บันทึกการจับกุมและยึดยาไอซ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2555 รายงานโดยคณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ

0
402
image_pdfimage_printPrint

กรุงเทพ (ประเทศไทย) 11 พฤศจิกายน 2556 –  ยาไอซ์ยังคงเป็นสารเสพติดระดับต้นๆ ที่ส่งผลเสียต่อประเทศต่างๆ ทั้งเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอ้างอิงจากรายงานโดยคณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ จากผลรายงานในวันนี้ การจับกุมและยึดยาไอซ์ ทั้งรูปแบบเม็ด และเกล็ด โดยมีการบันทึกการจับกุมประจำปี 2555 ในตัวเลขค่อนข้างสูง โดยยาไอซ์ 227 ล้านเม็ดถูกจับกุม ซึ่งมากขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 60 และมากกว่าปี 2551 ถึงเจ็ดเท่า รวมถึงการจับกุมยาไอซ์แบบเกล็ดซึ่งมีมากถึง 11.6 เมตริคตัน ซึ่งมากกว่าปี 2553 ถึงร้อยละ 12

 

จากรายงาน “รูปแบบและแนวโน้มการเสพยาบ้าชนิดสารกระตุ้น และสารเสพติดอื่นๆ – คือสิ่งที่กำลังท้าทายสำหรับเอเชียและแปซิฟิคในปี 2556 นี้ จากการทำแบบสำรวจในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคพบว่า ยาไอซ์เป็นยาเสพติดอันดับต้นๆ ที่เป็นสารต้องห้ามใน 13 ประเทศ จาก15 ประเทศ การใช้ยาไอซ์เพิ่มจำนวนขึ้นในประเทศกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ลาว พม่า เกาหลี ไทย และเวียดนาม

 

รายงานยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า กลุ่มอาชญากรข้ามชาติมีการตื่นตัวในการซื้อขายแลกเปลี่ยนยาเสพติดชนิดสารต้องห้าม รวมถึงหาวิธีและช่องทางต่างๆมากมายเพื่อที่จะทำการให้สำเร็จ การลำเลียงสารเสพติดถูกควบคุมโดยสมาคมประจำภูมิภาคต่างๆ ในขณะที่กลุ่มอาชญากรในเขตแอฟริกาและอิหร่าน พยามยามขยายการลำเลียงยาไอซ์และสารเสพติดประเภทอื่นๆ เข้ามาในเขตเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศอินเดียและเอเชียใต้เองเริ่มมีบทบาทในการลักลอบนำเข้าสารเคมีและสารทางเภสัชกรรม ที่เป็นสารตั้งต้นที่จำเป็นในการผลิตยาไอซ์ ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงประเทศพม่าด้วย

 

“สถานการณ์ทางด้านยาเสพติดให้โทษและสารต้องห้ามที่เลวร้าย ส่งผลกระทบเป็นทอดๆ ไปยังประเทศอื่นที่ใกล้เคียง รวมไปถึงปัญหาทางด้านอาชญากรรม สุขภาพพลานามัย และความมั่นคงของมนุษย์ ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิค” นายเจเรมี ดักลาส ตัวแทนคณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าว “ในขณะที่ทางการภูมิภาคเอื้ออำนวยการขนส่งด้านสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรี ขณะเดียวกันก็มีการฉวยโอกาสนี้ สร้างอาชญากรรมข้ามชาติในเขตภูมิภาคนี้อีกด้วย”

 

จากการรายงานของคณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ พม่ายังคงเป็นแหล่งผลิตยาไอซ์ชนิดเม็ดแหล่งต้นๆ ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก็เป็นสถานที่แรกที่มีการทำลายโรงงานผลิตยาไอซ์ชนิดเกล็ด และมีการจับกุมการผลิตยาไอซ์ชนิดเม็ดในปี 2555 นอกเหนือจากพม่าแล้ว กลุ่มอาชญากรข้ามชาติยังมีแหล่งผลิตยาไอซ์ในประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ กัมพูชา รวมไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อีกด้วย

มีการจับกุมยาไอซ์ในประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน(102 ล้านเม็ด) ไทย (95 ล้านเม็ด) พม่า (18 ล้านเม็ด) และลาว (10 ล้านเม็ด) ซึ่งเป็นร้อยละ 99 ของยาไอซ์ชนิดเม็ดที่ถูกจับกุมและยึดในกลุ่มประเทศ ประจำปี 2555 รวมถึงการรายงานเพิ่มเติมว่า มาเลเซียและเวียดนามก็มีตัวเลขการจับกุมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2555 อีดเช่นกัน

 

คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติชาติยังเน้นย้ำอีกว่า ในปี 2554 การค้าขายยาอีในแถบประเทศเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ฟื้นตัวขึ้น โดยมีการจับกุมยาอีชนิดเม็ดในปี 2555 มากกว่า 1. 5  ล้านเม็ด จากเดิมที่จำนวน 1.6 ล้านเม็ด

 

รายงานมีการกล่าวเตือนว่า กลุ่มประเทศใกล้เคียง เช่น ในกลุ่มเอเชียใต้และหมู่เกาะในเขตแปซิฟิค จะเป็นแหล่งเป้าหมายต่อไปของการผลิตและการค้าสารเสพติดให้โทษ โดยกลุ่มอาชญากรข้ามชาติ

 

“ในกลุ่มการค้าสารเสพติดข้ามชาติจะใช้ช่องทางในเอเชียใต้เป็นฐานหลัก โดยมีการค้าสารเสพติดอย่างมากมาย รวมไปถึงสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ” นายดักลาส กล่าว “คนกลุ่มนี้ยังใช้เขตประเทศเอเชียแปซิฟิคเป็นจุดผ่านทางขนย้ายยาไอซ์ และสารตั้งต้นให้โทษ เพื่อจะผ่านไปในประเทศอื่นๆ จากเอเชีย”

 

สามารถรับชมรายงานทางอินเทอร์เนตได้ที่

http://www.unodc.org/documents/southeastasiaandpacific//Publications/2013/ats-2013/2013_Regional_ATS_Report_em_low.pdf

 

ประวัติ – The Global SMART Programme

รายงานโดย คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ “รูปแบบและแนวโน้มการเสพยาบ้าชนิดสารกระตุ้น และสารเสพติดอื่นๆ – คือสิ่งที่กำลังท้าทายสำหรับเอเชียและแปซิฟิคในปี 2556” เขียนโดย หน่วยควบคุมดูแลสารเสพติดทั่วโลก โดยคณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ ทั้งด้านการวิเคราะห์ รายงาน และความนิยมในการใช้สารเสพติด

 

คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ เริ่มต้นหน่วยควบคุมดูแลสารเสพติดให้โทษ ด้านการวิเคราะห์ รายงาน และแนวโน้มการใช้สารเสพติด ในเดือนกันยายน ปี 2551จุดมุ่งหมายของการควบคุมดูแลนี้คือการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มสมาชิก และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ในการสร้าง การจัดการ การวิเคราะห์ และรายงานในเรื่องของการใช้สารเสพติดให้โทษ เพื่อจะสร้างนโยบาย และวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ อ้างอิงถึงหลักวิทยาศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ได้รับมาทั้งหมด