1

ทีมเยาวชนไทยคว้าแชมป์อีกครั้ง! ในรายการเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย รถยนต์ของนักเรียนนักศึกษาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความท้าทายในการแข่งขันในสนามแข่งบนถนนจริง

ประเทศไทยครองชัยชนะในการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2014 ถึง 3 ประเภทเชื้อเพลิง ทีมฮาวมัช เอทานอล (How Much Ethanol) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา กรุงเทพฯประสบความสำเร็จในระยะทางที่ 2,730 กิโลเมตรด้วยเชื้อเพลิงเอทานอลเพียงหนึ่งลิตร ถือเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันของปีนี้และเทียบเท่ากับระยะทางจากกรุงมะนิลาไปยังกรุงจากาต้า โดยมีทีมเพื่อนๆจากประเทศไทย นำโดยวิทยาลัยเทคนิคสกลนครร่วมเป็นผู้ชนะในประเภทเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน และวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ในประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2553 ทีมนักเรียนนักศึกษาของไทยถือเป็นผู้นำในการแข่งขันสุดยอดรถประหยัดพลังงาน ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะของพวกเขา

Panjavidhya Technological College

“สูตรลับของเราในชัยชนะครั้งนี้ 97 เปอร์เซนต์เน้นไปที่ความมุ่งมั่นในการออกแบบตัวรถ ส่วนอีก 3 เปอร์เซ็นต์คือเรื่องเครื่องยนต์ รถของพวกเราออกแบบโดยยึดที่ผู้ขับขี่ที่เรากำหนดไว้แล้วเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเรายังได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะสูงสุดในการขับขี่อีกด้วย” จุมพล สิทธิรส ผู้จัดการทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา “เราได้ฝึกซ้อมในสนามที่ประเทศไทยซึ่งมีสภาพถนนคล้ายคลึงกับลูเนต้าพาร์ค”

 

 

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า “ผมรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจมากอีกครั้งที่ทีมไทยสามารถชนะการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนที่นี้ นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และทักษะของทีมทำให้ทีมมาเป็นที่ 1 ซึ่งต่อเนื่องกันเป็นปีที่สี่แล้ว ความสามารถของนักเรียนนักศึกษาจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรรุ่นต่อไปในการตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานในอนาคตอย่างแน่นอน”

 

ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระยะทางได้ไกลขึ้นใน 5 ประเภทเชื้อเพลิง

 

นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันในเชลล์  อีโค-มาราธอน เอเชีย 2557  พิชิตสนามการแข่งใหม่ซึ่งเป็นสนามแข่งในเมือง ทำลายสถิติ 5 ประเภท จาก 12 ประเภทเชื้อเพลิง โดย Tongji University จากประเทศจีนทำสถิติใหม่ในประเภทยานยนต์ต้นแบบ- น้ำมันดีเซลด้วยสถิติ 616.2 กิโลเมตร/ลิตร วิทยาลัยเทคนิคสกลนครทำสถิติใหม่ ประเภทยานยนต์ต้นแบบ- น้ำมันเบนซินด้วยสถิติ 1,796 กิโลเมตร/ลิตร มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ทำสถิติใหม่ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง-น้ำมันเบนซินด้วยสถิติ 301.7 กิโลเมตร/ลิตร สถาบันการศึกษาเทคโนโลยีสิงค์โปร์ ทำสถิติใหม่ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง-แบตเตอรี่ไฟฟ้าด้วยสถิติ 126.3 กม./กิโลวัตต์-ชม.และ PoliteknikNegeri Pontianak จากประเทศอินโดนีเซียทำสถิติใหม่ใน ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง-น้ำมันดีเซลด้วยสถิติ  70.3 กิโลเมตร/ลิตร

 

เป็นครั้งแรกของการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ซึ่งจัด ณ สนามแข่งลูเนต้าพาร์ค บนถนนใจกลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยในปีนี้ได้ย้ายมาจากเซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิตที่ประเทศมาเลเซีย สถานที่จัดการแข่งขันแห่งใหม่นี้เป็นการออกแบบเพื่อทดสอบการประหยัดน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพการจราจรในเมืองหลวงอย่างแท้จริง

 

