นที่ 26 กันยายน 2556 กรุงเทพฯ – ศาสตราจารย์ริชาร์ด เวลฟอร์ด ประธาน CSR Asia ได้กล่าวย้ำเรียกความเชื่อมั่นในการประชุมว่า “เราจำเป็นต้องมีมาตราการอันเร่งด่วนเพื่อหาวิธีแก้ปัญหา รูปแบบใหม่ ที่สร้างสรรค์ และสามารถทำได้จริง เพื่อรับมือกับปัญหาทางด้านความเสมอภาค และการพัฒนาในเอเชีย” ศาสตราจารย์ริชาร์ด เวลฟอร์ด ได้กล่าวเสริมว่า “ถึงแม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าภาคธุรกิจสามารถแสวงหาผลกำไร และ ตอบสนองความต้องการของสังคมไปในขณะเดียวกัน แต่ยังต้องมีการดำเนินการอื่นๆ อีก เพื่อสร้างค่านิยมร่วมกัน และเพื่อบรรลุซึ่งการพัฒนาโดยรวม”
ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องกันว่า สิ่งเหล่านี้ไม่อาจสำเร็จได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทั้ง 3 ฝ่ายที่สำคัญ คือ ภาคธุรกิจ สังคมและภาครัฐ เพื่อให้บรรลุความคืบหน้า
การดำเนินการต้องไปพร้อมกับความโปร่งใสและความเปิดเผย สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มในระดับภูมิภาคในการยอมรับถึงการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศว่า ในไม่ช้านี้จะมีการจัดพิมพ์แนวทางสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนถึงแนวทางในการเปิดเผยข้อมมูล ศาสตราจารย์ริชาร์ด เวลฟอร์ด กล่าวสรุปงานว่า “ในโลกที่มีความโปร่งใสเป็นรากฐาน ถ้าคุณไม่ได้เปิดเผยข้อมูลผลกระทบต่างๆของบริษัท ผู้คนจะคิดว่าคุณปิดบังบางสิ่งอยู่” ทั้งนี้มีการเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ที่ไม่ปฎิบัติให้สอดคล้องตามความคาดหวังของนานาชาติ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
การประชุมสุดยอดในช่วงสองวันนี้ได้เน้นย้ำถึงหลายๆ ตัวอย่าง ของบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงเศรษฐกิจเชิงบวก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านการดำเนินธุรกิจของพวกเขา ซึ่งเปิดเผยผลผ่านรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปี สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ แบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขาใน การเข้าถึงบริการด้านการเงิน และการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และ บริษัท โคคา-โคล่า ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้สตรีห้าล้านคนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทภายในปี พ.ศ. 2563 บริษัทนิวบริเตนปาล์มออย ใช้หลักการที่ได้รับความยินยอมเห็นชอบมาก่อน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อใช้จัดการกับผลกระทบต่อชุมชนอันเนื่องมาจากการดำเนินธุรกิจ ในปาปัวนิวกินี บริษัท ลีวาย สเตราส์ มีการลงทุนเพื่อคุณภาพชีวิตของคนงานในห่วงโซ่อุปทานของตนนอกเหนือไปจากพื้นที่ของโรงงาน
แนวคิดที่สำคัญคือ กลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบจะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยความเป็นผู้นำแบบทำให้เป็นแบบอย่าง การรับภาวะความเสี่ยง การสร้างพันธมิตรและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มที่ในการจัดการ ผู้เข้าร่วมประชุมเรียกร้องให้มีการวิจัยมากขึ้นในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อที่จะตรวจสอบผลลัพธ์ได้อย่างอิสระ และช่วยกระตุ้นการสนับสนุนภายในสำหรับโครงการริเริ่มดังกล่าว ถึงแม้ว่าบางองค์กรธุรกิจจะมีการทำงานที่ดีอยู่แล้ว แต่ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องกันว่า การเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการนำไปใช้ต่อการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ โดยบริษัทต่างๆ ในเอเชีย
ผลจากการสำรวจภายในงานได้ระบุว่า สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน และห่วงโซ่อุปทาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจในเอเชีย ประเด็นสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในชุมชน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปรับตัวและการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
ผู้ปฏิบัติงานชั้นนำในด้านของความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งจากภาคธุรกิจ องค์กรต่างๆ เอ็นจีโอและภาคการพัฒนาต่างๆ ประมาณ 450 คน ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด CSR Asia Summit ได้จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2556 โดยมี CSR Asia ผู้นำเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในภูมิภาคเป็นเจ้าภาพ
นอกจากนี้ CSR Asia มีความยินดีที่จะแจ้งว่า PR Newswire Asia เป็นพันธมิตรในการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการของการประชุมสุดยอด พ.ศ. 2556
เกี่ยวกับ CSR Asia
CSR Asia เป็นผู้นำทางด้านการฝึกอบรม การทำวิจัย และการบริการให้คำปรึกษาทางด้านการฝึกปฏิบัติการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย โดยมีสำนักงานประจำอยู่ตามประเทศต่างๆ ได้แก่ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ กรุงเทพฯ โตเกียว และซิดนีย์ รวมทั้งมีพันธมิตรในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และสหราชอาณาจักร CSR Asia สร้างขีดความสามารถและส่งเสริมความตระหนักรู้ทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปทั่วทั้งภูมิภาค
Telephone: +852 3579 8079
Email: enquiry@csr-asia.com