1

ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลในเนปาลต่างมีความหวังจากการมองเห็นอนาคตขอเด็กๆ

12-year-old boy with his uncle

Villagers in rural Nepal see hope through children’s futures
By Matt Crook

”มันคงจะวิเศษไปเลยหากว่าเรามีพื้นที่ให้เด็กๆเรียนรู้และไปเรียนหนังสือได้” Kaily วัย 70ปี กล่าว

Kaily เป็นหนึ่งใน 5,000 คนในหมู่บ้านของเธอที่พยายามที่จะฟื้นฟูชุมชนหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.8 ริกเตอร์ ที่ทำลายชุมชนของพวกเขาและทำลายโรงเรียนในชุมชนเมื่อวันที่ 25 เมษายน

หมู่บ้านที่ห่างไกลนี้ เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าพื้นเมือง Tamang ที่อพยพมาจากทิเบต ตั้งอยู่บนภูเขาอยู่ในอำเภอ Sindupolchowk ซึ่งห่างจาก Kathmandu 3 ชั่วโมงไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นหนึ่งในอำเภอที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 25เมษายน ที่ 7.8 ริกเตอร์ และครั้งที่ 2 ซึ่งวัดได้ 7.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม และแผ่นดินไหวต่อเนื่องอีกหลายครั้ง

หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบหลายๆ หมู่บ้าน รวมถึงหมู่บ้านนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ยากที่จะเข้าถึง อีกทั้งความช่วยเหลือยังถูกชะลอโดยภูมิประเทศที่เดินทางลำบาก ชาวบ้านทำได้ดีที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้ แต่สำหรับคนรุ่นก่อน มันเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย

“ตอนนี้มันยากที่จะมีความกล้านะ” Kaily กล่าว

“บ้านของพวกเราถูกทำลายไม่เหลือซาก และผมก็ไม่มั่นใจว่าเราจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ที่นี่หรือไม่ แผ่นดินไหวซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเรายังไม่ได้คิดถึงเรื่องสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ตอนนี้เป็นฤดูทำไร่ทำนาซึ่งแล้ว แต่พวกเราไม่เห็นความหวังใดๆเลย”

ในขณะที่ความสิ้นหวังกระจายไปทั่วหมู่บ้าน มีข้อตกลงหนึ่งซึ่งก็คือการรักษาอนาคตของเด็กๆ ในชุมชน

ตั้งแต่แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 25 เมษายน เป็นต้นมา องค์การแพลนฯ ได้ทำงานเพื่อที่จะส่งมอบความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยังหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เหมือนอย่างหมู่บ้านนี้ใน Sindhupalchowk ความช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างแรกคือ การส่งอุปกรณ์พักพิงชั่วคราวและอาหาร นอกจากนี้ การคุ้มครองเด็ก การศึกษา และห้องเรียนชั่วคราว ก็เป็นหนึ่งในแผนช่วยเหลือเร่งด่วนขององค์การแพลนฯ เหมือนกัน

“พวกเรากังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เพราะตอนนี้ โรงเรียนปิดหมด และพวกเราไม่รู้ว่ามันจะเปิดได้อีกเมื่อไหร่ เพราะหนังสือ และของต่างๆ ถูกทำลายและฝังไปหมดแล้ว” Sukuman Tamang วัย 62ปี กล่าว

ความต้องการและความปรารถนาที่จะมีการเรียนการสอน แม้ว่าจะต้องใช้ห้องเีรียนชั่วคราว เป็นหัวข้อการสนทนาต่อเนื่องในหมู่ชาวบ้าน เพราะในตอนนี้ โรงเรียนท้องถิ่นมีสภาพเหมือนถูกทิ้งระเบิด เพราะมีหินอยู่มากมายตรงพื้นที่ที่เคยเป็นโต๊ะและเก้าอี้

