ตื่นตากับรถซิตี้คาร์ใช้ไฟบ้าน ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

0
388
image_pdfimage_printPrint

ตื่นตากับรถซิตี้คาร์ใช้ไฟบ้าน ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงาน“โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” (SETA 2017)

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” ปีที่ 2 โดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม และ กรุงเทพมหานคร ภายใต้ธีม “Towards A Low-Carbon Society” ใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ นโยบายและการวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำ พลังงานเพื่อการคมนาคมขนส่งเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำ และ เมืองอัจฉริยะและอุตสาหกรรมสีเขียว หวังผลักดันและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้เน้นเทรนด์อุตสาหกรรมไฮบริด และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ภายในงาน แบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือส่วนงานจัดประชุมวิชาการและส่วนแสดงนิทรรศการกว่า 200 บริษัทชั้นนำจากนานประเทศ การจัดประชุมคู่ขนานอีกกว่า 10 งานรวมถึงการจับคู่ธุรกิจภายในงาน

โดยหนึ่งในไฮไลท์เด่นของ SETA 2017 ปีนี้ที่ได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่วันแรก ได้แก่ บริเวณบูธการจัดแสดง “รถพลังงานไฟฟ้า” ที่สามารถลดการใช้พลังงาน เกิดการใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ รถไฟฟ้าสายพันธุ์ไทยแบรนด์แรกของไทย รูปทรงกระทัดรัดเหมือน City Car ปัจจุบันรถลักษณะนี้เป็นที่นิยมในต่างประเทศ โดยรถไฟฟ้านี้ประกอบด้วยรถบัส รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถตุ๊กตุ๊ก เกิดจากนักวิชาการด้านอุตสาหกรรมและนักออกแบบรถเล็งเห็นว่า เป็นช่วงเวลาที่จะควรนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นพลังงานสะอาด ซึ่งรถไฟฟ้าเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งการใช้พลังงาน เป็นมิติใหม่ของการบริหารจัดการยานยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ต้องมีโรงงานผลิตเอง เพียงออกแบบให้ได้ตามความต้องการ จากนั้นหาแหล่งผลิตที่มีมาตรฐานและความปลอดภัย ปัจจุบันพร้อมเข้าสู่ในเชิงพาณิชย์

ความอัจฉริยะของรถโดดเด่นตรงที่ไม่ใช้น้ำมัน ขับเคลื่อนเพียงใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ชาร์จจากไฟบ้านตามมาตรฐานของ สมอ. เสียบเข้ากับแบตเตอรี่ของรถซึ่งมีอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังถูกควบคุมโดยสมองกล ชาร์จไฟบ้านเป็นเวลา 6 ชั่วโมง สามารถวิ่งได้ 180 กิโลเมตร จ่ายค่าไฟฟ้าเพียง 50 สตางค์ต่อ 1 กิโลเมตรเท่านั้น จึงเป็นรถที่เหมาะใช้งานบนถนนในเมือง เพราะไม่มีท่อไอเสีย จึงไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ สามารถจดทะเบียนได้ที่กรมขนส่งทางบก เพราะมีมอเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์ขึ้นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ส่วนการใช้งานจะมีมาตรไฟฟ้าแจ้งจำนวนพลังงานที่เหลือและระยะทางที่เหลือ นอกจากนี้มีตัวแทนและศูนย์บริการที่คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการเติมพลังงานหรืออยู่ในที่สาธารณะ โดยอายุการใช้งานของแบตเตอรีประมาณ 5-10 ปี ในช่วง 5 ปีแรกสามารถใช้งานได้ถึง 80% จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 10 ปี ซึ่งราคาแบตเตอรี่ในปัจจุบันราคา 350,000 บาท แต่ใน 5 ปีต่อไปราคาจะถูกลงต่ำกว่าสามแสนบาท จะมีแนวโน้มลดลงประมาณ 20% สำหรับปีแรกวางเป้าหมายการตลาดไว้ที่หลักร้อยคันต่อปี ในปีต่อ ๆ ไปจะขยับเป็นอัตราที่สูงขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ในเว็บไซต์ www.SETA.Asia