ปฎิรูปขจัดความเหลื่อมล้ำและส้รางความเป็นธรรมทางสังคม

0
1078
image_pdfimage_printPrint

-บุญยรัตพันธุ์-Small

ในงาน “สปช. รายงานประชาชน…เปลี่ยนประเทศไทยกับสปช.” จัดโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ สรุปผลงานและส่งมอบวาระการปฏิรูป 37 ประเด็น และ 6 วาระพัฒนา แก่รัฐบาลตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ รายงานสรุปแผนปฏิรูปขจัดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้พี่น้องคนไทยทุกคนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง รวดเร็ว ไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพสร้าง “ความตื่นรู้” ให้แก่ประชาชนให้มีความกระตือรือร้น สำนึกรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางเพื่อการจัดการสุขภาพของตนเองและชุมชนร่วมกับคณะทำงานในระดับพื้นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการใช้แพทย์แผนไทยและมีส่วนร่วมในการสืบทอดคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งการบูรณาการหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และภาคประชาคมอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระดับพื้นที่และประเทศ

รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สุขภาพมีมิติกว้างกว่าการบริการสุขภาพ ทิศทางของการปฏิรูประบบสุขภาพมุ่งเน้นระบบสุขภาพ “สร้างนำซ่อม”ครอบคลุมทั้งการแก้ไขหรือตรากฎหมายใหม่ มาตรการ เครื่องมือบริหารจัดการ ให้ความสำคัญกับมิติสุขภาพในทุกนโยบายสาธารณะ (Health in All Policies)เชื่อมโยงกับการอภิบาลระบบบริหารจัดการระบบการเงินการคลัง และระบบบริการสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับระบบบริการในระดับปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ชาวบ้าน ใช้พื้นที่เป็นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางมีการเชื่อมโยงบริการในแต่ละระดับอย่างไร้รอยต่อบูรณาการด้วยทีมหมอประจำครอบครัวเพิ่มคุณภาพและการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง มีระบบส่งต่อที่เป็นกัลยาณมิตร เสริมด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีการทำงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชนเข้าด้วยกัน มีการใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยในระบบบริการตามบริบทของพื้นที่

อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างเสริม ป้องกัน ขจัดภัยคุกคามด้านสุขภาพ ปรับการบริหารโดยจัดตั้งคณะกรรมการประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางเพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วม การบริหารกองทุน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกันมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สามารถสะท้อนปัญหาสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน ภายใต้สร้างความยั่งยืนในระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพครอบคลุมทุกคนบนแผ่นดินไทย

รศ.นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สปช.กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิรูปกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพ เป็นส่วนเกื้อหนุน การปฏิรูปในภาพรวม โดยถักทอสานพลังทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ให้มีความสมดุล ครอบคลุมทั้งการวางแผนการจัดระบบบริการ การคลังสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ โดยมีกลไกระดับชาติ คณะกรรมการกำหนดนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Policy Board) คณะกรรมการสุขภาพเขต (Area Health Board) และคณะกรรมการสุขภาพระดับจังหวัด(Provincial Health Board)กลไกทั้ง ๓ ระดับ จะเชื่อมโยงและหนุนเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน รวมทั้งหนุนเสริมการทำงานคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ/พื้นที่ (District/Local Health Board) ซึ่งเป็นกลไกส่วนย่อยที่สุดในระดับอำเภอ/พื้นที่

รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุขกล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่คาดหวังจากการปฏิรูปครั้งนี้ เพื่อพัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศให้มีความความมั่นคงและยั่งยืน ส่งเสริมคุณค่าและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิที่ประชาชนเข้าถึงง่าย และการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน และการพึ่งตนเองได้ของประชาชน เพื่อสร้าง “พลเมือง” ให้มีทักษะ (Hand) มีปัญญา (Head) มีสุขภาวะ (Health) และมีคุณธรรมจริยธรรม (Heart) บนพื้นฐานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ดูแลแต่แรก ทุกเรื่องต่อเนื่อง เบ็ดเสร็จ
ผลสำเร็จ ด้วยเครือข่ายมุ่งหมาย ไร้รอยต่อ
ถักทอ ด้วยทีมหมอครอบครัวสร้างตัว ด้วยเอกลักษณ์ชาติ
องอาจแพทย์แผนไทยร่วมใจบริหารจัดการ
ผสานการเงินที่ยั่งยืน จุดยืน “สร้างนำซ่อม”
กลมกล่อม ทุกนโยบาย จุดหมายสู่ Self care
ดูแลด้วยหัวใจ เพื่อคนไทย มีสุขภาพดี