มร. นอแมน คอช ผู้อำนวยการด้านเทคนิค เชลล์ อีโค-มาราธอน กล่าวว่า “สนามแข่งบนถนนจริงเพิ่มความยากลำบากให้กับรถยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้รถใช้พลังงานมากขึ้นในขณะขับขี่ แต่ในความเป็นจริงทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันก็ยังคงมีการปรับปรุงรถยนต์เพื่อการทำคะแนนให้ดีขึ้นของพวกเขา และมีการสร้างสถิติใหม่ได้อย่างน่าประทับใจ” ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในปีนี้สามารถเอาชนะทีมของนักเรียนนักศึกษาจำนวน 105 ทีม จาก 15 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย และตะวันออกกลาง ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีการส่งข้อมูลของรถยนต์ทั้งรถยนต์ใช้งานได้จริง หรือ ประเภทรถต้นแบบ ของ 7 ประเภทพลังงานเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์วัดจากผู้ที่สามารถขับรถยนต์ไปได้ไกลที่สุดโดยใช้เชื้อเพลิงเทียบเท่ากับ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงหรือเพียง 1 ลิตร

 

 

ณ การปิดการแข่งขัน มร. เอ็ดการ์ ชัว ประธานกรรมการบริษัทเชลล์ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “ในประเทศฟิลิปปินส์มีคำกล่าวที่ว่า ‘เยาวชนเป็นความหวังของเราในอนาคต’ เมื่อผมมองไปที่คนหนุ่มสาว นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่และสิ่งที่พวกเขาได้ประสบความสำเร็จที่การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ทำให้ตัวผมเองก็ได้รับแรงบันดาลใจไปด้วย ผมหวังว่าพวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดี ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมใหม่ๆ และรู้จักเพื่อนใหม่ๆ”

 

 

6 ทีมเยาวชนที่ได้รับรางวัลดีเด่นนอกสนาม

 

นอกจาก 12 รางวัลสำหรับการแข่งขันในสนามแล้ว ทีมเยาวชนยังได้เข้าร่วมชิงรางวัลนอกสนามในการทดสอบทักษะด้านเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย รวมไปถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยและยั่งยืน คณะผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาได้ตัดสินนักเรียนนักศึกษาในการแข่งขันแต่ละประเภทที่ครอบคลุมถึงเรื่องความปลอดภัย การสื่อสาร นวัตกรรมด้านเทคนิค การออกแบบยานยนต์ ความพยายามและความมุ่งมั่นในการแข่งขัน และรางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกซ์ด้วย ซึ่งรางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกซ์เป็นรางวัลนอกสนามเพื่อมอบแก่ทีมเยาวชนที่สาธิตหลักการด้านวิศวกรรมหล่อลื่นเพื่อพัฒนาผลการใช้น้ำมันที่มีประสิทธิภาพของยานยนต์

 

เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ยังได้ต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมกว่าหนึ่งพันคนในห้องทดลองด้านพลังงานของเชลล์ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชีย ประสบการณ์อันน่าประทับใจสำหรับประชาชนทุกวัยที่ได้ชมนิทรรศการด้านพลังงาน เทคโนโลยี และการขับเคลื่อนแห่งอนาคต

 

สรุปผลทีมที่ชนะการแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557  

 

ประเภทยานยนต์ต้นแบบ

ไฮโดรเจน

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./กิโลวัตต์ชม.)

1

 UiTM Eco-Sprint

 

มาเลเซีย Universiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam

ไฮโดรเจน

 

77.6 (กม./กิโลวัตต์ชม.)

2

 (UKM 2 Car Fuel Cell)

มาเลเซีย

Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM)

ไฮโดรเจน

 

52.1 (กม./กิโลวัตต์ชม.)

 

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./กิโลวัตต์ชม.)

1

วิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์

ไทย

วิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

263.4  (กม./กิโลวัตต์ชม.)

2

Huaqi EV Team

จีน

Guangzhou College of South China University of Technology

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

247.9 (กม./กิโลวัตต์ชม.)

น้ำมันเบนซิน

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

เวอร์จิ้น

(Virgin)

ไทย

 

วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร

เบนซิน

1,796.0  กม./ลิตร

2

เอทีอี.1

ATE.1

ไทย

 

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ.

เบนซิน

1,078.1 กม./ลิตร

 

น้ำมันดีเซล

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

Zeal Eco-power Diesel

จีน

Tongji University

ดีเซล

616.2 กม./ลิตร

2

NTU Diesel Car Racing Team

สิงคโปร์

Nanyang Technological University

ดีเซล

338.3 กม./ลิตร

 

 

 

 

เบนซินทางเลือก

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

ฮาวมัช เอทานอล

(How Much Ethanol)

ไทย

วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา

เอทานอล

2,730.8 กม./ลิตร

2

ลูกเจ้าแม่คลองประปา

(LukJao Mae KhlongPrapa)

ไทย

 

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เอทานอล

2,211.3 กม./ลิตร

ดีเซลทางเลือก

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

Team Monash 2

มาเลเซีย

Monash University, Malaysia

จีทีแอล

116.6 กม./ลิตร

2

Gernas

กาตาร์

Qatar University

จีทีแอล

75.2 กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง

 

ไฮโดรเจน

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./กิโลวัตต์ชม.)

