1

ดีลอยท์ เผยผู้บริหารมีมุมมองบวกต่ออุตสาหกรรม 4.0

– งานวิจัยระดับโลกสำรวจมุมมองผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับความพร้อม

ในการรับมือกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีต่อสังคม

กลยุทธ์ แรงงาน และการลงทุนทางเทคโนโลยี

ดีลอยท์ โกลบอล (Deloitte Global) เปิดเผยรายงานการวิจัยชื่อ “The

Fourth Industrial Revolution is Here—Are You Ready?” ที่แสดงให้เห็น

ว่า ผู้บริหารธุรกิจระดับอาวุโสและผู้นำหน่วยงานภาครัฐจากทั่วโลกไม่เชื่อ

ว่ามั่นว่าองค์กรของตนมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างและใช้

โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (อุตสาหกรรม 4.0)

อุตสาหกรรม 4.0 คือยุคสมัยแห่งการหลอมรวมระหว่างเทคโนโลยี

ทางกายภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ การวิเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์

ค็อกนิทิฟคอมพิวติ้ง และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ดีลอยท์ โกลบอล

ได้สำรวจมุมมองความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง (C-suite หรือ C-level)

จำนวน 1,600 คน ใน 19 ประเทศ และเลือกสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว เพื่อ

สำรวจความพร้อมของผู้บริหารเหล่านี้ในการใช้ประโยชน์จากยุค

อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อมอบผลลัพธ์ที่ดีแก่ลูกค้า พนักงาน ชุมชน และผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญรายอื่นๆ

“เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและขับเคลื่อนยุค

อุตสาหกรรม 4.0 นั้น กำลังทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยน

แปลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่โลกเชื่อมโยงถึงกันอย่างไร้

ขีดจำกัดและท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร” ปูนิต เรนเจน

ซีอีโอของดีลอยท์ โกลบอล กล่าว “นี่คือช่วงเวลาแห่งโอกาส แต่ก็มา

พร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน เราได้พัฒนางานวิจัยฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้เข้าใจ

มากขึ้นว่า เหล่าผู้บริหารกำลังก้าวเดินไปอย่างไรบนเส้นทางการเปลี่ยน

แปลงนี้ และเพื่อค้นหาขอบเขตที่ผู้บริหารเหล่านี้จะสามารถมีบทบาทใน

การรับมือกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่จะมีต่อ

องค์กรและสังคมของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

คำถามในงานวิจัยมุ่งเน้นไปที่ 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ ผลลัพธ์ทางสังคม

กลยุทธ์ คนเก่ง/กำลังคน และเทคโนโลยี ซึ่งผลสำรวจบ่งชี้ว่า แม้ผู้บริหาร

เข้าใจในภาพรวมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม

4.0 แต่พวกเขากลับไม่ค่อยมั่นใจว่าควรทำหรือปฏิบัติอย่างไรเพื่อที่จะคว้า

โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ทั้งนี้ ในการสำรวจตามแต่ละ 4 หัว

ข้อนั้น พบว่ามีความขัดแย้งบางประการ ดังนี้

ผลลัพธ์ทางสังคม:

มองบวกแต่ไม่มั่นใจในบทบาทของตนเอง – แม้ผู้บริหารมองว่า

อนาคตข้างหน้าจะมีความมั่นคงมากขึ้น ขณะที่ความไม่เสมอภาคลดลง

แต่ขณะเดียวกันผู้บริหารกลับไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นมากนักเกี่ยวกับ

บทบาทของตนหรือองค์กรของตนในการโน้มน้าวสังคมในยุค

อุตสาหกรรม 4.0

– ผู้บริหารจำนวนมาก (87%) เชื่อว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

จะยกระดับความเสมอภาคและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ขณะ

ที่สองในสามมองว่า ภาคธุรกิจจะเข้ามามีอิทธิพลมากกว่าภาครัฐและภาค

ส่วนอื่นๆ ในการกำหนดอนาคต
– อย่างไรก็ดี มีผู้บริหารไม่ถึงหนึ่งในสี่ที่เชื่อว่า องค์กรของตนเอง

สามารถเข้ามามีอิทธิพลต่อปัจจัยทางสังคมในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา

ความยั่งยืน และการเลื่อนชั้นทางสังคม

กลยุทธ์:

สงบนิ่งแต่มีพลัง – เหล่าผู้บริหารยอมรับว่า ตนเองอาจไม่พร้อมที่

จะคว้าความได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลงที่มากับอุตสาหกรรม 4.0 ทว่า

ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พวกเขาหันมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจแต่อย่าง

ใด

– มีผู้บริหารเพียงหนึ่งในสามที่มีความเชื่อมั่นสูงว่า พวกเขาสามารถ

ดูแลองค์กรในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และมีเพียง 14% ที่เชื่อมั่น

อย่างสูงว่า องค์กรของตนพร้อมใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเปลี่ยน

แปลงที่มากับอุตสาหกรรม 4.0
– ผู้บริหารหลายรายยังคงมุ่งความสนใจไปที่ขอบข่ายเดิมๆ (เช่น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การเพิ่มผลิตภาพ) แทนที่จะหันไปให้ความ

สำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถและศักยภาพสูง หรือคนเก่ง

(talent) รวมทั้งขับเคลื่อนเทคโนโลยีล้ำสมัยและสามารถแข่งขันได้ เพื่อที่

จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและมูลค่า

คนเก่ง/กำลังคน:

วิวัฒนาการกับการปฏิวัติ – ผู้บริหารไม่เชื่อมั่นว่าตนมีคนเก่งและมี

ความสามารถเหมาะกับงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรก็ดี พวกเขา

รู้สึกว่าตนทำเต็มที่แล้วในเรื่องของการสร้างกำลังคนที่ตรงกับงาน แม้การ

บริหารคนเก่งเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญเป็นอันดับท้ายๆ ก็ตาม

– มีผู้บริหารเพียงหนึ่งในสี่ที่เชื่อว่า พวกเขาได้วางแผนกำลังคนที่มี

ประสิทธิภาพและมีทักษะที่จำเป็นต่ออนาคต
– ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้บริหาร 86% มองว่าตนทำทุกสิ่งอย่างเต็ม

ความสามารถแล้วเพื่อสร้างกำลังคนรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ทว่าคำตอบ

บ่งชี้ว่า ประเด็นด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับ

ท้ายๆ นอกเหนือไปจากการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
– สำหรับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเก่งในยุค

อุตสาหกรรม 4.0 นั้น บริษัทเหล่านี้กำลังเสาะหาบทบาทใหม่ๆ ที่อาจเปิด

โอกาสให้บุคลากรสามารถชูจุดแข็งของตน พร้อมใช้ประโยชน์จาก

เทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อยกระดับนวัตกรรม สภาพแวดล้อมการทำงาน ไป

จนถึงแนวทางใหม่ๆ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

เทคโนโลยี:

ความท้าทายกับการเตรียมตัว – ผู้บริหารเข้าใจถึงความจำเป็นของ

การลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม

พวกเขาประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อคว้า

โอกาสจากอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดการวางกลยุทธ์

ภายในและเป้าหมายระยะสั้น

– ผู้บริหารยอมรับว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันได้รับ

อิทธิพลอย่างมากจากความต้องการที่จะสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่พวกเขา

เชื่อว่าจะสร้างผลลัพธ์ต่อองค์กรมากที่สุด
– อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารน้อยคนนักที่กล่าวว่า ตนสามารถจัดทำ

แผนธุรกิจที่แข็งแกร่งสำหรับการลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ ที่ขับเคลื่อน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยให้เหตุผลว่าเกิดจากการขาดการวาง

กลยุทธ์ภายใน ขาดความร่วมมือกับหุ้นส่วนภายนอก และการให้ความ

สำคัญกับเป้าหมายระยะสั้น

การวิจัยพบว่า โดยรวมแล้ว ผู้บริหารทั่วโลกยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

ของการเตรียมองค์กรของตนเองให้พร้อม เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก

อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มศักยภาพ พวกเขาจำเป็นต้องไขว่คว้าโอกาส

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายหลักที่จะนำประโยชน์มาสู่ลูกค้า

บุคลากร องค์กร ชุมชน และสังคมในวงกว้างขึ้น:

– ผลลัพธ์ทางสังคม – ยอมรับว่าทุกองค์กรต่างมีพลังในการสร้าง

อิทธิพลที่จะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในหลายรูปแบบ เพื่อ

สร้างสรรค์โลกที่มีความเท่าเทียมและมั่นคงมากขึ้น
– กลยุทธ์ – ใช้แนวทางแบบองค์รวมในการวางแผนกลยุทธ์ ค้นหา

วิธีในการนำความสามารถหลักที่มีอยู่ไปต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนา

