1

ทรัพยากรจากทะเลจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคตได้หรือไม่

ฮัมบูร์กและคีล–20 ก.พ.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

maribus เผยแพร่รายงาน World Ocean Review 3 ซึ่งมีบทวิเคราะห์เชิงลึกว่าด้วยโอกาสและความเสี่ยงต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรจากทะเล

 

มนุษยชาติต้องการวัตถุดิบต่างๆ อย่างไม่มีวันจบสิ้น การบริโภคน้ำมันพุ่งขึ้นสองเท่านับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 ขณะที่ความต้องการทรัพยากรแร่ก็เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากมีการใช้โลหะต่างๆ เช่น ทองแดง นิกเกิล และโคบอลต์ มากเป็นประวัติการณ์ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และรถยนต์ไฮบริด เป็นต้น วัตถุดิบต่างๆ ที่ทับถมอยู่ก้นทะเลจึงได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีคำถามเกิดขึ้นตามมาว่า จะขุดทรัพยากรใต้ทะเลมาใช้ในเชิงเศรษฐกิจได้เมื่อไหร่ มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง และใครจะมีสิทธิในทรัพยากรที่อยู่ในน่านน้ำสากล

 

รายงาน “World Ocean Review 3 – Raw materials from the Sea – Opportunities and Risks” (WOR 3) ซึ่งเผยแพร่โดยองค์กรไม่แสวงผลกำไร maribus gGmbH โดยได้รับการสนับสนุนจากนิตยสาร “mare”, สถาบัน International Ocean Institute (IOI) และกลุ่ม “The Future Ocean” ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับแร่โลหะและโภคภัณฑ์พลังงานเท่าที่รู้จักและมีในมหาสมุทรต่างๆ พร้อมกับชี้แจงอย่างมีหลักการและเข้าใจง่ายเกี่ยวกับโอกาสและความเสี่ยงต่างๆ ของการขุดเจาะทรัพยากรและนำวัตถุดิบจากทะเลมาใช้ รายงานฉบับใหม่นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณน้ำมัน ก๊าซ และก๊าซธรรมชาติในรูปของแข็งซึ่งอยู่ใต้พื้นทะเล นอกจากนั้นยังอธิบายเกี่ยวกับศักยภาพของทรัพยากรแร่ เช่น ก้อนแมงกานีสทรงมน โคบอลต์ผง และมวลแร่ซัลไฟด์เนื้อแน่น เป็นต้น ขณะเดียวกันรายงานยังเน้นย้ำให้ประชาคมโลกมีความรับผิดชอบและใช้ทรัพยากรโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกล่าวถึงปัญหาด้านกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการแบ่งทรัพยากรที่อยู่ในน่านน้ำสากล

 

“การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรต่างๆ จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้การใช้ทรัพยากรจากทะเลและชายฝั่งเป็นไปอย่างยั่งยืน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน” Martin Visbeck จาก GEOMAR Helmholtz Centre for Ocean Research Kiel ซึ่งเป็นผู้บรรยายของกลุ่ม “The Future Ocean” กล่าว

 

ทรัพยากรแร่และพลังงานต้องใช้เวลาหลายล้านปีกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ ไม่เหมือนทรัพยากรทดแทนอย่างปลาหรือหอยซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรส่วนหนึ่งที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงเท่านั้นจึงจะสกัดออกมาได้

 

“เมื่อโอกาสทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่อยู่เหนือการหยั่งรู้ของเรา ย่อมเกิดความเสี่ยงไม่เพียงต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งที่ผลิตน้ำมันในแอฟริกาตะวันตกมานานหลายปี เคยเพิกเฉยต่อการปกปักษ์รักษาธรรมชาติ และไม่คิดที่จะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น” Nicholas Gelpke เจ้าของนิตยสาร “mare” และผู้ก่อตั้ง maribus gGmbH กล่าว

 

ภูมิหลัง

maribus gGmbH ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2551 โดย Nikolaus Gelpke เจ้าของนิตยสาร “mare” เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มุ่งมั่นกับการทำให้ประชาชนตระหนักว่า ส่วนต่างๆของระบบนิเวศทางทะเลมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด พร้อมกับพยายามผลักดันให้มีการอนุรักษ์ทะเลอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

 

“World Ocean Review 1” หรือ WOR 1 เป็นรายงานฉบับแรกของ maribus ที่มีความครอบคลุมและโดดเด่น ซึ่งแสดงให้เห็นสถานการณ์ของทะเลทั่วโลก รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างทะเลกับระบบนิเวศ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและสังคมการเมือง จนถึงตอนนี้มีผู้ขอรับสำเนารายงาน WOR 1 ฉบับภาษาเยอรมันและอังกฤษไปแล้วราว 70,000 ฉบับทั่วโลก

 

สำหรับรายงานฉบับที่สาม “Raw materials from the Sea – Opportunities and Risks” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพันธมิตรหลายราย ซึ่งให้ความสำคัญกับทะเลมาโดยตลอดและทำงานวิชาการด้วยมาตรฐานสูงสุด พันธมิตรเหล่านี้ประกอบด้วย

 

– สถาบัน International Ocean Institute (IOI) ซึ่งก่อตั้งโดย Elisabeth Mann-Borgese เมื่อปีพ.ศ.2515

– กลุ่ม “The Future Ocean” ซึ่งเป็นสมาคมนักวิทยาศาสตร์ที่มีสมาชิกกว่า 200 คนจากสาขาวิชาต่างๆ โดยได้รับ
การสนับสนุนจาก Kiel University, GEOMAR Helmholtz Centre for Ocean Research Kiel, Kiel Institute for
the World Economy และ Muthesius Academy of Fine Arts and Design นอกจากนั้นยังได้รับเงินทุนจาก
รัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐภายใต้กรอบการทำงาน Excellence Initiative ของ German Research
Foundation (DFG)

– mare ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับทะเล

รายงาน “World Ocean Review 3” ซึ่งมีสำเนา 45,000 ฉบับ (ภาษาเยอรมัน/อังกฤษ) เป็นรายงานที่แจกฟรีโดยไม่มีการจำหน่ายและไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหากำไร นอกเหนือจากรายงานฉบับภาษาเยอรมันแล้ว รายงานภาษาอังกฤษจะมีการเผยแพร่ในเร็วๆนี้ สำหรับรายงานฉบับเต็มจะเผยแพร่พร้อมกันที่ http://www.worldoceanreview.com

 

“World Ocean Review 3 – Raw materials from the Sea – Opportunities and Risks” เผยแพร่โดย maribus gGmbH, ฮัมบูร์ก 2557 ในรูปแบบหนังสือปกอ่อนความยาว 164 หน้า มีภาพประกอบและภาพถ่ายหลายภาพ

 

ลิงค์:

 

Home

 

http://www.mare.de

 

http://www.futureocean.org

 

http://www.geomar.de

 

ข้อมูลสำหรับติดต่อและขอสำเนาตัวอย่างรายงาน:

 

maribus gGmbH

Stephanie Haack

Media & Public Relations

โทร. +49-40-368076-22

อีเมล: haack@maribus.com

 

Christian-Albrechts University of Kiel

Cluster of Excellence “The Future Ocean”

Friederike Balzereit, Public Relations

โทร. +49-431-880-3032

อีเมล: fbalzereit@uv.uni-kiel.de

 

แหล่งข่าว: maribus gGmbH