ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Asia Plantation Capital เดินหน้าวิจัยน้ำมันกฤษณาเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง

0
503
image_pdfimage_printPrint

Asia01

เจนีวา–14 ต.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

นับเป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่ไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาได้กลายเป็นสิ่งล้ำค่าทางวัฒนธรรมและศาสนา และนอกจากจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของผู้คนหลายพันล้านคนแล้ว ปัจจุบัน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มเผยให้เห็นถึงสรรพคุณทางยาของน้ำมันกฤษณา ซึ่งเป็นสารที่ถูกกล่าวถึงในบันทึกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

http://photos.prnasia.com/prnvar/20160927/8521606131-a
Asia Plantation Capital ทุ่มเทให้กับการวิจัยสรรพคุณต่างๆของน้ำมันกฤษณา โดยใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรแล้วและวิธีการเพาะปลูกที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพ

http://photos.prnasia.com/prnvar/20160927/8521606131-b
การกลั่นน้ำมันกฤษณาในโรงกลั่นของ Asia Plantation Capital

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้ขึ้นทะเบียนต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียเป็น “พรรณไม้ใกล้สูญพันธุ์” เนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมายเพื่อเอายางไม้ที่มีมูลค่าสูง

ยางของไม้กฤษณาจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อ “การบาดเจ็บ” โดยยางไม้จะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ส่งผลให้เกิดการตัดต้นกฤษณาอย่างหนักหน่วงจนเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ก่อนที่ Asia Plantation Capital บริษัทเจ้าของพื้นที่ปลูกต้นกฤษณาอย่างยั่งยืน จะเข้ามาแทรกแซงในเรื่องนี้

การใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรแล้วและวิธีการเพาะปลูกที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพ ได้ช่วยให้ต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียกลับมาเจริญงอกงามอีกครั้ง นอกจากนี้ บริษัทยังคำนึงถึงหลักความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการนำส่วนต่างๆของต้นกฤษณา (ยางไม้ ไม้บริเวณลำต้น หรือแม้กระทั่งใบ) ไปใช้ผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มหลากหลายประเภท

Asia Plantation Capital ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยบรรดานักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลชั้นแนวหน้าในแวดวงไม้กฤษณาและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือ ศ.ดร.ยูมิ ซูฮานิส ฮัส-ยัน ฮาชิม จากสาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัย International Islamic University ประเทศมาเลเซีย

ดร.ยูมิ มีความชำนาญในด้าน “การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บผ่านการพัฒนา การใช้ และ/หรือการบริโภคผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ” โดยเธอมาพร้อมกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน เพื่อเติมเต็มโมเดลธุรกิจแบบบูรณาแนวดิ่งของ Asia Plantation Capital

ปัจจุบัน นอกจากน้ำมันกฤษณาจะเป็นที่ต้องการอย่างสูงในอุตสาหกรรมน้ำหอมแล้ว เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังได้มีการประเมินสรรพคุณทางยาของน้ำมันกฤษณาด้วย และผลลัพธ์เบื้องต้นนับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง

ตลอดห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ นอกจากจะเป็นที่ปรารถนาเพราะกลิ่นหอมอันล้ำลึกแล้ว ไม้กฤษณายังถูกนำไปใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ อาการป่วยจากการอักเสบ และโรคกระเพาะ นอกจากนั้นยังเป็นสารระงับประสาท และแม้กระทั่งสารกระตุ้นที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรง ทั้งยังมีหลักฐานบ่งชี้ว่า แม้แต่สารสกัดดิบและสารที่สกัดออกมาบางชนิด ยังมีสรรพคุณในการต่อต้านโรคภูมิแพ้ ป้องกันภาวะขาดเลือด (ป้องกันโรคหัวใจ) ป้องกันโรคเบาหวาน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านจุลชีพ (1) นอกจากนี้ ไม้กฤษณายังประกอบด้วยฟลาโวนอยส์บางชนิดซึ่งมีคุณสมบัติในการชะลอวัย ขณะที่น้ำชาจากไม้กฤษณายังช่วยย่อยอาหารและช่วยให้ความดันโลหิตคงที่ด้วย

