นักภูมิสถาปัตย์ประเทศไทยคว้า 21 รางวัล ในงานมอบรางวัลภูมิสถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 10

0
402
image_pdfimage_printPrint

นายเดเมียน ถัง นายกสมาพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ ภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค (IFLA APR) เปิดเผยว่า “รางวัล IFLA Asia-Pac LA Awards เป็นรางวัลที่ทางคณะกรรมการจะมอบให้สำหรับผู้สร้างแรงบันดาลใจ เพื่องานภูมิสถาปัตยกรรมแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างความตระหนักและการยอมรับในงานภูมิสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่องร่วมกันกับพันธมิตรที่มีแนวคิดในทางเดียวกันและวิชาชีพอื่นๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเมืองและสิ่งแวดล้อมของเรา เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น

ในปีนี้มีผลงานส่งเข้ามาประกวด ทั้งสิ้น 104 โครงการ จากองค์กรหรือบริษัทภูมิสถาปัตย์กว่า 50 แห่งจาก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ 1. ผลงานในหมวดงานวิเคราะห์และวางผังแม่บท 2. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมชุมชน 3. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมือง 4. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐาน 5. ผลงานในหมวดงานออกแบบไฟส่องสว่างในงานภูมิสถาปัตยกรรม 6. ผลงานในหมวดงานภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะและพื้นที่ว่าง 8. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย 9. ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสีเขียวบนตึกระฟ้า

โดยรางวัลที่มอบ ทั้งหมดมี 84 รางวัล ได้แก่ รางวัล Outstanding Award หรือ ภูมิสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น 20 รางวัล รางวัล Award of Excellence หรือ ภูมิสถาปัตยกรรมดีเด่น 28 รางวัล และรางวัล Honourable Mention หรือรางวัลสถาปัตยกรรมที่ถูกกล่าวถึง 36 รางวัล ซึ่งปีนี้มีผลงานด้านภูมิสถาปัตย์จากประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลไปถึง 21 รางวัล ใน 6 ประเภท ได้แก่ ผลงานในหมวดงานวิเคราะห์และวางผังแม่บท, ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมชุมชน, ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมือง, ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐาน และ ผลงานในหมวดงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย

“จากการที่ผลงานด้านภูมิสถาปัตย์จากประเทศไทยคว้ารางวัลได้สูงสุดในปีนี้ ทำให้เราได้มองเห็นว่าประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่ยังมีนักภูมิสถาปนิกที่ยังมองเห็นความสำคัญในการออกแบบงานด้านภูมิสถาปัตย์ ที่ช่วยกันพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความมุ่งมั่นร่วมกันขยายบทบาทในการกำหนดอนาคตของเมืองและภูมิทัศน์ในชนบทที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น มุ่งเน้นให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์ได้อย่างสมดุลย์ แม้จะต้องเผชิญกับภาวะความกดดันทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการออกแบบและการจัดการสภาพแวดล้อมของเมือง” นายเดเมียน ถัง กล่าวทิ้งท้าย