ผลการศึกษาซีเอ เทคโนโลยีชี้ว่าอินเดียและจีนติดอันดับสูงสุด ของโลกในด้านการเปลี่ยนแปลงดิจิตอล

0
569
image_pdfimage_printPrint

ผลการศึกษาซีเอ เทคโนโลยีชี้ว่าอินเดียและจีนติดอันดับสูงสุด ของโลกในด้านการเปลี่ยนแปลงดิจิตอล

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยอดรายได้ที่เติบโตและการเติบโตของผลกำไรจากการเปลี่ยนเทคโนโลยีมากกว่าส่วนอื่นของโลก ถึง 2 เท่า

บริษัทซีเอเทคโนโลยีเผย ว่าข้อมูลจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ในผลการศึกษาระดับโลกในเรื่องบทบาทของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเป็นตัวช่วยทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น ปจจุบัน ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล ได้เข้ากระทบถึงทุกแง่มุมทางธุรกิจ ระดับโลกแล้วโดยประเทศอินเดียและจีน รวมทั้งประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ได้แสดงให้เห็นผลกระทบสำคัญ จากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และการสื่อสารมาเปลี่ยนผ่านหลายแง่มุมสำคัญทางธุรกิจเพื่อบรรลุเป้าความพร้อมทางดิจิตอลได้กลายมาเป็นกิจกรรมสำคัญ ที่จะผลักดันยอดการเติบโต ของรายได้จากการลงทุน หรือ ROI

ในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น ธุรกิจต่างๆกำลังเร่งรุดหน้าไปด้วยความเร็วแสงเพื่อที่จะ ชิงกระโดดข้ามการแข่งขัน และเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอล ในองค์กรของตัวเอง และงานศึกษา เรื่องการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ บทเรียนจากการ เกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิตอลที่พลิกผันธุรกิจได้พบว่าการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิตอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้มีการขับเคลื่อนด้วยการใช้ยุทธศาสตร์องค์กรที่มีการประสานงานกัน ในกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรต่างๆและบริษัทในทุกภาคนี้ ( 50 เปอร์เซ็นต์) โดยมีหลายโปรเจคที่กำลังดำเนินการอยู่ในหลาย ด้านของแต่ละบริษัทเช่น ฝ่ายงานบริการลูกค้า การขายและการตลาด การผลิตและพัฒนาการบริการ ซึ่งผลลัพธ์จากการสำรวจก็คือมี 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้เห็นผลตอบแทน ในด้านการรักษาและครองใจลูกค้า ในระดับที่ประเมินวัดได้ จากความริเริ่มในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิตอล และมีอีก 42 เปอร์เซ็นต์ที่ ได้เห็น การเติบโตของรายได้รวม ด้วยเช่นกัน

ผลการศึกษานี้ ยังได้กระตุ้นการพัฒนาในด้าน ดัชนีประสิทธิภาพ ของระบบดิจิตอล หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Digital Effectiveness Index (DEI) ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการวัด ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกับบริษัท Freeform Dynamics โดยการใช้ ตัววัดนี้ ได้พบว่า กลุ่มบริษัทผู้มีประสิทธิภาพสูงเกิดขึ้น โดยเป็นกลุ่มที่ สร้างความพลิกผันทางด้านดิจิตอล โดยจัดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

ในกลุ่มผู้เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีที่พลิกผันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเหล่านี้คือกลุ่มที่ได้รุดหน้าไปมากแล้ว และ ผู้ตอบสอบถามได้ มองเห็น ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่น่าประทับใจจากการใช้การเปลี่ยนผ่านทางระบบดิจิตอลได้แก่ :

การเพิ่มขึ้นของรายได้
โดยบริษัทที่เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะมียอดรายได้เติบโตเป็น 2 เท่าของบริษัทธุรกิจโดยทั่วไป

ผลกำไรสูงขึ้น
โดยกลุ่มนี้ได้ระบุว่ามียอดกำไรเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่ามากกว่าบริษัทโดยทั่วไปในธุรกิจ ที่เทียบเคียงกัน โดยจะเห็น ยอดที่สูงในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมการค้าปลีก บริษัทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ในขณะที่ภาคบริการสาธารณะ สินค้า แพ็คเกจสำหรับผู้บริโภค และบริการสาธารณสุข เป็นฝ่ายตาม

“ในขณะที่ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นกำลัง รุดหน้าไปด้วยจังหวะก้าวที่แตกต่างกันในการรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ แต่ก็มีหลาย ประเทศที่ก้าวหน้าในทิศทางที่ถูกต้องและได้รับผลประโยชน์จากการ ดำเนินการด้านนี้ไปแล้ว” สตีเฟ่น ไมลส์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทซีเอเทคโนโลยี กล่าว และเสริมต่อว่า “อันที่จริงแล้วมากกว่า 2 ใน 3 หรือ 69 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทต่างๆที่มีการสำรวจในภูมิภาคนี้ได้ตระหนักแล้วว่า นี่เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญและเน้นหนักที่จะดำเนินการต่อไป รวมทั้งข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่า บริษัทไหนที่ไม่ได้เริ่ม ก้าวไปในทิศทางนี้จะต้องตกเป็นผู้ตามในไม่ช้า และมีโอกาสมากที่จะ ไม่สามารถแข่งขันได้หรือแม้แต่ที่จะอยู่รอดได้ต่อไป”

