ซีอีโอ ปตท. ชี้โควิด ตัวเร่งธุรกิจปรับตัว รับ New Ecosystem ชูโมเดล PTT ฝ่าวิกฤต

0
6379
image_pdfimage_printPrint

อรรถพล “ปตท” ชู New Eco system นำทัพ ปตท. ฝ่า Disruption เน้นพัฒนาองค์กรร่วมกับพันธมิตรเพื่อความยั่งยืน เดินหน้าพลังงานสะอาด เสนอรัฐสร้างความพร้อมโครงสร้างภาษีหนุนตั้งอุตสาหกรรมรถอีวีในประเทศ ทดแทนลดภาษีนำเข้า พร้อมปรับทิศทางธุรกิจ มองหาโอกาส สิ่งใหม่ๆ New s-curve

วันที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่ แกรนด์ฮอลล์ ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) กล่าวในงาน งานสัมมนาส่งท้ายปี “Thailand 2021: New Game New Normal” ว่า new ecosystem จะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอนาคตโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โดยจะเห็นว่าในปีนี้สถานการณ์การระบาด COVID 19 ยิ่งเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิด Technology Disruption ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวอย่างมากในทุกมิติ

ทั้งนี้ Disruption แม้จะวิกฤตและความท้าทายในทางตรงกันข้ามจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของคนในสังคม คนไทยมีความสามารถในการปรับตัวค่อนข้างสูง ภาพรวมด้านสังคมมีการขับเคลื่อนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจและแต่ละบริษัทก็ต้องมีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

หากฉายภาพให้เห็นถึง Disruption เทคโนโลยีด้านพลังงาน ที่เกิดขึ้นนั้น จะเห็นว่า 6 จาก 7 บริษัทชั้นนำของโลกที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดคือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบ Ecosystem ยกตัวอย่าง บริษัท ซาอุดี อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เริ่มถูกลดบทบาทลง เพราะเทรนด์การใช้พลังงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว น้ำมันอาจไม่ใช่เบอร์ 1 อีกต่อไป จากที่อีกคนถือเพียง resource แต่อีกคนที่ถือ เทคโนโลยี จะได้เปรียบไปโดยปริยายเพราะเทคโนโลยีจะเป็นตัวนำ

นอกจากนี้ การทำธุรกิจในอนาคต จะเริ่มเป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างมูลค่าจากเครือข่ายพันธมิตร เเข่งขันการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยึ เกิดอุตสาหกรรมข้ามอุตสาหกรรมกันได้ เน้นทรัพย์สินทางปัญญา

“อุตสาหกรรมพลังงานกำลังถูกท้าทายด้วยอัตราเร่งของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โลกมุ่งพลังงานสะอาด อดีตเน้นสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันมุ่งเน้นกระจายการผลิต ลงทุนด้านไอที และหลายประเทศจะเปิดเสรีมากขึ้น และทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานมุ่งสู่พลังงานสะอาด Go green ตั้งเป้าภายในปี 2040 จะต้องเพิ่มพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแน่นอนว่าพลังงานไฟฟ้ามาแน่”

โดยในแง่ของพลังงานไฟฟ้านั้น รัฐบาลต้องประเมินความพร้อมทุกด้านให้พร้อมก่อน เนื่องจาก บริบทโครงสร้างภาษีของไทยยังไม่ครอบคลุม โดยมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท ที่ต้องเก็บภาษีจากรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น

ในฐานะที่ ปตท.ทำธุรกิจพลังงาน มองว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีจะเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ซึ่งควรมองการตั้งโรงงานในประเทศมากกว่าการลดภาษีนำเข้า และโอนย้ายการลงทุนอุตสาหกรรมเดิมมาลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมรถอีวี ทั้งนี้ ช่วงเปลี่ยนถ่ายยังมีหลายคำตอบให้เลือก แต่ปัจจุบันเทรนด์ของเชื้อเพลิงที่ดีที่สุดคือ ก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองมีเพียงพอและ จะเข้ามามีบทบาทมากในช่วง 5-10 ปี

นอกจากนี้ ปตท. ได้ปรับการดำเนินงานเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วย Aspiration PTT by PTT โดยเน้น 3 P Partnership technology for all การบริหารองค์กร และ Transparency & sustainability
เน้นทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ พันธมิตรเพื่อความยั่งยืน

และปรับทิศทางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงาน มองหาสิ่งใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ เน้นการสร้าง New s-curve โดยปตท.ต่อยอด เร่งพัฒนา และขยายเข้าสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงตามทิศทางโลก 6 ข้อ ได้แก่

1. new energy
2. Life sciences
3. Mobility $ Lifestyle
4. High Value Business
5. logistics
6. AI&Robotics

อย่างไรก็ตาม พร้อมปรับ Business Model เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน Life Station อดีตกลุ่มเป้าหมายคือผู้เดินทาง แต่ปัจจุบันต้องเป็น ปั๊มน้ำมันต้องร่วมกับชุมชน โดยให้สถานีน้ำมันเป็นศูนย์กลางของชุมชน พร้อมทั้งชักชวนดีลเลอร์มาร่วมกันพัฒนาออกแบบ เช่น เปิดโอกาสให้ออกแบบ Amazon cafe โดยดีลเลอร์เป็นผู้ออกแบบเองเพื่อสร้างเอกลักษณ์แตกต่างกันแต่ละพื้นที่

พร้อมทั้ง เน้นการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองเเละสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ร่วมกับภาคเกษตร โดยปตท.มีโครงการสนับสนุนทั้ง Smart farming และ Smart marketing ซึ่งเร็วๆนี้จะมีแอปพลิเคชั่น แพลทฟอร์มออนไลน์อีกด้วย