การวิจัยโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์อิสราเอลเกือบ 38,000 ตัวเป็นเวลา 2 ปี ก่อให้เกิดการค้นพบด้านการจัดการปศุสัตว์และการคัดเลือกทางพันธุกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
ผลการศึกษาโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์จำนวน 37,486 ตัวเป็นเวลา 2 ปี ที่เผยแพร่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า การวิเคราะห์น้ำนมแบบอินไลน์เป็นประจำทุกวัน ด้วยเครื่องวิเคราะห์น้ำนม AfiLab ของอาฟิมิลค์ (Afimilk) อาจช่วยวิเคราะห์การหลั่งน้ำนมในอนาคตได้ดีกว่าการทดสอบ DHIA แบบรายเดือน
(รูปภาพ: http://mma.prnewswire.com/media/461323/Afimilk_Infographic.jpg )
การวิจัยภายใต้หัวข้อ “การวิเคราะห์พันธุกรรมและฟีโนไทป์รายวันในกระบวนการผลิตน้ำนม ไขมัน และโปรตีนของโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์อิสราเอล ด้วยเครื่องวิเคราะห์น้ำนมแบบเรียลไทม์” ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ได้รับการคัดเลือกจากบรรณาธิการให้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Daily Science ฉบับเดือนธันวาคม 2559 โดยเป็นเครื่องพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า การวิเคราะห์ส่วนประกอบน้ำนมรายวันของ AfiLab ช่วยบ่งชี้ถึงการหลั่งน้ำนมทั้งหมดของโคนมได้แม่นยำกว่าการทดสอบ DHIA แบบรายเดือน
โจเอล เวลเลอร์ และ เอเฟรม เอซรา จากองค์การวิจัยเกษตรกรรมแห่งศูนย์วิจัยโวลคานี (Volcani Center) ได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณการผลิตน้ำนม โปรตีน และไขมัน ที่เก็บโดย AfiLab ในแต่ละวัน กับข้อมูลรายเดือนที่มาจากห้องแล็บกลางของสมาคมเพาะเลี้ยงปศุสัตว์แห่งอิสราเอล (ICBA) ซึ่งสรุปได้ว่า การเก็บข้อมูลรายวันแบบเรียลไทม์อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการทดสอบ DHIA แบบรายเดือน เมื่อพิจารณาจากผลการวิจัยดังต่อไปนี้
– ทั้งสองวิธีมีค่าเฉลี่ยของการผลิตน้ำนมและโปรตีนเท่าๆกัน แต่การผลิตไขมันแตกต่างกันเล็กน้อย โดยมีค่าความแตกต่างไม่เกิน 0.1%
– เมื่อคำนวณจากสถิติรายวัน แม่วัวที่คลอดลูกครอกแรกมีปริมาณการหลั่งมากกว่า ทั้งน้ำนมและไขมัน ยกเว้นโปรตีน แต่ค่าความต่างไม่มีนัยสำคัญ
– หลังจากให้นมเพียง 30 วัน พบค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในระดับสูง 0.73-0.79 ระหว่างการหลั่งน้ำนมที่คาดการณ์และการหลั่งน้ำนมจริง โดยการสุ่มตัวอย่างน้ำนมแบบอินไลน์
– ปริมาณการผลิตน้ำนม ไขมัน และโปรตีนของแม่วัวที่คลอดลูกครอกแรก ซึ่งมีระยะการให้นมน้อยกว่า 150 วัน เมื่อนำมาคำนวณแบบรายวันจะสามารถประมาณการหลั่งน้ำนมในอนาคตได้แม่นยำกว่าการคำนวณจากปริมาณการหลั่งน้ำนมแบบรายเดือน
เวลเลอร์และเอซรา กล่าวว่า “ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ AfiLab สูงกว่าค่าสหสัมพันธ์ของ ICBA ในทั้ง 3 คุณลักษณะจากการกำหนดจุด (truncation points) ทั้ง 9 จุด แม้ว่าจำนวนวันให้นมของ AfiLab จะน้อยกว่าก็ตาม”
ห้องปฏิบัติการน้ำนมแบบอินไลน์ของอาฟิมิลค์ มีหน้าที่วัดปริมาณผลผลิต ส่วนประกอบ และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำนม เพื่อช่วยคัดเลือกโคนมที่ดีที่สุด และแจ้งเตือนเมื่อโคนมเสี่ยงต่อการเป็นโรค อาทิ โรคเต้านมอักเสบและโรคคีโตซิส รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการที่อาจส่งผลกระทบต่อฝูงโค
อาฟิมิลค์เป็นผู้นำระดับโลกด้านเครื่องมือบริหารฟาร์มโคนม โดยนำเสนอเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญมาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี เพื่อช่วยให้เกษตรกรโคนมในกว่า 50 ประเทศสามารถทำกำไรจากการผลิตน้ำนม รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.Afimilk.com และเยี่ยมชมเราได้ในงาน World Ag Expo บูธ DS69,70,83,84
ติดต่อ:
โนอา โยนิช
อีเมล: noa@afimilk.com
โทร. +972-4-6754812
ที่มา: อาฟิมิลค์