การรวมตัวสุดยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน
ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์การพัฒนามนุษย์ ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกได้เดินทางมาตามหาความฝันของตนเองในประเทศจีน และได้กลายเป็นส่วนสำคัญในความพยายามของจีนที่จะผลักดันการปฏิรูปและเปิดประเทศให้มากยิ่งขึ้น ดังเปรียบได้กับการไล่บันไดเสียงไดอาโทนิก (Diatonic scale)
มณฑลกวางตุ้งถือเป็นผู้นำประเทศในแง่ของการดึงดูดคนเก่งและผู้มีความสามารถชาวต่างชาติ โดยมีสาเหตุหลักมาจากแผนริเริ่ม Belt and Road Initiative (BRI) การก่อสร้างเขตอ่าว Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area (GBA) และบทบาทใหม่ของเมืองเซินเจิ้นในฐานะพื้นที่สาธิตนำร่อง โดยในโอกาสนี้ Nanfang Media Group ได้สัมภาษณ์ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง จำนวน 7 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 10-70 ปี ดังนี้
Yash จากสิงคโปร์ เกิดในปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่เมืองกว่างโจวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เขากล่าวว่า เขาต้องการทำความฝันให้เป็นจริงด้วยการเป็นหมอวิทยาศาสตร์ในกว่างโจว
Nikita Nikandrov นักศึกษาชาวรัสเซียจากมหาวิทยาลัย Shenzhen MSU-BIT University กล่าวว่า “โครงการ BRI ทำให้นักศึกษาชาวรัสเซียสามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาจีน เราสามารถคิดไอเดียใหม่ ๆ และทำธุรกิจร่วมกันได้”
Rachel Rommeswinkel จากสหรัฐ ได้เริ่มอาชีพบิวตี้บล็อกเกอร์ที่เมืองตงก่วน และมีแฟนๆ ติดตามเธอบน Bilibili และ Weibo มากกว่าล้านคน เธอกล่าวว่า เธอจะยังคงเผยแพร่ประเพณี วัฒนธรรม และเทคโนโลยีของจีนต่อไปผ่านทางการนำเสนอวิดีโอของเธอ
Leticia de Lassus จากฝรั่งเศส หัวหน้าศูนย์ JJB International Montessori AMI Centers ในกว่างโจว เห็นด้วยว่า “การศึกษาของเด็กๆ ก็เหมือนกับการติดกระดุมเสื้อ หากติดเม็ดแรกผิด เม็ดที่เหลือก็จะผิดตามไปด้วยทั้งหมด”
ด้าน Henry Xiao ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน เชื่อว่า การที่กวางตุ้งเป็นส่วนสำคัญของเขตอ่าว GBA จะทำให้บริษัทของเขาได้รับประโยชน์มากมายในแง่ของนโยบายใหม่ ๆ เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากร
Sean Choi ผู้อำนวยการสร้าง Nanta Show จากเกาหลีใต้ กล่าวว่า อาหารกวางตุ้งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และเป็นเรื่องดีที่ได้นำการแสดง Nanta Show มาจัดแสดงที่กวางตุ้ง
Stephan Mohler จากสวิตเซอร์แลนด์ ผู้อำนวยการคุณภาพทางเทคนิค บริษัท Pearl River Pianos คิดว่า เคล็ดลับของการมีคุณภาพนั้นอยู่ที่การทำงานง่ายให้ดี ซึ่งเขาแปลกใจที่คนหนุ่มสาวจำนวนมากในประเทศจีนสนุกกับการทำงาน เรียนรู้ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ดีๆ และไม่หยุดพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
วิดีโอ – https://cdn4.prnasia.com/002071/mnr/201909/doremi/video1.mp4