ซินเจนทาเดินหน้าสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร บุกให้ความรู้การใช้สารอารักขาพืชปลอดภัยในเมียนมา
ซินเจนทา ผนึก USAID จัดโครงการอบรมใช้สารอารักขาพืชปลอดภัย ปักธงเมียนมาร์หลังภาครัฐ ไฟเขียวเดินหน้ายกระดับเกษตรกรพม่าเป็นวาระแห่งชาติ เปิดพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มอัตราการนำเข้าเครื่องมือการเกษตรโตต่อเนื่อง
ดร.เบญจรงค์ วังคะฮาด ผู้จัดการฝ่ายดูแลติดตามผลิตภัณฑ์ บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาปุ๋ยเพื่อการเกษตรนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับ ศูนย์พัฒนาปุ๋ยเพื่อการเกษตรInternational Fertilizer Development Center หรือ IFDC และ United States Agency for International Development หรือ USAID เกิดขึ้นในความตระหนักว่า สาธารณรัฐเมียนมา ถือเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย คือราว 678,500 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 18% ของพื้นที่ทั้งหมด มีประชากรประมาณ 54 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่ยังดำรงชีวิตเกี่ยวพันกับภาคการเกษตร แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้กำลังการผลิตด้านการเกษตรของเมียนมาไม่ประสบความสำเร็จจากการสร้างรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรนักเป็นเพราะ การเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิต ระบบการชลประทาน เมล็ดพันธุ์ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารอารักขาพืช เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก
โดยโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่ออบรมการใช้สารอารักขาพืชให้แก่เกษตรกรอย่างปลอดภัย ตั้งแต่การเลือกซื้อ การจัดเก็บ การใช้ ไปจนถึงการจัดการกับบรรจุภัณฑ์ โดยมีซินเจนทาเป็นวิทยากรหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สารอารักขาพืชและเมล็ดพันธุ์แก่ผู้ค้าปลีกธุรกิจผลิตภัณฑ์เกษตรในเมียนมา เพราะธรรมชาติของการให้ความรู้แก่เกษตรกรในเมียนมา ร้านค้าปลีกยังเป็นแหล่งข้อมูลเกษตรกรนั่นเอง
ก่อนการจัดหลักสูตรอบรม ทีมซินเจนทาได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหา และความต้องการของเกษตรกรในเมียนมา เนื่องจากพื้นที่การเกษตรของเมียนมา ยังถือเป็นพื้นที่ใหม่ ที่ต้องรวบรวมข้อมูลพืชที่เพาะปลูก ลักษณะภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของเกษตรกร โดยพื้นที่นำร่องหลักคือเมืองย่างกุ้ง และรัฐฉาน “หลังการสำรวจพื้นที่พบว่าเกษตรกรของเมียนมา ขาดความเข้าใจ เกี่ยวกับการเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ โรคพืช และแมลงศัตรูพืช การใช้สารอารักขาพืชที่ถูกต้อง การจัดเก็บ และการจัดการกับบรรจุภัณฑ์หลังการใช้ รวมถึงการสวมอุปกรณ์ป้องกันขณะฉีดพ่นหรือใช้สาร โดยตั้งเป้าอบรมผู้ประกอบการในย่างกุ้ง จำนวน 180 ร้าน และที่รัฐฉาน 300 ร้าน โดยในพื้นที่เขตย่างกุ้งนั้นเป็นพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูกข้าว ส่วนในพื้นที่รัฐฉานเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ซึ่งมีข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ” ดร.เบญจรงค์กล่าว
นางโอมายี ผู้ค้าปลีกจากเมืองชเวยอง ตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน ได้พูดถึงทิศทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารอารักขาพืช เมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์การเกษตรในพื้นที่ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะพบปัญหาจากโรคพืชและแมลง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและอากาศในพื้นที่รัฐฉาน ไม่ค่อยแน่นอน บางครั้งฤดูฝนมาล่าช้า หรือตกลงมาช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตจึงทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายการอบรมครั้งนี้ ทำให้เธอเข้าใจว่าการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพการเพาะปลูก การดูแลที่เข้าใจสภาพปัญหาของโรคและแมลงศัตรูพืช จะช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น และเธอเชื่อว่าความรู้ที่ได้จากการอบรมในครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจการดูแลผลผลิตของตนมากขึ้น
จากนโยบายการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในทุกมิติของรัฐบาล เมียนมา จึงมียอดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี อุปกรณ์การเกษตร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากประเทศเข้าไปจำหน่ายต่อเนื่อง โดยเมียนมา มีสินค้าค้าส่งออกสำคัญคือข้าวเช่นเดียวกับไทย ข้าวโพด ผัก ยางพารา และไม้เนื้อแข็งส่งออก แต่ปัญหาสำคัญยังเป็นเรื่องของการเข้าถึง ตลาดกลางจัดจำหน่ายสินค้า ระบบชลประทาน การเข้าถึงองค์ความรู้เพื่อยกระดับการพัฒนาระบบการผลิตของภาคการเกษตร การจัดอบรมในลักษณะดังกล่าวจึงถือเป็นการเข้าถึงตัวเกษตรกร การอบรมครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นให้กับเกษตรกรในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ภูมิภาคนั่นเอง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : นก วัชรินทร์ : 081-573-0636