จังหวัดยามากาตะประกาศสร้างวิดีโอโปรโมทการท่องเที่ยว “Japan Heritage – Dewa Sanzan – A Journey to Rebirth –”
รัฐบาลจังหวัดยามากาตะ ได้สร้างวิดีโอโปรโมทการท่องเที่ยวขึ้นในหัวข้อ “Dewa Sanzan – A Journey to Rebirth –” ซึ่งแสดงให้เห็นภาพของ 3 ขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมรดกญี่ปุ่น
ทางคณะเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดยามากาตะหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้คนทั้งจากทั่วญี่ปุ่นและทั่วโลกจะพร้อมใจเดินทางเยือนเดวะซังซัน (Dewa Sanzan) เพื่อปลุกร่างกายและจิตใจให้สดใส และเติมพลังพร้อมรับวันใหม่ ๆ อย่างเต็มที่
1. เกี่ยวกับ “Three Mountains of Dewa – A Journey to Rebirth”
ชูเก็นโด (Shugendo) เป็นสำนักฝึกฝนการบำเพ็ญทุกรกิริยาของญี่ปุ่น ที่ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางพื้นที่ห่างไกลใน 3 ขุนเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งเดวะ หรือที่เรียกว่า “เดวะซังซัน” ตั้งตระหง่านอยู่กลางจังหวัดยามากาตะทางตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ชูเก็นโดเชื่อว่า 3 ขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้มีอิทธิฤทธิ์แตกต่างกันไป โดยภูเขาฮากุโระเป็นขุนเขาแห่งปัจจุบัน ที่ทำให้ความต้องการทางโลกของผู้คนยุคนี้สมปรารถนา ขณะที่ภูเขากัสซันเป็นขุนเขาแห่งอดีต ที่วิญญาณบรรพบุรุษสามารถพบความสงบสุขได้ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามนี้ ส่วนภูเขายูโดโนะเป็นขุนเขาแห่งอนาคต ที่มีบ่อน้ำร้อนพุ่งออกมาระหว่างกองหินแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของการก่อเกิดชีวิตใหม่
ย้อนกลับไปยังยุคเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) การเดินทางเยือนเดวะซังซันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถูกขนานนามว่าเป็น “เส้นทางสู่การเกิดใหม่” ด้วยธรรมชาติอันงดงามและศักดิ์สิทธิ์ภายในขุนเขาแห่งนี้ ประเพณีดังกล่าวเป็นที่ปฏิบัติจวบจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากชุมชนท้องถิ่นได้ทุ่มเทอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมญี่ปุ่นอันเก่าแก่ในการสักการะภูเขาและธรรมชาตินี้ไว้ โดยเส้นทางการผจญภัยดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นด้วยบันไดหิน 2446 ขึ้นจากฐานภูเขาฮากุโระ ล้อมรอบด้วยดงต้นซีดาร์ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกเลื่อมใสและตื่นตาไปกับธรรมชาติ และเติมพลังจิตให้กลับมาเต็มอีกครั้ง
2. เว็บไซต์ชมวิดีโอโปรโมท
เกี่ยวกับมรดกญี่ปุ่น
สมบัติ/ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ของญี่ปุ่น เช่น ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม และประเพณีประจำภูมิภาค ได้รับการบอกเล่าจนสืบทอดต่อไปยังคนรุ่นหลัง เรื่องราวเหล่านี้ ที่บอกเล่าถึงมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ได้รับการยกย่องให้เป็น “มรดกญี่ปุ่น” หรือ “Japan Heritage” โดยสำนักงานกิจการวัฒนธรรม (Agency of Cultural Affairs)
ที่มา: รัฐบาลจังหวัดยามากาตะ