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ และสร้างประโยชน์รูปแบบใหม่แก่ผู้มีส่วน

เกี่ยวข้องในระดับที่กว้างขึ้น
– คนเก่งและกำลังคน – ให้ความสำคัญกับการเตรียมพนักงานให้

พร้อมสำหรับการก้าวเดินไปในยุคแห่งอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการสร้าง

วัฒนธรรมการเรียนรู้และความร่วมมือ รวมทั้งสร้างโอกาสในการฝึกฝน

อบรม ทั้งภายในองค์กรและในชุมชนด้อยโอกาส
– เทคโนโลยี – มองเทคโนโลยีเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่ทรงพลัง

ที่สุดในโลกอุตสาหกรรม 4.0 และลงทุนในด้านการรวมแอปพลิเคชั่นใหม่

ๆ ที่สามารถสนับสนุนโมเดลธุรกิจใหม่ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เข้าใจว่า

เทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ควรจะถูกจำกัดอยู่แค่เพียงส่วนหนึ่ง

ส่วนใดขององค์กรเท่านั้น แต่ควรรวมทั่วทั้งองค์กร เพื่อสนับสนุนขอบ

ข่ายความรับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่จำเป็น

ต่อการเจริญก้าวหน้าในโลก 4IR

“ผมเชื่อว่าผู้ที่มีมุมมองกว้างขวางจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จใน

ยุคใหม่นี้” คุณเรนเจนกล่าว “พวกเขาจะมองเห็นความเชื่อมโยงกัน

ระหว่างธุรกิจและความต้องการของสังคม ระหว่างผลลัพธ์ด้านการเงินกับ

กลยุทธ์นวัตกรรม ระหว่างผลิตภาพแรงงานกับความรู้สึกถึงความมั่นคง

และสวัสดิภาพ และ ระหว่างการรวมเทคโนโลยีที่มีอยู่กับการสร้างโซลู

ชั่นขึ้นใหม่ทั้งหมด”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมและอ่านรายงานผลวิจัยฉบับเต็มได้ที่

https://www2.deloitte.com/insights/us/en/deloitte-review/issue-

22/industry-4-0-technology-manufacturing-revolution.html?

id=us:2el:3pr:dup4364:awa:dup:MMDDYY:4ir

ระเบียบวิธีวิจัย

ฟอร์บส์ อินไซท์ ร่วมกับ ดีลอยท์ โกลบอล ได้ทำแบบสำรวจ CXO

จำนวน 1,603 รายจากทั่วโลกเพื่อทำความเข้าใจถึงมุมมองของพวกเขาที่มี

ต่ออุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดมาจากองค์กรที่มีรายได้

ต่อปีสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 พันล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ CXO เหล่านี้เป็นผู้นำองค์กรในออสเตรเลีย บราซิล

แคนาดา จีน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น

เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร

และสหรัฐอเมริกา ผู้ตอบแบบสำรวจเป็นตัวแทนจาก 10 อุตสาหกรรม

และไม่มีอุตสาหกรรมใดที่มีสัดส่วนเกินกว่า 12% ของตัวอย่างทั้งหมด

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนสิงหาคม 2560

เกี่ยวกับดีลอยท์

ดีลอยท์ หมายถึงบริษัทแห่งเดียวหรือหลายแห่งในเครือบริษัท ดี

ลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (“DTTL”) ตลอดจนเครือข่ายทั่วโลกของบริษัท

สมาชิกและองค์กรที่เกี่ยวข้อง DTTL (หรือหมายถึง “ดีลอยท์ โกลบอล”)

และบริษัทสมาชิกแต่ละแห่งแยกจากกันทางกฎหมายและมีความเป็นอิสระ

DTTL ไม่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า กรุณาเยี่ยมชม www.deloitte.com/about

เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

ดีลอยท์เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกในด้านการตรวจสอบบัญชี

และการให้ความเชื่อมั่นทางวิชาชีพบัญชี การให้คำปรึกษา การเป็นที่

ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง ภาษี และบริการที่เกี่ยวข้อง ดี

ลอยท์ให้บริการบริษัทที่ติดอันดับ Fortune Global 500(R) เป็นสัดส่วนถึง

4 ใน 5 ด้วยเครือข่ายบริษัทสมาชิกในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก สามารถ

รับชมการทำงานของพนักงานดีลอยท์ที่มีอยู่ประมาณ 264,000 คน ซึ่ง

ล้วนมีส่วนสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญได้ที่ www.deloitte.com