นครกว่างโจวจัดงาน “Guangzhou Night” สร้างสีสันงานประชุม “ซัมเมอร์ ดาวอส” พร้อมประกาศศักดาความเป็นผู้นำระบบนิเวศนวัตกรรมเมือง

0
323
image_pdfimage_printPrint

ในช่วงค่ำของวันที่ 19 กันยายน นครกว่างโจวได้จัดงาน “Guangzhou Night” เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมหนิงหนาน (Lingnan) แห่งตอนใต้ของจีน ให้ผู้เข้าร่วมประชุม World Economic Forum’s Annual Meeting of the New Champions 2018 (Summer Davos) ซึ่งจัดที่นครเทียนจิน ทางเหนือของจีน ได้สัมผัส

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันแล้วที่รัฐบาลกว่างโจวได้มาร่วมปรากฏตัวในงานซัมเมอร์ ดาวอส ซึ่งปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “Shaping Innovative Societies in the Fourth Industrial Revolution” สำหรับในส่วนของกิจกรรม Guangzhou Night นั้น จัดขึ้นภายใต้ธีม “Dynamic Guangzhou for the World” ซึ่งนครกว่างโจวได้แสดงให้เห็นถึงความคึกคักและความมีชีวิตชีวาของเมือง ตลอดจนนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้แขกผู้มีเกียรติราว 400 คนได้รับชม

ค่ำคืนดังกล่าวเปิดฉากขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ โดยนครกว่างโจว ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงแห่งการพาณิชย์ทางภาคใต้ของจีน (South China Commercial Capital) ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของเมืองในรูปแบบของแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งรวมถึงการฉายภาพวาดที่มีชื่อเสียงของจีนอย่าง “Along the River During the Qingming Festival” ทุกองค์ประกอบของวัฒนธรรมหลานหนิงแห่งนครกว่างโจวที่นำเสนอผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นได้ดึงดูดสายตาและสร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างมาก

“กว่างโจวถือเป็นหนึ่งในเมืองหลักในการส่งเสริมนโยบาย Belt and Road Initiative และการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area) นอกจากวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานแล้ว กว่างโจวยังเป็นเมืองที่ทันสมัยด้วยระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการไหลบ่าเข้ามาของทรัพยากรด้านนวัตกรรม เราหวังว่ากว่างโจวจะได้แบ่งปันโอกาสการเติบโตในยุคใหม่ร่วมกับทุกท่าน” Wen Guohui นายกเทศมนตรีนครกว่างโจว กล่าวสุนทรพจน์ที่งานนี้

ระบบนิเวศนวัตกรรมระดับภูมิภาคกำลังเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นในประเทศจีน ซึ่งในส่วนของนวัตกรรมเมืองนั้น ผู้นำอย่าง กว่างโจว เซินเจิ้น หางโจว ฯลฯ จะช่วยกันทำให้จีนผงาดขึ้นเป็นประเทศเศรษฐกิจนวัตกรรม นอกจากนี้ ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม นครกว่างโจวยังได้มีส่วนส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความเท่าเทียม โดยกว่างโจวได้เติบโตขึ้นจากเมืองธุรกิจเมื่อพันปีก่อน สู่การเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติ แม้กระทั่งทุกวันนี้ นวัตกรรมก็ยังคงเป็นแรงผลักดันเมืองศูนย์กลางแห่งนี้ให้เชื่อมโยงกับเมืองอื่น ๆ ทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ

บริษัทซัพพลายเชนอัจฉริยะ Cedar Holdings คือบริษัทเอกชนจากกว่างโจวที่สามารถก้าวขึ้นมาติดทำเนียบ Fortune Global 500 ได้ ด้วยการเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดำเนินกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศตามนโยบายบุกโลก (Go Global) ของรัฐบาลจีน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า บริษัทเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า กว่างโจวประสบความสำเร็จในการดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยุคใหม่ และยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมตลอดระยะเวลา 40 ปีที่จีนได้ปฏิรูปและเปิดประเทศ

“ในฐานะแหล่งกำเนิดของบริษัทมากมายหลายแห่ง อาจกล่าวได้ว่า กว่างโจวมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุด” Zhang Jin ประธานและผู้ก่อตั้ง Cedar กล่าว

ในปี 2560 นครกว่างโจวได้เผยโฉมยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ และยาชีวภาพ หรือ IAB (information technology, artificial intelligence and biomedicine) ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ฐานอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง และจุดแข็งด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี นครกว่างโจวได้เห็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลุ่มบริษัทด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกว่างโจว