1

UiTM Eco-Planet

 

มาเลเซีย

 

Universiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam

ไฮโดรเจน

44.5  กม./กิโลวัตต์ชม.

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./กิโลวัตต์ชม.)

1

ITERBO3

สิงคโปร์

Institute of Technical Education (ITE)

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

126.3 กม./กิโลวัตต์ชม.

2

DLSU Eco-Car Team – Electric

ฟิลิปปินส์

De La Salle University

แบตเตอรี่ไฟฟ้า

66.4 กม./กิโลวัตต์ชม.

น้ำมันเบนซิน

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

Sadewa Otto

อินโดนีเซีย

 

Universitas Indonesia

เบนซิน

301.7กม./ลิตร

2

Bengawan Team 2

อินโดนีเซีย

SebelasMaret University

เบนซิน

83.0 กม./ลิตร

น้ำมันดีเซล

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

Mesin Polnep Diesel Team

อินโดนีเซีย

Politeknik Negeri Pontianak

ดีเซล

70.3 กม./ลิตร

2

Horas USU

อินโดนีเซีย

University of Sumatera Utara

 ดีเซล

 

57.8 กม./ลิตร

เบนซินทางเลือก

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

HORAS MESIN

อินโดนีเซีย

University of Sumatera Utara

เอทานอล

101.4

กม./ลิตร

ดีเซลทางเลือก

ลำดับที่

ชื่อทีม

ประเทศ

ชื่อสถาบัน

ประเภทเชื้อเพลิง

สถิติ

(กม./ลิตร)

1

ITS Team 2

อินโดนีเซีย

Institut Teknologi Sepuluh Nopember

FAME

151.4 กม./ลิตร

2

Cikal Diesel

อินโดนีเซีย

 

Institut Teknologi Bandung

FAME

120.0 กม./ลิตร

 

 

ทีมที่ได้รับรางวัลนอกสนาม

ด้านการสื่อสาร

PNEC NUST-PROTOTYPE

National University of Sciences and Technology (NUST), Karachi

ปากีสถาน

PNEC NUST-PROTOTYPE ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากนวัตกรรมของพวกเขาตรงกับการสร้างความตระหนักและสนับสนุนในทีมเพื่อการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ที่สำคัญนอกจากจะเป็นพันธมิตรกับเหล่าสื่อมวลชนดั้งเดิมแล้ว พวกเขาได้ร่วมการประชุมสาธารณะที่เน้นไปที่วิทยาลัยและนักเรียนนักศึกษา ครอบครัวและชุมชนในวงกว้าง พวกเขาได้รับความสนใจจากเซเลบริตี้ของประเทศที่ช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้ชมมากขึ้นโดยการนำเสนอผ่านทางโซเชียลมีเดีย การสื่อสารของพวกเขาได้ผสมผสานหลายช่องทางและรูปแบบซึ่งเห็นผลและทันสมัยเพื่อตอบรับวัตถุประสงค์ของพวกเขา

 

การออกแบบยานยนต์

NTU DIESEL CAR RACING TEAM

Nanyang Technological University

สิงคโปร์

เอกสารด้านเทคนิคของทีมนี้ได้นำเสนอการวิจัยที่สมบูรณ์และเข้าใจง่ายแตกต่างจากของทีมอื่นตรงที่ควรจะจดทะเบียนเป็นงานวิจัยด้านวิศกรรมได้จริง ตลอดการสัมภาษณ์กับกรรมการ พวกเขาสามารถตอบได้ทุกคำถามอย่างพร้อมเพรียงทั้งยังอัพเดทความคืบหน้าของทีมด้วย ในที่สุด ผลการแข่งขันจริงของพวกเขาในสนามก็ตรงตามความต้องการในการออกแบบของพวกเขาซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการออกแบบยานยนต์ของพวกเขานั้นใช้ได้ผล

นวัตกรรมด้านเทคนิค

NANYANG E DRIVE

Nanyang Technological University

สิงคโปร์

ทีม Nanyang E Drive ได้รับรางวัลนี้เนื่องจากการใช้และจัดวางครัทช์แม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อระงับการเสียจังหวะการเดินล้อ เมื่อเกิดการเลื่อนหรือรวมตัวของอุปกรณ์แยกที่จะทำให้เกิดการปั่นป่วนขณะขับขี่ รวมไปถึงการปล่อยไหลที่ลดแรงฉุดกระชาก

 

