จีนประกาศปฏิญญาต้าหลี่ มุ่งขับเคลื่อนบริการต่อเครื่องข้ามสายการบิน พร้อมสร้างฮับการบินรูปแบบใหม่
ในการประชุม Yunnan Aviation & Tourism Conference ครั้งที่ 6 ณ เมืองต้าหลี่เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา คณะผู้แทนจากกลุ่มท่าอากาศยานและบริษัทผู้ให้บริการ OTA ของจีนรวมกันทั้งสิ้น 13 ราย ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาต้าหลี่ (Dali Declaration) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบริการต่อเครื่องข้ามสายการบิน ยกระดับคุณภาพบริการการบินพลเรือน และร่วมสร้างฮับการบินรูปแบบใหม่
ปฏิญญาต้าหลี่
1. พวกเรา ผู้บริหารจัดการท่าอากาศยานและบริษัทผู้ให้บริการ OTA ได้เข้าร่วมการประชุม Dali Forum เมื่อวันที่ 26 เมษายน ณ เมืองต้าหลี่ ซึ่งได้มีการหารือในเรื่องการสร้างฮับการบินรูปแบบใหม่ในอนาคต
2. เราเล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศในยุคดุลยภาพใหม่ (New Normal) ยังคงเติบโตอย่างมั่นคง โดยปัจจัยชี้นำทางเศรษฐกิจแต่ละตัวล้วนปรากฏแนวโน้มที่แข็งแกร่ง
3. เราเล็งเห็นว่า วงการการบินในประเทศยังคงมีความต้องการแข็งแกร่ง ปริมาณงานของท่าอากาศยานยังคงเติบโตในระดับสูง ขณะที่การเดินทางทางอากาศได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากบุคคลทั่วไป
4. เราเล็งเห็นว่า ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานในอุตสาหกรรมการบินในประเทศได้ปรากฏให้เห็นชัดมากขึ้น โดยเราล้วนเผชิญกับความท้าทายในการสร้างสมดุลระหว่างความปลอดภัยกับความก้าวหน้า ความปลอดภัยกับผลประโยชน์ และความปลอดภัยกับการดำเนินการตามปกติ
5. เราเล็งเห็นว่า โครงการริเริ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ “Sincere Service” และ “Building of Civil Aviation Service Quality System” ซึ่งดำเนินการโดยกรมการบินพลเรือนจีน (CAAC) มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการบิน สนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมงานบริการ พร้อมยกระดับความพึงพอใจและการได้ประโยชน์ของสาธารณชนในบริการด้านการบิน
6. เราเล็งเห็นว่า เมื่อประเมินจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้ว ท่าอากาศยานในภูมิภาคต่าง ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนในการร่วมงานในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นบริการต่อเครื่องข้ามสายการบินและการแบ่งปันข้อมูล ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างฮับการบินรูปแบบใหม่ ทั้งยังนำไปสู่การสร้างกลุ่มท่าอากาศยานที่มีกรอบการดำเนินงานชัดเจน พร้อมด้วยเครือข่ายเส้นทางบินในประเทศที่สะดวกสบาย
7. เราเล็งเห็นว่า ระดับการพัฒนาของท่าอากาศยานในประเทศตามภูมิภาคต่าง ๆ ของจีนยังคงมีความแตกต่างกันมาก โดยท่าอากาศยานเหล่านี้มีความจำเป็นเร่งด่วนในการกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อเดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความพึงพอใจของลูกค้า
8. เราเล็งเห็นว่า เมื่อท่าอากาศยานจีนมีการกำหนดมาตรฐานความร่วมมือในทิศทางเดียวกัน มีการร่วมงานกันเพื่อยกระดับคุณภาพบริการนักเดินทาง พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์อันดีแก่นักเดินทางแล้ว แม้ท่าอากาศยานเหล่านี้มีทรัพยากรจำกัด แต่ก็จะสามารถเปิดโอกาสให้นักเดินทางเข้ารับบริการการบินพลเรือนได้ในจำนวนที่มากขึ้น แก้ไขจุดติดขัดในการเชื่อมต่อเที่ยวบินของสายการบินต่าง ๆ และปรับปรุงโหลดแฟกเตอร์ของสายการบิน
9. ปฏิญญาต้าหลี่จึงมีขึ้นในการประชุมครั้งนี้ โดยคณะผู้บริหารจัดการที่เข้าร่วมการประชุมได้ให้คำมั่นในการดำเนินการตามเป้าหมาย ดังนี้:
1 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยกระดับมาตรฐานงานบริการผู้โดยสารและสัมภาระภาคพื้น
1.1 เร่งสร้างจุดตรวจตราภาษีศุลกากรที่มีขั้นตอนการทำงานรวดเร็วตามท่าอากาศยานต่าง ๆ โดยมีแผนเปิดเคลียร์ภาษีด้วยบอร์ดดิ้งพาสภายในปี 2562 และเคลียร์ภาษีด้วยเอกสารภายในปี 2563
1.2 เสริมศักยภาพของท่าอากาศยานในการติดตามสัมภาระ อำนวยความสะดวกแก่สายการบินในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ IATA Resolution 753 ในปี 2561 และจัดตั้งระบบติดตามสถานะสัมภาระ
1.3 ยกระดับประสิทธิภาพของท่าอากาศยานในการขนย้ายสัมภาระ ควมคุมดูแลเวลาขนย้ายสัมภาระของผู้โดยสารต่อเครื่องให้เป็นไปตามข้อกำหนด MCT ของท่าอากาศยาน และทำให้มั่นใจว่าสัมภาระจะมาถึงเมื่อผู้โดยสารเดินทางถึงท่าอากาศยาน
2 ขับเคลื่อนการกำหนดมาตรฐานการต่อเครื่องข้ามสายการบิน (CAT)
2.1 ขับเคลื่อนการแบ่งปันข้อมูล CAT
2.2 รองรับขั้นตอนการเช็คอินทรู (through-check) สัมภาระ เมื่อผู้โดยสารต่อเครื่องข้ามสายการบิน
2.3 รองรับผู้โดยสารที่ต้องการต่อเครื่องข้ามสายการบิน ในการพิมพ์บอร์ดดิ้งพาสที่ท่าอากาศยานต้นทาง
2.4 ให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่ต่อเครื่องข้ามสายการบินตลอดกระบวนการ
2.5 ร่นระยะเวลาต่อเครื่องบินขั้นต่ำ (MCT) ตามท่าอากาศยานต่าง ๆ
3 พัฒนางานบริการด้านการบินเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม
ทุกฝ่ายจะแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกัน ในการพัฒนางานบริการด้านการบินเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมจัดตั้งเครือข่ายงานบริการด้านการบินเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามขอบข่ายดังนี้:
4 แบ่งปันและเปิดการเข้าถึง
4.1 มุ่งมั่นให้กับการยกระดับคุณภาพงานบริการการบิน ส่งเสริมและควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมงานบริการ พร้อมสนับสนุนการแบ่งปันทรัพยากรกับฝ่ายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม
4.2 มุ่งมั่นให้กับการยกระดับประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าอากาศยานและการสร้างฮับระดับภูมิภาค เสริมสร้างการประสานงาน และสนับสนุนการเปิดการเข้าถึงร่วมกัน
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180426/2116090-1