การจัดสรรพื้นที่ที่ปลอดภัยในหมู่บ้านที่ให้เด็กๆ สามารถไปอยู่ร่วมกันได้ในแต่ละวัน ไม่เพียงแต่จะทำให้เด็กๆ มีพื้นที่ให้ไปเล่นและเรียนรู้ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่มองเห็นและสัมผัสได้ที่แทนความหวังของทุกคนในหมู่บ้่านว่าทุกๆ สิ่งจะดีขึ้น

หนึ่งในแผนสำคัญสูงสุดของ องค์การแพลนฯ ในประเทศเนปาลคือการสร้าง พื้นที่ที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับเด็ก ที่นี่ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครขององค์การแพลนฯ ได้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อที่จะทำให้เด็กในชุมชนได้รับความความสบายใจอยู่ในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ขณะนี้เราได้สร้าง พื้นที่ที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ทั้งหมด 4 แห่งและยังมีแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ที่นี่เด็กๆ สามารถเรียนรู้และได้มีโอกาสที่จะพูดคุยกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาจากแผ่นดินไหว หรือไม่ก็แค่มาทำกิจกรรมเล่นกันสนุก การเล่น การเรียนรู้และอยู่กับเพื่อน เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถบรรเทาความเครียดที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้

“เมื่อคนในชุมชนให้ความสำคัญกับอนาคตของเด็กๆ ช่วยดึงคนในชุมชนมาอยู่ร่วมกันและมุ่งเน้นในสิ่งเดียวกัน” Sweta Shah เจ้าหน้าที่ Education in Emergency Specialist ขององค์การแพลนฯ กล่าว

นอกจากนี้ องค์การแพลนฯ ยังทำงานเพื่อสร้างโรงเรียนชั่วคราวให้ชุมชนอีกด้วย

“คนจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในชุมชนชนบท ได้บอกเราว่า พวกเขาไม่ได้หวังอะไรมากนักสำหรับอนาคต แต่เมื่อพวกเราเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเด็กๆ น้ำเสียงของพวกเขาเปลี่ยน และนั่นจุดประกายพวกเขาอีกครั้ง

รูปแบที่เราได้ช่วยเหลือเด็กๆ สามารถนำมาช่วยคนอื่นๆในชุมชนได้อีกด้วย และนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ องค์การแพลนฯ จัดตั้ง พื้นที่ที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) และ ห้องเรียนชั่วคราวขึ้นมา นั่นก็คือการคืนการดำเนินชีวิตปกติ ให้คนในชุมชน และจากประสบการณ์การทำงานในเหตุฉุกเฉินภัยพิบัติของ องค์การแพลนฯ แสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กๆ เริ่มหัวเราะ เรียนรู้ และกลับมาเล่นสนุก เด็กๆ จะช่วยนำความรู้สึกของการรักษามาสู่ชุมชน

Maya คุณแม่ยังสาววัย18ปีในหมู่บ้าน ผู้ซึ่งแต่งงานเมื่ออายุ15 และตั้งครรภ์ไม่นานหลังจากนั้น กล่าวกับองค์การแพลนฯ ว่า เธอจะต้องอยู่กับชีวิตที่เธอเลือกแล้ว การแต่งงานตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาวเป็นเรื่องไม่แปลกในชนบทของเนปาล ซึ่งมีอัตราการศึกษาต่ำและทางเลือกในการใช้ชีวิตน้อย ถึงแม้ว่า Maya จะไม่เคยได้ไปโรงเรียน แต่เธอก็ยืนกรานว่า ลูกสาวของเธอจะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมาย

“ฉันอยากจะส่งลูกสาวของฉันไปโรงเรียน เพื่อที่เธอจะได้รับความรู้ที่จำเป็นที่จะทำให้เธอประสบความสำเร็จ เพราะหลังจากฉันมีลูก ฉันเห็นว่ามันสายเกินไปเสียแล้วสำหรับฉันที่จะไปเรียนหนังสือ ฉันรู้สึกเสียใจบ้างเป็นบางครั้งนะ แต่ฉันก็ทำอะไรกับอดีตไม่ได้แล้ว ที่ทำได้ตอนนี้คือการมุ่งเน้นไปที่อนาคต”

