“ทศวรรษแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ” กับ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ผลิตนักเรียนระบบทวิภาษาหรือเรียกกันทั่วไปว่า “ระบบสองภาษา”

0
363
image_pdfimage_printPrint

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ก้าวเข้าสู่ 1 ทศวรรษ พร้อมจัดงาน “เปิดบ้าน” ในวันที่ 25 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ10 ปีในการสถาปนาโรงเรียนระบบทวิภาษาแห่งนี้ คณะผู้บริหารและครูมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จอย่างสูงของโรงเรียนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงตั้งชื่องานครั้งสำคัญนี้ว่า “ทศวรรษแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ”

 

ดร. อภิรมณ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พ่อแม่ผู้ปกครองและนักเรียนได้มีโอกาสเห็นภาพลักษณ์ของโรงเรียนสาธิตแห่งใหม่ของเราที่กำลังจะเปิดรับนักเรียนในเร็วๆนี้ในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในภูมิภาคตอนเหนือของประเทศไทย โรงเรียนสาธิตแห่งใหม่ของเราถอดแบบการเรียนการสอนและการบริหารมาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตในจังหวัดปทุมธานี

IMG_3668-mail

“นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีการพัฒนาศักยภาพมาอย่างสม่ำเสมอ จำนวนนักเรียนของเราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและเมื่อเรียนจบจากสถาบันการศึกษาของเราแล้วเด็กเหล่านี้ประสบความสำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทยและนานาชาติได้อย่างน่าชื่นใจ โรงเรียนของเรานอกจากได้รับการประเมินจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นประจำทุกปีแล้วยังได้รับการประเมินมาตรฐานโรงเรียนทั้งระดับประเทศและการประเมินตามเกณฑ์ของ Cambridge IGCSE และ International Bachalaureate (IB)”

จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลจนถึงระดับเตรียมอุดมศึกษาและตลอดช่วงเวลาที่เปิดดำเนินการ โรงเรียนบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศไทยและของสากลมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของครูผู้สอน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีครูจากทั่วโลกรวมทั้งครูไทย เรามีระบบการคัดสรรครูที่เป็นมืออาชีพ ครูที่จะได้รับการบรรจุเข้าทำงานต้องผ่านการสาธิตการสอนที่เข้มข้นและเมื่อผ่านการทำงานที่โรงเรียนในช่วงเวลาที่กำหนดแล้ว ครูเหล่านี้จะได้รับเชิญเป็นกรรมการของโรงเรียน ครูที่โรงเรียนของเราส่วนใหญ่ทำงานกับโรงเรียนมายาวนานและเป็นกลจักรสำคัญในวงวิชาการของเรา

ดร. อภิรมณ กล่าวต่อว่า โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีประสิทธิผลสูงในการผลิตนักเรียนระบบทวิภาษาหรือเรียกกันทั่วๆไปว่า “ระบบสองภาษา” นักเรียนเหล่านี้ใช้ภาษาไทยและอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วเป็นธรรมชาติทั้งสองภาษาเพราะเราบูรณาการทั้งภาษาไทยและอังกฤษเข้าไปในการเรียนการสอนในหลายๆรูปแบบโดยคำนึงถึงวัยและความสามารถของผู้เรียน เน้นปรัชญาการสอนเดียวกันกับที่ใช้ในโรงเรียนชั้นนำต่างๆในยุโรป หลักสูตรดังกล่าวนี้คือบูรณาการเนื้อหาวิชากับวิธีการเรียนการสอน (Content and Language Integrated Learning หรือ CLIL) น่ายินดีและมหัศจรรย์ยิ่งที่นักเรียนของเราพูดภาษาไทยและอังกฤษได้ราวกับภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาแม่ แม้ภาษาจะมีลักษณะธรรมชาติที่แตกต่างกันกล่าวคือ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เป็นตัวกำกับเสียงและความหมาย (tone language) แต่ภาษาอังกฤษใช้การเน้นคำ (stress language) เป็นสื่อดังกล่าวนอกจากนี้นักเรียนของเรายังมีโอกาสเลือกเรียนภาษาที่สามเช่นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาจีน

 

นอกจากการเน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้ว โรงเรียนยังเห็นความสำคัญของความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ดั้งนั้นในทุกห้องเรียนจึงมีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในปีการศึกษานี้เราใช้โปรแกรมที่สร้างแรงจูงใจและจินตนาการในการเรียนแก่ผู้เรียนของ i-Pad (i-Pad interactive programme) นักเรียนตัวน้อยๆของเราจะสามารถเรียนรู้การสะกดคำในรายการ “คำประจำสัปดาห์” ที่ส่งเสริมทั้งทักษะการฟังและการเขียนให้คล่องแคล่ว นักเรียนจะได้ยินและเห็นตัวสะกดที่ถูกต้องไปพร้อมๆกันใน i-Pad interactive programmeผู้ปกครองและผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ได้ที่ http://www.sbs.ac.th/ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมิได้เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการแต่เพียงด้านเดียวหากแต่ผู้บริหารและครูให้ความสำคัญกับการสร้างนักเรียนที่เข้าใจและตระหนักในความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม เราจึงเป็นต้นแบบของการเรียนการสอนที่บูรณาการทั้งสองด้านนี้ได้อย่างมีคุณภาพ

คณะผู้บริหารโรงเรียนภายใต้การนำของดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทุ่มเทกำลังความสามารถสร้างโรงเรียนทั้งสองแห่งคือที่จังหวัดปทุมธานีและที่กำลังจะเปิดดำเนินการที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยปรารถนาให้ทั้งสองสถาบันเป็นโรงเรียนต้นแบบการศึกษาของเยาวชนยุคใหม่ เข้าใจและเห็นความสำคัญของความต้องการของผู้เรียน ฟูมฟักเขาให้เก่งทั้งวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถสร้างอนาคตได้อย่างมั่นคง เป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศไทยและยืนหยัดได้อย่างสง่างามในประชาคมอาเซียนและเวทีโลกเลยทีเดียว ดร. อภิรมณ กล่าวทิ้งท้าย

 

##########