ซิเนอร์เจีย แอนิมอล (Sinergia Animal) องค์กรพิทักษ์สัตว์ระหว่างประเทศ “องค์กรพัฒนาเอกชนมุ่งจุดประกายคนไทย หัน(กลับ)มาใส่ใจการรับประทานอาหารจากพืช

0
1411
image_pdfimage_printPrint

องค์กรพัฒนาเอกชนมุ่งจุดประกายคนไทย หัน(กลับ)มาใส่ใจการรับประทานอาหารจากพืช

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล (Sinergia Animal) องค์กรพิทักษ์สัตว์ระหว่างประเทศ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ “โครงการท้าลอง 22 วัน (Thai Challenge 22)” ที่ได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดี พร้อมเตรียมวางแผนสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสุขภาพคนไทยและให้ความเมตตาต่อสัตว์มากยิ่งขึ้น

webDSC_5894-.jpg

5 กุมภาพันธ์ 2563 – กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – คุณสนใจจะทานมังสวิรัติสัก 22 วันหรือไม่? นั่นคือสิ่งที่องค์กรคุ้มครองสัตว์ ซิเนอร์เจีย แอนิมอลท้าทายให้ผู้คนหลายร้อยคนลองทำดู ผลปรากฏเมื่อผ่านไปเพียงสองเดือน ปัจจุบัน “โครงการท้าลอง 22 วัน (Thai Challenge 22)” มีผู้เข้าร่วมในประเทศไทยมากกว่า 1,000 คน ซึ่งทั้งหมดพร้อมที่จะตัดเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ ออกไปจากมื้ออาหาร

องค์กรพิทักษ์สัตว์ระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นในบราซิลตั้งแต่ปี 2560 และทำงานระหว่างภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาใต้โดยเริ่มทำงานในประเทศไทยในปี2562 และเริ่มแคมเปญที่ออกมาท้าทายผู้คนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดีๆครั้งแรกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ในระหว่างการดำเนินกิจกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเคล็ดลับ คำแนะนำที่ถูกต้องจากนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เข้าร่วมสามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ พร้อมรับข้อมูล ข่าวสารดีๆ ในกลุ่มFacebook ที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อโครงการนี้ ยกตัวอย่างเช่น เราใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้างแทนไข่ในการทำอาหาร แต่โครงการนี้จะไปรอดหรือไม่ในประเทศไทยผู้ผลิตไข่รายใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“รอดสิครับ!” นาย ’มิคกี้’ ธีรธร กล่อมเกลา ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน ซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าว

“ปัจจุบันนี้หลายคนหันมาสนใจการเป็นมังสวิรัติมากขึ้น อาจจะด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ที่ส่งผ่านแบรนด์สินค้าต่างประเทศหรืออาหารประเภทเบอร์เกอร์ที่เป็นมังสวิรัติ แต่จริงๆ แล้วแก่นของวัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่คืออาหารจากพืช สิ่งที่เราพบจากการทำโครงการท้าลอง 22 วัน คือเมื่อผู้เข้าร่วมโครงการร่วมแบ่งปันภาพถ่ายสูตรอาหารมังสวิรัติของพวกเขา ปรากฏว่าไม่มีอาหารตะวันตกอย่างเบอร์เกอร์หรือลาซานญ่าเลย แต่เป็นอาหารไทยทั้งหมด เช่น ผัดไท, ต้มยำกุ้ง, ส้มตำ,หรือแพนง แบบวีแกน – มีอาหารไทยแบบวีแกนเยอะมาก”

โดยคุณมิคกี้กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานทางเกษตรกรรม การหันไปสนใจรับประทานอาหารโดยใช้พืชเป็นหลักนั้นช่วยให้เราเข้าใกล้วัฒนธรรมอาหารไทยแบบดั้งเดิมได้อีกด้วย

IMG_0781 (1) editada.jpg

ในขณะเดียวกัน องค์กรของเราทำงานเพื่อปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มหลายล้านชีวิต โดยเราทำงานร่วมกับบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่เพื่อให้บริษัทเหล่านี้ปรับใช้มาตรฐานห่วงโซ่อุปทานที่มีจริยธรรมมากขึ้นผ่านกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ด้านสวัสดิภาพสัตว์ในหมู่ผู้บริโภค กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักในสวัสดิภาพสัตว์ที่ถูกใช้ในการผลิตอาหารมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

คุณวิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทยของซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าวว่า “เราเห็นโอกาสครั้งสำคัญในประเทศไทยที่จะช่วยชีวิตสัตว์นับล้าน แม่ไก่ทั้งประเทศถูกกระทำทารุณ เผชิญชะตากรรมอันโหดร้ายและถูกกักขังตลอดชีวิต แต่กลับมีองค์กรพิทักษ์สัตว์ไม่กี่องค์กรในภูมิภาคที่ออกมาทำงานด้านนี้ เรารณรงค์ร้องขอให้บริษัทอาหารรายใหญ่เลิกใช้ไข่จากแม่ไก่ที่ถูกกักขัง หลายบริษัทประกาศนโยบายนี้แล้วในยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ เรารณรงค์ขอให้บริษัทเหล่านี้ขยายนโยบายที่มีอยู่เดิมมาสู่ภูมิภาคเอเชีย”

ผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ถือว่าว่าระบบกรงตับหรือแบตเตอรี่เคจ (batery cage) นั้นโหดร้ายต่อสัตว์ เพราะแม่ไก่ต้องถูกกักขังในกรงคับแคบตลอดชีวิต อีกทั้งต้องอยู่กันอย่างแออัด ทำให้แม่ไก่มีความเครียดสูง ขนร่วง เกิดโรคกระดูกพรุนและการติดเชื้อ นอกจากนี้การวิจัยครั้งสำคัญโดยหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ยังระบุว่า ระบบกรงตับไม่ดีต่อการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร ในฟาร์มกรงตับมีแนวโน้มเกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Salmonella สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับฟาร์มปลอดกรง

DSC_5839 (1) editada.jpg
หลังจากองค์กรซิเนอร์เจียดำเนินการในประเทศไทยมาได้ไม่ถึงปี มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมประกาศนโยบายการเลี้ยงสัตว์แบบปลอดกรง เช่น เทสโก้ โลตัส รวมถึงบริษัทอาหารฟาสต์ฟู้ดนานาชาติชื่อดัง “ซับเวย์” ซึ่งมุ่งมั่นที่จะหยุดการใช้ไข่จากไก่ที่ถูกขังในประเทศไทย และอีก 6 ประเทศในเอเชียด้วย

“เราต้องการสร้างแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยการสร้างโลกที่ยั่งยืนกว่า มีสุขภาพที่ดีกว่า และเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมโลกมากกว่านี้” คุณวิชญะภัทร์ กล่าว

เป้าหมายของซิเนอร์เจีย แอนิมอล คือ การทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริโภคทั่วโลก ซิเนอร์เจีย แอนิมอลได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการพิทักษ์สัตว์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดย Animal Charity Evaluators (ACE) ในปี 2561 และ 2562 องค์กรฯ ดำเนินการใน 6 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชิลี โคลัมเบีย บราซิล อินโดนีเซีย และไทย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรฯ ได้ที่: www.sinergiaanimalthailand.org

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

คุณจันจรี เชียรวิชัย

ผู้จัดการฝ่ายสื่อสาร – ประเทศไทย

Email: jchainwichai@sinergiaanimal.org

Tel: +66 81 5353363