ความพยายามและความมุ่งมั่น

MIT ECO-WARRIORS

Madras Institute of Technology

อินเดีย

DLSU ECO CAR TEAM – ELECTRIC De La Salle University

ฟิลิปปินส์

ทุกทีมที่ได้รับรางวัลต่างก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามและความมุ่งมั่นในการแข่งขันที่ต่างกันออกไป ทีมเยาวชนเหล่านี้ได้รับรางวัลเนื่องจากพวกเขามีความพยายามและมีน้ำใจ ทั้งยังคงไว้ซึ่งทัศนคติที่ดี ถึงแม้ยานยนต์ของพวกเขาไม่ผ่านการตรวจสอบทางเทคนิคและไม่ได้เข้าแข่งขันในสนาม แต่ทีม MIT Eco-Warriors ก็ยังเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความเพียร ส่วนทีม DLSU Eco Car Team – Electric ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของทีมที่ช่วยให้ก้าวผ่านความผิดหวังครั้งนี้ไปได้

 

ความปลอดภัย

NTU DIESEL CAR RACING TEAM

Nanyang Technological University

สิงคโปร์

ความปลอดภัยนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจหลักในการออกแบบของพวกเขา ด้วยการศึกษาความเสี่ยงและความฉลาดในการเลือกวัสดุ ความตั้งใจเป็นพิเศษในการออกแบบบนคอมพิวเตอร์และการตัดเลเซอร์บนแถบไม้เพื้อให้ดูดซับพลังงานกรณีเกิดผลกระทบ การแยกสิ้นส่วนออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไม่ให้เกิดเศษเสี้ยนที่เป็นอันตราย สิ่งต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าทีมนี้มีปฏิบัติการด้านความปลอดภัยดีเยี่ยมในที่เก็บรถโดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเป็นระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

รางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกซ์

TEAM MONASH 2

Monash University, Malaysia

มาเลเซีย

 

ทีม Monash 2 ได้รับรางวัลนี้จากการดูแลรักษาอะไหล่ยานยนต์ให้สะอาดและหมั่นหยอดน้ำมันเครื่อง พวกเขาดำเนินการทดสอบขั้นพื้นฐานเพื่อจนถึงขั้นตอนสุดท้าย พวกเขายังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อผลกระทบที่มีต่อการใช้พลังงานดีเซลทางเลือกและการหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทีมนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเลือกความหนืดที่เหมาะสม ลดแรงเสียดทานและเพิ่มการประหยัดน้ำมันสูงสุด

 

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนประกอบด้วยหุ้นส่วนองค์กรธุรกิจระดับโลกสี่แห่ง ได้แก่

ฮิวเล็ต แพคการ์ด: หุ้นส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกอย่างเป็นทางการ
มิชลิน: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมและผู้ผลิตยางรถยนต์ระดับโลกอย่างเป็นทางการ
เครือลินเด้: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมระดับโลกอย่างเป็นทางการ
สถาบันวิจัยเซ้าท์เวสต์: หุ้นส่วนสนามฝึกซ้อมระดับโลกอย่างเป็นทางการ

 

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557 จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ กระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงพลังงานและเมืองมะนิลา หุ้นส่วนภาคเอกชนประกอบด้วยยูนิลีเวอร์ประเทศฟิลิปปินส์ โซเลน โคคา-โคล่า โกลบ เลโก้และฮุนได

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนจากทั่วโลกรวมถึงกฎระเบียบอย่างเป็นทางการ ข้อแนะนำสำหรับการลงทะเบียนและรายละเอียดเกี่ยวกับรางวัลในการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนได้ที่เว็บไซต์ www.shell.com/ecomarathon

 

สามารถดาวน์โหลดรูปในงานการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเพิ่มเติมได้ที่

https://drive.google.com/folderview?id=0B4mXQBauHGgGVUhVT1ppZnFfX0E&usp=sharing

 

เกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอน

การแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอนเริ่มขึ้นในปี 2482 ที่ห้องปฏิบัติการด้านการวิจัยในสหรัฐอเมริกาโดยเป็นการแข่งขันเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าใครเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนยานยนต์ของตนได้ไกลสุดด้วยน้ำมันหนึ่งแกลลอน ผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนั้นสามารถขับเคลื่อนไปได้เพียง 50 ไมล์ต่อแกลลอน (21 กิโลเมตร/ลิตร) และนับจากวันนั้นการแข่งขันก็มีวิวัฒนาการขึ้นมาก ในปี 2528 ที่ประเทศฝรั่งเศสการแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอนที่เรารู้จักกันในวันนี้ได้ถือกำเนิดขึ้น ในเดือนเมษายนปี 2550 การแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอน อเมริกา ได้เริ่มมีขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและในปี 2553 การแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอน เอเชียได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย มาเลเซียเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเชลล์ อีโคมาราธอนจนถึงปี 2556 ในปี 2557 การแข่งขันกำลังจะมีขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันจนถึงปี 2559