดเร็วยิ่งขึ้น
“หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA เปิดการเรียนการสอนมากว่า 30 ปี มีนักศึกษา 35 รุ่น หลักสูตรดังกล่าว มุ่งสร้างผู้ประกอบการดิจิทัล ด้วยการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรที่ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างธุรกิจเป็นของตนเองและสร้างเครือข่ายธุรกิจทั้งในชั้นเรียน ผ่านรูปแบบการเรียนที่เน้นการปฏิบัติและโครงงาน และเรียนเฉพาะวันเสาร์เพียงวันเดียวในระยะเวลาหนึ่งปีครึ่งจบหลักสูตร” ดร.รชฎ กล่าว
ทั้งนี้ การเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิตอล ไม่สามารถทำออฟไลน์ได้เพียงอย่างเดียว เพราะธุรกิจไปออนไลน์หมดแล้ว ดังนั้น หลักสูตร MBA ได้มีการสอนด้านบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะหลักการตลาด ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล การจัดการการเงินยุคดิจิทัล การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในยุคดิจิทัล วิชาธุรกิจดิจิทัล การผลิต การเงิน ซัพพลายเชน รวมถึงการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น การทำธุรกิจต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้ประกอบการดิจิทัลในหลักสูตรMBA ของมธบ. ต้องมีทักษะการเรียนรู้ทั้งหมด
ดร.รชฎ กล่าวด้วยว่า นักศึกษาทุกคนจะมีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น รู้จักการใช้เครื่องมือต่อยอด วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และสร้างการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลอย่างยั่งยืน ยิ่งขณะนี้เกิดสถานการณ์ไวรัส คนเริ่มชินกับการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ เมื่อวิถีชีวิตของคนเริ่มปรับไปสู่ ปัจเจกบุคคลมากขึ้นกลายเป็นNew Normal เป็นโอกาสที่คนจะทำธุรกิจ อัพสกิลของตนเอง มาใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และมาสร้างธุรกิจ ซึ่งหลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยผลิตผู้ประกอบการเน้นปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎีมาโดยตลอด เพราะการเรียนเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลต้องเรียนรู้จากการทำงานจริง ทำธุรกิจจริง แก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงๆ ให้ ในแต่ละวิชาจึงมีการทำโปรเจคมากกว่า 80% ขณะที่การทำเล่มจบในวิชาศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) นักศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะทำในรูปแบบงานวิจัย หรือ แผนธุรกิจ ซึ่งหากนักศึกษาเลือกในรูปแบบแผนธุรกิจ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็จะสามารถนำแผนธุรกิจดังกล่าว ไปประกอบธุรกิจได้ทันที และที่สำคัญยังมีเครือข่าย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีประสบการณ์ และผู้ประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจทั้งออฟไลน์ออนไลน์ให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกด้วย
ในความเป็นจริงการทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ได้เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากได้มาเรียนรู้จากกระบวนการที่ถูกต้อง ดร.รชฎ กล่าวอีกว่า นักศึกษาหลักสูตร MBA มธบ.จะมีความรู้และทักษะ 6 ด้านที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัลก้าวข้ามไปสู่การทำธุรกิจที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน คือ 1.นวัตกรรมธุรกิจที่ตอบ Pain Point ของลูกค้า คือ การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แล้วปรับโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ 2.ทักษะด้าน Digital Technology มีความรู้ด้านดิจิทัลที่กว้างขวาง แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดซอฟท์แวร์ เพียงเข้าใจหลักการของเครื่องมือต่างๆ เพื่อมองเห็นแนวทางการนำไปใช้3.ทักษะการเขียนแผนธุรกิจ ก่อนเริ่มธุรกิจหรือปรับธุรกิจดิจิทัลต้องสามารถเขียนแผนธุรกิจเป็นภาพรวม
และ 4.กลยุทธ์และเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัล เครื่องมือการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างการรับรู้ของลูกค้า รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจ 5.กลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องวางแผนเพื่อการเปลี่ยนถ่ายองค์กรไปสู่รูปแบบดิจิทัล และ6.ความรู้ด้านการจัดการทางการเงินและการระดมทุน การวางแผนทางการเงินจะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การระดมทุนจำเป็นต้องมีหลักการเพื่อให้เกิดสภาพคล่องและองค์กรเติบโตได้ในระยะยาว จำเป็นต้องเข้าใจประเด็นต่างๆ ได้แก่ financial issues, venture capitalists, angel investors และ business ventures
“ใครๆ ก็สามารถเป็นผู้ประกอบการดิจิตอลได้ หากมีกระบวนการวางแผนทางธุรกิจ รู้จักใช้เครื่องมือในโลกเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ซึ่งหลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยเปิดสอนนี้เป็นการสร้างผู้ประกอบการรู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจในทุกภาคส่วน เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี ทั้งยังเป็นการเรียนวันเสาร์เพียงวันเดียว เพียง 1 ปีครึ่งก็สามารถเรียนจบได้ และไม่ใช่เรียนแบบจ่ายครบจบแน่ แต่ทุกคนจะมีองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ มีทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และมีเครือข่ายจำนวนมาก ดังนั้น หากใครต้องการลงทุนอัพสกิลของตนเอง ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://ciba.dpu.ac.th/master/mba/ ” ดร.รชฎ กล่าวทิ้งท้าย