1

ทอมสัน รอยเตอร์ส มอบรางวัลเอฟเอ็กซ์เทรดดิ้งอวอร์ด ครั้งที่ 5 โดยมีรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมงาน ณ กรุงเทพมหานคร

ลอนดอน, กรุงเทพ– 19 กุมภาพันธ์ 2557– ทอมสัน รอยเตอร์ส ผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลการเงินและตลาดทุนได้จัดงานทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ คอมมิวนิตี้ ฟอรั่มประจำปี ขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้และประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ เทรดดิ้ง อวอร์ด ประจำปีครั้งที่ 5

Thomson Reuters 5th FX Trading Awards_1

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความท้าทายปัจจัยทั้งภายในและภายนอกของสภาพเศรษฐกิจและตลาดการเงินของไทยในปีนี้ นางผ่องเพ็ญได้กล่าวด้วยว่าเงินทุนต่างประเทศปรากฎให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจุดมุ่งหมายของการลงทุนของชาวต่างชาติซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีนโยบายรองรับที่เหมาะสมในการจัดการกับความผันผวนในระยะสั้นนี้

 

“ในปี 2557 จะเห็นการพัฒนาใหม่ๆในตลาด การประเมินมูลค่าการทำธุรกรรมที่ใช้ในการคำนวณมาตรฐานสำหรับเงินบาทบอกเป็นนัยได้ว่าอัตราดอกเบี้ย ไทย-บาท-ฟิกซ์ (THBFIX) จะถูกนำมาใช้ในรูปแบบการสำรวจในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปฏิรูปอัตราอ้างอิงของตลาดและสอดคล้องกับวิธีการที่นำมาใช้ในหลายๆประเทศ” นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าว

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการหารือเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในปี 2557 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินในประเทศไทย อาทิเช่น ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย   นายแอนดริว สตอทซ์ ประธานสถาบันซีเอฟเอ ประเทศไทย   นายกิล ซิลวา ผู้อำนวยการบริหาร กลุ่มธุรกิจบริหารเงินและตลาดทุน ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย และ ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้

 

ทอมสัน รอยเตอร์ส ได้ดำเนินงานในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และทำงานใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการเงินและธนาคารในประเทศมาโดยตลอด ในปี 2549 ทอมสัน รอยเตอร์ส เป็นองค์กรแรกที่สร้างระบบอิเล็คโทรนิคแมชชิ่ง สำหรับการซื้อขายเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

“ทอมสัน รอยเตอร์ส มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดปริวรรตเงินตราในประเทศไทย แม้อนาคตจะเต็มไปด้วยความท้าทายแต่เราก็ยังมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความหลากหลาย  การที่ทอมสัน รอยเตอร์สได้เข้าซื้อบริษัท เอฟเอ็กซ์ออล หนึ่งในบริษัทชั้นนำในการให้บริการซื้อขายเงินตราด้วยระบบ

 

 

อิเล็กทรอนิก  เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของทอมสันรอยเตอร์สในการนำเสนอนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด”   ไนเจล ฟูลเลอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชีย ศูนย์บริการธุรกรรมเงินทุนแห่งทอมสัน รอยเตอร์สกล่าว

 

ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลกและยังคงสร้างความสนใจอย่างมีนัยสำคัญจากชุมชนการค้าโลก ค่าเฉลี่ยต่อวันของปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในเดือนมกราคม 2557 ผ่านระบบของทอมสัน รอยเตอร์ มีมูลค่าถึง 117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของเพลตฟอร์มการค้าที่มีความสัมพันธ์กันเอฟเอ็กซ์ออลของทอมสัน รอยเตอร์ สูงถึง 123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมกราคมแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเอฟเอ็กซ์ ในทอมสันรอยเตอร์ที่สามารถเข้าถึงความไว้วางใจและน่าเชื่อถือทั้งตลาดหลักและตัวแทนสภาพคล่องเพื่อลูกค้า ทอมสัน รอยเตอร์สเป็นเบอร์หนึ่งในการสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดปริวรรตเงินตราโลก

 

รางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์อวอร์ด ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในตลาดปริวรรตเงินตราของไทย และให้ความยอมรับต่อบทบาทของตลาดปริวรรตเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม

 

ผู้ได้รับรางวัลไทยเอฟเอ็กซ์อวอร์ดได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากปริมาณและมูลค่าการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกของทอมสัน รอยเตอร์ส
ผู้ได้รับรางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์เทรดดิ้งอวอร์ด สำหรับประเทศไทย ได้แก่

 

1. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านสภาพคล่องในการซื้อขายดอลลาร์สหรัฐ/ไทยบาท (จากระบบซื้อขายDealing Spot Matching)

รางวัลชนะเลิศ:                                      ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:                ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:                ธนาคารเจพีมอร์แกนเชส เอ็น. เอ. สาขากรุงเทพฯ

 

2. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านสภาพคล่องของสกุลเงินต่างประเทศ (จากระบบซื้อขายDealing Spot Matching)

รางวัลชนะเลิศ:                      ธนาคารแห่งโตเกียวมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:                ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:                ธนาคารเจพีมอร์แกนเชส สาขากรุงเทพฯ

 

3. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านสภาพคล่องของสกุลเงินต่างประเทศ (จากระบบซื้อขายRTFX/FXall)

รางวัลชนะเลิศ:                      ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:                ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:                ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน)

 

4. ผู้ให้บริการยอดเยี่อมด้านตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศสำหรับเงินบาทไทย

รางวัลชนะเลิศ:                      ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น. เอ.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:                ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

 

5. ผู้ให้บริการยอดเยี่อมด้านอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินบาทไทย

รางวัลชนะเลิศ:                                      ธนาคารมิซูโฮ จำกัด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:                ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:                ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