ปกป้องการลงทุน Low Pin Count (LPC) ของคุณ ด้วย eSPI to LPC Bridge เชิงพาณิชย์ตัวแรกของอุตสาหกรรม
– ผลิตภัณฑ์ใหม่จากไมโครชิพช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นประมวลผลอุตสาหกรรม สามารถผนวกรวมมาตรฐาน eSPI เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เดิม จึงช่วยลดต้นทุนการพัฒนา พร้อมกับยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันวงการประมวลผลอุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนผ่านจาก Low Pin Count (LPC) ไปเป็นเทคโนโลยีบัส (bus) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่าง Serial Peripheral Interface (eSPI) ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงเผชิญกับต้นทุนการพัฒนาที่สูงขึ้นในการปรับปรุงอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมให้เป็นมาตรฐานใหม่ ดังนั้น เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นตามมาตรฐาน eSPI ในขณะที่ยังคงปกป้องการลงทุนขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ LPC ที่ใช้อยู่เดิม บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงประกาศเปิดตัวอุปกรณ์ eSPI-to-LPC bridge เชิงพาณิชย์ตัวแรกของอุตสาหกรรม ได้แก่ ECE1200 bridge ช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้มาตรฐาน eSPI ในแผงวงจรที่มีคอนเนคเตอร์และเพอริเฟอรัล LPC แบบเก่า ซึ่งทำให้ลดต้นทุนและความเสี่ยงในการพัฒนาลงได้เป็นอย่างมาก
อายุการใช้งานที่ยาวนานมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ประมวลผลอุตสาหกรรมรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากต้องลงทุนสูงในครั้งแรก ECE1200 eSPI-to-LPC bridge ช่วยให้นักพัฒนายังคงรักษาอายุการใช้งานที่ยาวนานเอาไว้ ขณะเดียวกันก็สนับสนุนเทคโนโลยี eSPI bus ที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชั่นประมวลผลใหม่ ๆ ที่ใช้ชิปเซ็ตและ CPUs รุ่นใหม่ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงสำหรับนักพัฒนา เทคโนโลยี eSPI bus ยังได้ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดสำหรับแอปพลิเคชั่นการประมวลผลอุตสาหกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนได้รับการพิสูจน์ยืนยันโดยบรรดาบริษัทประมวลผลชั้นนำ
“ไมโครชิพเป็นผู้จัดหา eSPI ระดับแนวหน้ามาตั้งแต่มาตรฐานของวงการประมวลผลยังอยู่ในระยะเริ่มต้น” เอียน แฮร์ริส รองประธานหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ประมวลผลของไมโครชิพ กล่าว “เรานำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ eSPI ซึ่งผลิตภัณฑ์ ECE1200 ได้ต่อยอดความเป็นผู้นำของเราในตลาดนี้ และทำให้ลูกค้าใช้มาตรฐาน eSPI ได้โดยที่ไม่ต้องแลกกับอุปกรณ์ LPC แบบเก่าที่ทุ่มลงทุนมาหลายปี”
ECE1200 ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบรับกับข้อกำหนดด้าน eSPI ในปัจจุบัน โดยสามารถตรวจจับและรองรับโหมด Modern Standby ด้วย low standby current ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นประมวลผลอุตสาหกรรมสามารถบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงานและประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ได้ ขณะที่ยังครบครันด้วยฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานคาดหวังว่าจะได้รับจากบรรดาอุปกรณ์สมัยใหม่ ECE1200 ทำให้การใช้งานเป็นเรื่องง่าย เพราะไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมแต่อย่างใด
เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา
เพื่อช่วยให้การพัฒนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ECE1200 จึงมาพร้อมกับ BIOS porting guide, schematics และ layout guide
ราคาและการวางจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ ECE1200-I/LD วางจำหน่ายแล้ววันนี้ ในแพคเกจ 40-pin VQFN ที่สนนราคาชิ้นละ 2.66 ดอลลาร์ เมื่อสั่งซื้อขั้นต่ำ 10,000 ชิ้น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ และสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่พอร์ทัลจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของไมโครชิพ หรือติดต่อพันธมิตรจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต
แหล่งข้อมูลและภาพ
ดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):
– ภาพการใช้งาน: https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/47924341198/
– ภาพถ่ายชิป: https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/47924344901
แผนภาพบล็อก: https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/47924335546/
เกี่ยวกับไมโครชิพ เทคโนโลยี
บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้นำด้านการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์สำหรับโซลูชั่นควบคุมแบบฝังที่เป็นอัจฉริยะ เชื่อมต่อ และปลอดภัย เครื่องมือพัฒนาที่ใช้งานง่าย ตลอดจนกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โซลูชั่นของบริษัทให้บริการลูกค้ามากกว่า 125,000 รายในตลาดอุตสาหกรรม ยานยนต์ ผู้บริโภค อวกาศและการป้องกันประเทศ การสื่อสารและการประมวลผล สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com
หมายเหตุ : ชื่อและโลโก้ The Microchip และโลโก้ Microchip เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เครื่องหมายการค้าอื่นๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในที่นี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20190527/2456418-1