บทความพิเศษเรื่อง : เปลี่ยนกลิ่นกายเป็นกลิ่นอายที่มีเสน่ห์
บทความพิเศษเรื่อง : เปลี่ยนกลิ่นกายเป็นกลิ่นอายที่มีเสน่ห์
โดยนพ.ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์ นายกสมาคมเวชสำอางและศัลยศาสตร์ผิวพรรณ
แพทย์กูรูผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง และภูมิแพ้ผิวหนังมากกว่า 40 ปี
สภาพอากาศในบ้านเราที่ร้อนมาก บวกกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบตลอดเวลา ทำให้ร่างกายต้องผลิตเหงื่อออกมามาก โดยกลไกในร่างกายจะขับเหงื่อซึ่งเป็นของเหลวส่วนเกินออกมาทางต่อมเหงื่อ เพื่อระบายความร้อนและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ปกติเหงื่อจะไม่มีกลิ่น แต่ถ้าเป็นเหงื่อที่ขับออกมาเริ่มมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หรือที่เรียกว่ากลิ่นตัว นั้นหมายความว่าเหงื่อได้มีการทำปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อกำจัดกลิ่นตัวให้หายไป เพิ่มความมั่นใจให้กลับคืนเช่นเดิม
เหงื่อมีส่วนประกอบจาก คอเลสเตอรอล กลีเซอไรด์ กรดไขมัน และไขมันเป็นส่วนใหญ่ โดยร่างกายของคนเรามีต่อมเหงื่อ 2 ประเภท ได้แก่
ต่อมเหงื่อที่ขับออกตามลำตัวและศีรษะ มักไม่ก่อให้เกิดปัญหากลิ่นตัว เนื่องจากต่อมเหงื่อเปิดระบายเหงื่อได้สะดวก
ต่อมเหงื่อที่ขับเหงื่อออกตามรักแร้ ข้อพับ และขาหนีบ ลักษณะเป็นน้ำข้นเหนียวอาจใสหรือขุ่นเป็นน้ำนมตามสีผิวเพศ และการรับประทานอาหาร ซึ่งจะมีกลิ่นเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียน้ำมันจากต่อมไขมัน ที่มีสารชนิดเดียวกันผสมอยู่
สาเหตุของการเกิดกลิ่นตัว
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่บนผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ และตามข้อพับต่างๆ แบคทีเรียสลายไขมันโดยทำปฏิกิริยากับกลีเซอไรด์ จากต่อมไขมัน ซึ่งต่อมเหงื่อที่ข้อพับและขาหนีบ จะกลายเป็นสารมีกลิ่น และสามารถเพิ่มอัตราการเกิดกลิ่นกายในเพศชายและเพศหญิงไม่เท่ากัน
2.การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย ที่ไม่เพียงพอมีผลในการเพิ่มปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
อาหาร หรือ พืชผักสมุนไพร เช่นเนื้อแดง กระเทียม และเครื่องเทศต่างๆ
เพศ พันธุกรรม เชื้อชาติ และวัฒนธรรม ( เช่นกลุ่มอินเดีย อาหรับ นิโกร ) ซึ่งอาจมีผลต่อลักษณะการดำเนินชีวิต กิจกรรมประจำวัน การรับประทานอาหาร สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ รวมถึงชนิดของเชื้อแบคทีเรียในท้องถิ่น
การดูแลป้องกันในเบื้องต้น
สวมเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติเพราะสามารถระบายอากาศและดูดซับเหงื่อได้ดีกว่า ลดการอับชื้นอันเป็นสาเหตุของการสะสมแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว
รักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ อาจใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของสารที่ชื่อว่าไตรโคลซาน (Triclosan) หรือไตรโคลคาร์แบน (Triclocarban) ซึ่งช่วยลดกลิ่นตัวหรือใช้สบู่ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อลดปริมาณแบคทีเรียบนผิวหนัง
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร เช่น เนื้อแดง กระเทียม ในกรณีที่มีสาเหตุมาจากอาหาร
4. เข้าปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษา
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใส่เสื้อผ้า การดูแลรักษาความสะอาด รวมถึงการรับประทานอาหารถือเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ เพราะกลิ่นกายหรือกลิ่นตัวส่งผลต่อบุคลิกภาพ เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้คนมากมาย การใช้น้ำหอมอาจสามารถกลบกลิ่นตัวได้เพียงชั่วคราว แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขอย่างถูกวิธี ปัญหากลิ่นตัวจะไม่เกิดขึ้นให้เป็นที่น่ารำคาญใจอีกต่อไป แถมยังเปลี่ยนกลิ่นกายให้เป็นกลิ่นอายที่รื่นรมย์สร้างเสน่ห์ให้เราได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สอบถามได้ที่โทรศัพท์ 02-4223993 , 095-5415186
หรือเข้าไปดูได้ใน FB: www.facebook.com/thada.skinexpert
สอบถามข้อมูลข่าวสารและบทความได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889