Shankar* เด็กชายวัย 10 ขวบ หวังที่จะกลับไปเรียนหนังสือในเร็วๆนี้ เพื่อที่เขาจะได้ไปเจอเพื่อนๆ และเรียนต่อ

“ตอนนี้ ผมทำได้แค่เล่นกับโคลนและหิน” เขากล่าว

“การไปโรงเรียนทำให้ผมมีความสุข เมื่อผมโตขึ้น ผมอยากเป็นหมอ และถ้าผมได้ไปโรงเรียน นั่นก็หมายความว่า ผมจะได้รับการศึกษา แล้วผมก็จะได้กินอาหารดีๆ และสวมใส่เสื้อผ้าดีๆ”

ในขณะที่ชาวบ้านต่างรอให้โรงเรียนชั่วคราวถูกสร้างเสร็จ พวกเราก็พยายามที่จะปรับตัวเข้ากับที่พักพิงชั่วคราวท่ามกลางเศษซากจากแผ่นดินไหว ในหลายๆพื้นที่ หลายๆ ครอบครัวต้องอาศัยอยู่ในที่เดียวกัน

ในขณะที่ องค์การแพลนฯ แจกจ่ายที่พักชั่วคราวให้ผู้คนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนั้น จริงๆเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว ฤดูมรสุมกำลังจะเข้ามา และผ้าใบไม่สามารถแทนที่บ้านได้อย่างสมบูรณ์ ชุมชนยังมีงานที่จะต้องทำเพื่อการฟื้นฟูอีกมาก

“ผ้าใบเหล่านี้ช่วยพวกเราได้มากเลย เราได้รับลูกฟูกสังกะสีเพื่อสร้างที่พักพิง แต่มันมีรู และเมื่อฝนตก พวกเราก็เปียก พวกเราต้องขุดคูน้ำและใช้ผ้าใบคลุม และนั่นทำให้เรารู้สึกปลอดภัยจากฝน ฝนค่อนข้างตกเยอะที่นี่” Silmaya วัย 40 ปี กล่าว

“ฤดูฝนกำลังจะมา และพวกเราเริ่มกลัวแล้ว ความต้องการพื้นฐานของเราในขณะนี้คือการสร้างบ้าน

“ฤดูสำหรับการทำไร่ก็กำลังจะมาแล้ว พวกเราก็ต้องเริ่มทำไร่ด้วย แต่พวกเราไม่รู้ว่าพวกเราต้องทำอะไรก่อน พวกเราต้องทำทั้งสองอย่าง แต่มันยากที่จะตัดสินใจ” Silmaya แม่ของ Anu* วัย15 และ Kamal* วัย12กล่าว

Bipani กล่าวว่า “โตขึ้น ฉันอยากเป็นพยาบาลเพราะฉันอยากที่จะช่วยเหลือและให้บริการคนในชุมชน แต่ถ้าฉันไม่สามารถไปโรงเรียนได้ ฉันก็จะเป็นพยาบาลไม่ได้ และฉันก็จะต้องทำงานบ้าน เช่นซ่อมแซมเสื้อผ้าและทำอาหารไปตลอดชีวิต”

สำหรับ Kamal เขากล่าวว่า “ผมคิดถึงโรงเรียน เพราะที่นั่น ผมสามารถเล่นฟุตบอลได้ โตขึ้น ผมอยากจะเป็นนักฟุตบอลครับ แต่ถ้าผมไม่ได้ไปโรงเรียน ผมก็จะกลายเป็นคนไม่ดี ผมไม่อยากเป็นคนไม่ดี ผมอยากเป็นคนดีครับ”
* (เปลี่ยนชื่อ)

English version https://planasia.exposure.co/villagers-in-rural-nepal-see-hope-through-childrens-futures