ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจาก Google เติบโตเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

0
359
image_pdfimage_printPrint

Classroom-Demo2

ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจาก Google เติบโตเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
สถาบันการศึกษาไทยเป็นผู้นำการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษาของ Google พลิกโฉมการเรียนการสอน

22 กันยายน, กรุงเทพฯ – เรากำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในตลาดแรงงาน อาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเพื่อปูทางไปสู่อนาคตการทำงานที่มั่นคง เทคโนโลยีกำลังมีบทบาทสำคัญในด้านการเรียนการสอนของพวกเขาและ Google นำตัวช่วยด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาให้กับพวกเขาเพื่อเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้

ผลการศึกษาจาก The Economist เมื่อปี 2558 เผยว่าทักษะแรกที่จำเป็นในการทำงานคือการติดตามและแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดโดยใช้การสื่อสารและทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีข้อมูลอย่างแพร่หลายอาจเป็นพลังที่มีประสิทธิภาพแต่ในขณะเดียวกันหากมีข้อมูลมากเกินไปก็อาจเกิดการท่วมท้นได้ การเข้าถึงข้อมูลนี้สามารถเปลี่ยนโลกแต่การเข้าถึงข้อมูลที่มีการชี้แนะที่เหมาะสมนั้นเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ การมีทักษะความคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนเมื่อมีการแยกแยะข้อมูลจำนวนมหาศาล ตัดสินว่าอะไรควรใช้และจะใช้มันอย่างไรนั้นเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนกำลังเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงนี้เราได้สร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยอาจารย์ผู้สอนให้ทำในสิ่งที่ดีที่สุดหรือดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

แอปพลิเคชั่น Google เพื่อการศึกษาเป็นชุดเครื่องมือเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกันที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอันประกอบด้วย Classroom, Gmail, Docs, และ Drive ที่ช่วยให้นักเรียนและผู้สอนทำงานและเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างบูรณาการไม่ว่าจะอยู่ที่ใด การทำงานในลักษณะร่วมมือกันนี้สามารถจัดการได้บน Chromebook ที่ช่วยให้คุณแชร์งานระหว่างกันในชั้นเรียนและจัดการงานบนเครือข่ายที่ต้องการได้ การใช้เครื่องมือการเรียนรู้เหล่านี้ ผู้สอนสามารถออกแบบการทดสอบแบบใหม่ๆ ร่วมกันทำโครงงาน รวมถึงเชื่อมการสื่อสารกับนักเรียนที่มากกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียน นักเรียนจะได้รับประโยชน์จากข้อคิดเห็นอย่างรวดเร็วและเป็นสื่อกลางเชื่อมระหว่างผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นที่ได้รับมอบหมายในการทำงานแบบทดสอบและสื่อการเรียนการสอนร่วมกันได้

โรงเรียนภูเขียว จ.ชัยภูมิ ก่อนหน้านี้ยังไม่มีระบบสารสนเทศที่เสถียร นักเรียนไม่มีแม้กระทั่งอีเมล และครูก็ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับนักเรียนได้ผ่านไอที ทำให้การจัดการต่างๆ เป็นไปได้ยาก หลังได้มารู้จักกับ Google Apps ทำให้สามารถจัดการบัญชีอีเมล์ได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนมีบัญชีอีเมล์ให้แก่ครูและเจ้าหน้าที่รวม 222 คน และนักเรียน 3,030 คน ส่วนการเรียนการสอนจากเดิมที่ใช้สื่อจาก CAI (Computer Assisted Instruction) Google Apps for Education สามารถช่วยลดภาระงานอาจารย์ผู้สอนลง และสร้างสื่อหรือนวัตกรรมผ่าน Google Classroom ที่ช่วยบริหารจัดการเรียนการสอน Google Drive เก็บชิ้นงานและผลงานนักเรียน Google Sites ใช้เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงข้อมูล และ Google Forms ใช้สร้างแบบทดสอบ และการคำนวนค่าสถิติพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่มาตรฐานสากล

ขณะที่โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนชายขอบของจังหวัดเชียงรายที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนราว 3,000 คน มีการจัดตั้งห้องเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนฉลาด” หรือ ‘Smart Classroom’ นำ Chromebook และ Google Apps for Education มาใช้ในด้านการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม คอมพิวเตอร์ แทบทุกกลุ่มสาระ ใช้สั่งการบ้าน และ การทดสอบออนไลน์ ช่วยประหยัดเวลาครู และ ประหยัดกระดาษ ส่วน Gmail นำมาใช้สื่อสารติดต่อประสานงาน โดยยกเลิกการถ่ายเอกสารคำสั่งงานต่างๆ ที่เคยถ่ายเอกสารแจกครูกว่า 200 คน เปลี่ยนมาใช้การสื่อสาร คำสั่งราชการผ่านทางอีเมล์แทน ทั้งนี้ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน จะมีการแชร์ผ่าน Google Drive เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกัน

นอกจากการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติโลกแห่งการเรียนรู้แล้ว เรากำลังสร้างอนาคตทางการศึกษาอีกด้วย หนึ่งโครงการที่พวกเราตื่นเต้นอย่างมากคือ Expeditions โดยชุดการเรียนการสอนนี้ประกอบไปด้วย สมาร์ทโฟน และ Cardboard ช่วยให้คุณครูพานักเรียนทั้งชั้นเดินทางไปที่ต่างๆ ทั่วโลกแบบเสมือนจริง นั่นรวมถึงสถานที่ที่รถโรงเรียนพาไปไม่ถึง ออกไปท่องอวกาศนอกโลก ใต้น้ำหรือภายในร่างกายของมนุษย์ ยังมีเรื่องราวของการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจเพื่อการเรียนรู้อีกมากมาย เราเริ่มเห็นว่ามีผู้สอนหลายท่านใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นส่วนนึงในการเรียนการสอนในหลายๆ วิชา ทั้งเศรษฐศาสตร์ วรรณกรรม และคณิตศาสตร์

ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน:
Google ประเทศไทย
สายใย สระกวี
โทร: +6681 554 4000
อีเมล์: saiyai@google.com

บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
โทร: +6681 751 2294
อีเมล์: suchai@pc-a.co.th