นักวิจัยชาวไทยและต่างประเทศ ร่วมงานสัมมนาวิจัยพุทธศาสนา นานาชาติ ครั้งที่ 7 ที่จังหวัดน่าน

0
556
image_pdfimage_printPrint

ibrs2016_th_1

จังหวัดน่าน โดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดสัมมนาวิจัยพุทธศาสนา นานาชาติ ครั้งที่ 7 เพื่อเผยแผ่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่สังคม และเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศได้ร่วมเสนอผลงานวิจัยบทความ

ที่ห้องประชุมวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พระราชวรมุนี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ 7 และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พุทธศาสนากับภูมิศาสตร์วัฒนธรรม” (Cultural Geography on Buddhism) เพื่อเผยแผ่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่สังคม และเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศได้ร่วมเสนอผลงานวิจัยบทความ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการและงานวิจัยทางพระพุทธศาสนาระหว่างกัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในชีวิตประจำวันของชาวพุทธได้จริง ซึ่งสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ได้สนองพันธกิจตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย โดยการตั้งกองทุนอุดหนุนการวิจัยหาทุนมาจัดสรรสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ทำการวิจัยด้านพระพุทธศาสนา และการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคมทั้งภายในและภายนอกได้รับรู้ และเลือกใช้ประโยชน์โดยการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม การสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ 7 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ 2559 ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปญโญ และหน่วยงานราชการจังหวัดน่านทุกภาคส่วน มีนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมสัมมนาฯ รวมจำนวน 300 รูป/คน ประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษา องค์กรอื่นๆ นักวิชาการ พระสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย คณะกรรมการจัดงาน นิสติ นักศึกษา และนักวิจัยจากต่างประเทศ จำนวน 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย อังกฤษ เยอรมัน และประเทศฮ่องกง