หลังจากที่พบสรรพคุณทางยาอันยอดเยี่ยม รวมถึงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอันหลากหลาย ขณะนี้จึงได้มีการวิจัยไม้กฤษณาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง(2)

ไม้กฤษณาถูกนำไปใช้ในวงการแพทย์แผนโบราณมาเนิ่นนาน แม้ว่าแทบจะไม่มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือหลักฐานรองรับ อย่างไรก็ดี คุณสมบัติที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในการรักษาการติดเชื้อจุลชีพ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคท้องร่วง อาการไอ โรคเรื้อน และโรคบิด ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหันมาศึกษาสรรพคุณในการต่อต้านอนุมูลอิสระของไม้กฤษณา เพื่อประเมินศักยภาพในการต้านฤทธิ์ “ออกซิเดทิฟสเตรส” (oxidative stress) ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคมะเร็ง

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่สารซึ่งมีความเก่าแก่กว่าประวัติศาสตร์เช่นนี้ ได้รับการยกย่องเชิดชูมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ในแง่ของสรรพคุณในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยที่ดี และจากนี้ไป วิทยาการสมัยใหม่และสติปัญญาของนักวิจัย อาจช่วยให้ไม้กฤษณาขึ้นแท่นเป็น “การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่” ในการรักษาโรคมะเร็งรวมถึงโรคอื่นๆ

การค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การปลูกและผลิตไม้กฤษณารวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีเพียงการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณเท่านั้น ที่จะเปิดโอกาสให้สารล้ำค่าชนิดนี้อยู่รอดไปถึงรุ่นต่อๆไป เพื่อสานต่อการค้นหาวิธีรักษาโรคทั้งหลายที่อันตรายต่อชีวิต

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ชาร์ลอตต์ เมดิก
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและธุรการ
อีเมล: charlotte.medigue@apcgroup.ch
มือถือ: +41-227-077-330

เกี่ยวกับ APC Group

Plantation Capital ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2545 ก่อนจะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2551 ในสหราชอาณาจักร จากนั้นบริษัท Asia Plantation Capital จึงถือกำเนิดขึ้นที่ศรีลังกาในปี 2552 ตามมาด้วยไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ล่าสุดในปี 2558 ได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่เพิ่มอีกสองแห่ง ได้แก่ Africa Plantation Capital ในเคนยา และ America Plantation Capital ในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

Asia Plantation Capital Group เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกและโครงการด้านการเกษตรใน 4 ทวีป ซึ่งรวมถึงโครงการในระยะต่างๆทั่วโลก ส่งผลให้บริษัทเป็นผู้เพาะปลูก ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น น้ำมันกฤษณา ไม้กฤษณา และไม้ไผ่ รายใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลกที่มีการทำธุรกิจแบบบูรณาการแนวดิ่ง

อ้างอิง

1) Journal of Ethnopharmacology, Volume 189, 2 August 2016, pages 331-360.

‘Aquilaria (agarwood) as source of health beneficial compounds: A review of traditional use, phytochemistry and pharmacology.’

Authors: Dr Yumi Zuhanis Has-Yun Hashim, Phirdaous Abbas, Hamzah Mohd Salleh – Department of Biotechnology Engineering, Faculty of Engineering, International Islamic University Malaysia, Phillip G Kerr School of Biomedical Sciences, Charles Sturt University.

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0378874116304159

2) Alexandria Journal of Medicine, Volume 52, Issue 2, June 2016, pages 141-150.

‘In vitro antimestatic activity of Agarwood (Aquilaria crassna) essential oils against pancreatic cancer cells.’

Authors: Saad Sabbar Dahham, Yasser M Tabana, Loiy E Ahmed Hassan, Mohamed B Khadeer Ahamed, Amin Malik Shah Abdul Hamid – EMAN Research and Testing Laboratory, School of Pharmaceutical Sciences, Universiti Sains Malaysia, Penang, and Aman Shah Abdul Majid – Advanced Medical and Dental Institute (IPPT), Universiti Sains Malaysia, Penang.

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2090506815000500

รูปภาพ – http://photos.prnasia.com/prnh/20160927/8521606131-a
รูปภาพ – http://photos.prnasia.com/prnh/20160927/8521606131-b