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีลักษณะร่วมและพฤติกรรมร่วมที่ชัดเจนในกลุ่มผู้เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี โดยการสำรวจที่มีการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 1442 รายจาก 16 ประเทศใน 9 ภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ และมี 7 ประเทศในภูมิภาคนี้ ได้พบว่า กลุ่มที่เป็นผู้นำทางด้านการเปลี่ยนผ่านดิจิตอล จะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ :

เน้นซอฟต์แวร์
โดยบริษัทที่เป็น ผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่าน ได้ มีการตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจที่ผลักดันโดยซอฟต์แวร์ มากกว่าบริษัททั่วไปถึง 4.3 เท่า โดยคิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 15% ของบริษัททั่วไป

เน้นความยืดหยุ่น
โดยบริษัทที่เป็นผู้นำ มีโอกาสมากกว่าที่ จะใช้ การพัฒนาแบบยืดหยุ่น กว่าบริษัททั่วไป 2.4 เท่าโดยคิดเป็นอัตรา 70 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 29% และนอกเหนือจากนี้ มีโอกาสมากกว่าที่จะใช้ การดำเนินงานพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ DevOpsในระดับกว้างอยู่แล้ว มากกว่าองค์กรทั่วไปถึง 2.4 เท่าโดยคิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 27%

เปิดกว้างในด้าน APIs
การศึกษาได้พบว่าบริษัทผู้นำในด้านเทคโนโลยีดิจิตอล ได้ใช้ประโยชน์จาก APIs ในการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบโมไบล์มากกว่าบริษัททั่วไปถึง 2 เท่าโดยคิดเป็น 71 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 30 เปอร์เซ็นต์และใช้ APIs เพื่อ ใช้งานร่วมกับแอพพ์ ของบุคคลที่สามมากกว่า 2.6 เท่าโดยคิดเป็น 63 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 24%

สำหรับ ข้อคิดสำคัญของการศึกษาอื่นๆ ที่ได้พบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีดังนี้:

ประเทศอินเดีย 7.1 และจีน 6.9 ได้คะแนนการสำรวจสูงสุดในภาพรวมในเรื่องประสิทธิภาพของระบบดิจิตอลโดยบริษัทต่างๆได้มองเห็น ผลกระทบและประโยชน์ที่ได้รับจากการริเริ่มทางด้านดิจิตอล

แอพพลิเคชั่นเว็บและเซอร์วิส (36% ) ตลอดจนเทคโนโลยีโมไบล์ (34% ) ได้รับการจัดอันดับสูงในด้านบทบาทที่มีต่อการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและการพัฒนาตลาด

การเปิดตลาดใหม่ๆ (67 เปอร์เซ็นต์) และมีความสามารถที่จะ ดำเนินการอย่างรวดเร็วกับโอกาสใหม่ๆที่เกิดขึ้น (67 เปอร์เซ็นต์)และ รวมถึงการสร้าง ช่องทางสู่ตลาดใหม่ (67 เปอร์เซ็นต์) เป็น 3 หัวข้อที่ได้รับผลประโยชน์จากความริเริ่มทางด้านดิจิตอลที่ระบุมาโดย ธุรกิจต่างๆ

ในบรรดาตัวชี้วัดKPIs ทั้งหมด การรักษาและครองใจลูกค้า (43 เปอร์เซ็นต์) ถูกมองว่าเป็นประโยชน์ที่ได้รับ อย่างชัดเจนจากผลของความริเริ่มด้านดิจิตอล

อินเดีย เป็นประเทศที่มี สัดส่วo มากกว่าประเทศอื่นทั้งหมด ที่บุคคลระดับนำที่ผลักดันความริเริ่มตั้งดิจิตอลคือ CEO หรือ บอร์ดบริหารบริษัท( 33 %) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น อยู่ที่ 22 เปอร์เซ็นต์

ในประเทศสิงคโปร์ผู้ตอบแบบสอบถามได้จัดอันดับว่า ผลิตภาพในการทำงานของพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้น (51 เปอร์เซ็นต์) เป็นตัวผลักดันหลักสำคัญในการริเริ่มด้านดิจิตอลในขณะที่ ประเทศส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นได้ระบุว่า แรงผลักดันที่สำคัญคือ การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า (52 เปอร์เซ็นต์)

ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจออนไลน์ในระดับโลกจากผู้บริหารอาวุโสด้านไอทีและธุรกิจ จำนวน 1412 รายที่ได้รับการสนับสนุนในการสำรวจจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยีและดำเนินการโดยบริษัทวิจัยอุตสาหกรรม ฟรีฟอร์ม ไดนามิกส์ มีขึ้นในเดือน กรกฎาคมปี 2015 ที่ผ่านมา โดย มีการ สำรวจเพิ่มเติมในเชิงลึกจากการโทรศัพท์สอบถาม กับผู้บริหารรายต่างๆในธุรกิจที่สำคัญ โดยมีทั้งหมดนี้มีจำนวน 615 รายของผู้ตอบแบบสอบถามมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยมาจากประเทศออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดียญี่ปุ่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ สำหรับรายละเอียดของระเบียบวิธีวิจัยในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมดโปรดดูรายงาน ในหัวข้อภาษาอังกฤษชื่อ ว่า “Exploiting the Software Advantage: Lessons from Digital Disrupters”.