1

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings by Subject 2017

จุฬาฯ ทำผลงานดีขึ้น ติดท็อป 100 ใน 2 สาขาวิชา และติดอันดับที่ดีที่สุดในกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทย

QS Quacquarelli Symonds ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings by Subject ฉบับที่ 7 ในวันนี้ ซึ่ง
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกตามสาขาวิชาต่างๆ 46 สาขาวิชา ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ครองอันดับ 1 ใน 15 สาขาวิชา ตามด้วย
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ซึ่งติดอันดับ 1 ใน 12 สาขาวิชา

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140618/691283 )

สำหรับผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกของกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทย พบว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับที่29 ในสาขาวิชาเกษตรกรรม
และป่าไม้ โดยเป็นการไต่ขึ้นมา 18 อันดับ ขณะเดียวกัน สถาบันของไทยหลายแห่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหลายด้านในปีนี้ ซึ่งรวมถึง:

– มหาวิทยาลัยที่ยังคงเป็นอันดับ 1 ของไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการจัดอันดับในสาขาวิชาต่างๆ 20 สาขาวิชา
– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้รับการจัดอันดับใน 7 สาขาวิชา
– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ ภาษาสมัยใหม่ และ วิศวกรรมเคมี
– ในรายงานฉบับล่าสุดนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ดีที่สุด 200 อันดับแรกใน 16 สาขาวิชา เทียบกับในการรายงานฉบับปีที่ผ่านมา
จุฬาฯ ติดอันดับที่ดีที่สุด 200 อันดับแรกใน 14 สาขาวิชา
– สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุดใน 200 อันดับแรก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ก่อนหน้านี้อยู่ที่
อันดับ 151-200) และสาขาวิชาสถาปัตยกรรม/สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (ก่อนหน้านี้ไม่ถูกจัดอันดับ)
– มหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับใน 100 อันดับแรก 3 สาขาวิชาในปีนี้ ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของปี 2016 ที่มีมหาวิทยาลัยไทยติด 100
อันดับแรกอยู่เพียง 1 สาขาวิชา
– มหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับรวมทั้งสิ้น 53 รายการ เทียบกับปีที่ผ่านมาที่ได้รับการจัดอันดับเพียง 42 รายการ ส่งผลให้
มหาวิทยาลัยของไทยมีส่วนแบ่งอันดับรวมในทั้ง 46 สาขาวิชา ทั้งในปี 2016 และ 2017 คิดเป็น 0.46% ของทั้งหมด

รวมทั้งสิ้นแล้ว มหาวิทยาลัยของไทย9 แห่ง ติดอันดับอย่างน้อย 1 รายการในรายงาน QS World University Rankings by Subject ประจำปีนี้
ซึ่งลดลง 1 มหาวิทยาลัยจากรายงานปี 2016 ทั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยไทยอย่างน้อย 1 แห่งติดอันดับใน 22 สาขาวิชา จาก 46 สาขาวิชา

ผลงานโดยรวมของสถาบันการศึกษาของไทยถูกแสดงอยู่ในตารางข้างล่างนี้ ตัวเลขในแต่ละแถวคือจำนวนอันดับที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้ถูกจัดให้
อยู่ในช่วงอันดับนั้นๆ

QS ยังได้เปิดเผย QS World University Rankings by Faculty ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามคณะ โดยประเมินการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัยใน 5 กลุ่มวิชากว้างๆ ได้แก่ ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยาศาสตร์และการแพทย์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ
สังคมศาสตร์และการจัดการ ซึ่งมหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอันดับที่ดีที่สุดในแต่ละคณะวิชา
ตารางสรุปผลการจัดอันดับได้จากการวิเคราะห์ของQS โดยอาศัย:

– การอ้างอิงมากกว่า 185 ล้านรายการ
– เอกสารมากกว่า 43 ล้านฉบับ
– คำตอบ 194,000 คำตอบ จากการสำรวจผู้จ้างงานทั่วโลก
– คำตอบมากกว่า 305,000 คำตอบ จากการสำรวจทางวิชาการระดับโลก

สามารถดูผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกQS World University Rankings by Subject ฉบับเต็มได้ที่
https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017