JingChi สตาร์ทอัพจีนซึ่งก่อตั้งขึ้นในซิลิคอนแวลลีย์ของสหรัฐ ก่อนจะย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่เมืองกว่างโจวเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา และในเดือนพ.ค.ปีนี้ บริษัทยานพาหนะอัจฉริยะรายนี้ก็ได้ทำการปรับเปลี่ยนรถยนต์รุ่น GE3 EV ของ GAC (Guangzhou Automobile Group Co., Ltd.) มาเป็นรถยนต์ไร้คนขับและนำออกมาวิ่งบนท้องถนน จาง หลี่ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการของ JingChi กล่าวว่า “กว่างโจวเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตรถยนต์ไร้คนขับ 2 ใน 3 แห่งของจีน เรากำลังทำให้ที่มีความก้าวหน้าและจะพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับของจีนให้ก้าวไกลมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีเดินทางของผู้คน”

การเปิดกว้างและความหลากหลายนับเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมที่กว่างโจวได้สร้างไว้ ส่งผลให้กว่างโจวได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีบริษัทนวัตกรรมชั้นนำ 50 แห่งของจีนตั้งอยู่มากที่สุดเป็นอันดับที่สามเป็นเวลาสามปีติดต่อกันมาแล้ว และในขณะนี้กว่างโจวก็มีโครงการบ่มเพาะธุรกิจตั้งอยู่ในเมืองถึง 286 โครงการ และพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมอีก 181 แห่ง กินพื้นที่มากกว่า 10 ล้านตารางเมตร

Pony.ai อีกหนึ่งสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมที่ตั้งอยู่ในเขต Nansha New Area ของกว่างโจวก็ประสบความสำเร็จในการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับบนถนนของรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐ โดยเซี่ย เสี่ยวหุย เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจ Guangzhou Nansha Development Zone กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะองค์กรนวัตกรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งในโครงการน้ำแข็งติดไฟ อาทิ AI Robotics ยังมาตั้งรกรากภายในเมืองอีกด้วย”

เจี่ย เพิงเฉิง ประธานบริษัท Guangzhou Starway Communication กล่าวว่า “นโยบายสนับสนุนผู้นำด้านอุตสากรรมที่กว่างโจได้ดำเนินการอยู่ทำให้เราได้รับการสนับสนุนทางการเงินจำนวนมากในช่วงของการเริ่มต้นธุรกิจ”

บริการต่าง ๆ ทั้งการเช็คอินในสถานีรถไฟใต้ดินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ระบบจดจำใบหน้าที่ด่านตรวจความปลอดภัยในสนามบิน การนัดพบแพทย์ทางโปรแกรมวีแชท และบริการอื่น ๆ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในเมืองกว่างโจว ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับการปฏิวัติเทคโนโลยีรอบใหม่ กว่างโจวก็กำลังมุ่งมั่นไขว่คว้าสิ่งใหม่ ๆ ด้วยการสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งเสริมสภาพภูมิอากาศที่เน้นเทคโนโลยีเป็นหลัก

นวัตกรรมได้เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้รับการเปิดเผยมาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของกว่างโจวแตะที่ 1.0653 ล้านล้านหยวน (1.555 แสนล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

กว่างโจวในวันนี้ได้กลายมาเป็นสถานที่นัดพบของเหล่าบรรดาผู้มีพรสวรรค์ในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เนื่องจากมีมหกรรมสุดยิ่งใหญ่อย่าง Fortune’s Brainstorm Tech, China Innovation Conference และ China Innovation and Entrepreneurship Fair ถูกจัดขึ้นที่นี่เป็นประจำทุกปี อีกทั้งเมืองนี้ยังมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการดึงดูดแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ การเริ่มต้นธุรกิจ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

ในรายงาน Chinese City Business Environment ประจำปี 2560 ที่จัดทำโดยสถาบัน Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area Institute ได้จัดอันดับให้กว่างโจวอยู่ในอันดับที่หนึ่งในแง่ของเมืองที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจมากที่สุด นอกจากนี้กว่างโจวยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในการจัดทำรายงานด้านเมืองที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจทั่วโลกประจำปี 2560

นอกจากนี้ ระบบทางนวัตกรรมชั้นนำของกว่างโจวยังทำให้เมืองแห่งนี้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ดังจะให้เห็นได้จากในรายงาน Global Urban Competitiveness Report ประจำปี 2560-2561 ซึ่งจัดให้กว่างโจวอยู่ในอันดับที่ 15 ของดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจทั่วโลก

“กว่างโจวกำลังทำหน้าที่ใหม่ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และได้กลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของเศรษฐกิจทั่วโลก บริษัทระดับโลกจำนวนมากต่างก็สนใจเข้ามาทำงานกับเมืองนี้เพื่อร่วมกันสร้างเขตพัฒนาพื้นที่อ่าว” Klaus Schwab ประธานบริหารของ World Economic Forum กล่าว

ที่มา: The People’s Government of Guangzhou Municipality

AsiaNet 75323