จะทำอาหารใช้ผู้สูงวัย … แค่เริ่มดี “มีแต่ได้”
จะทำอาหารใช้ผู้สูงวัย … แค่เริ่มดี “มีแต่ได้”
ครั้งก่อนผมได้อัดเทปรายการ Startup Coaching ทางช่อง ThaiPBS ในหัวข้อมุมมองธุรกิจอาหารของผู้สูงอายุในอนาคต … น่าสนใจมาก
ผมว่าธุรกิจนี้หลาย 1,000 ล้าน
ในฐานะที่ถูกสัมภาษณ์ให้เป็น Coach ผมได้ให้หลักคิดสำหรับอาหารผู้สูงวัย มีความพิเศษอย่างไรบ้าง
ในส่วนนี้ผมจะนำหลักการที่ผู้สนใจนำไปต่อยอความคิด ในการสร้างสรรค์ เลือกสรรค์ สินค้าและบริการที่เชื่อมโยงกับ “อาหาร” สำหรับผู้สูงวัย
หลักการที่อยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย ที่”จำเพาะ”เมื่อเทียบกับคนทั่วไป
ผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรที่สำคัญ
โจทย์คือ …
อาหารคือความสุข … ทำอย่างไรให้อาหารยังคงรสชาดดี แต่กินง่าย และคงคุณค่าอย่างเหมาะสม
ที่สำคัญคือเข้าถึงง่าย ปลอดภัยด้วย
มีเบื้องต้น 2 หลักการคือ
1.การบดเคี้ยวและการรับรสอาหารที่ถอยลง
หลายท่านที่มีอายุมากขึ้น อาจมีปัญหาการหลุดล่วงของฟัน ใส่ฟันปลอม การออกแบบอาหารให้มีลักษณะ
-อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย
-รสชาดดีไม่จัดมากเกินไป
-ขนาดซอง ห่อ ปริมาณ สามารถรับประทานได้ง่าย อิ่มพอดี (อาจต้องลดขนาดและปริมาณลง จากบรรจุภัณฑ์ของ size คนปกติที่บริโภคกัน)
-มีคุณค่าทางอาการหลากหลาย ลดความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร
-รูปร่างหน้าตาอาหารดูดี สีสรรสวยงามน่ารับประทาน ผมว่าการใช้เทคนิค “สีสรรบำบัด” เข้ามาประสานจะทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
หากเป็นได้การเลือกเอาสีที่ตรงข้ามกันอยู่ในอาหารจะดูน่ากินมากขึ้น เช่น สีโทนร้อน (สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีน้ำตาล) มาตัดกับสีเขียวอ่อน/ แก่, อาหารที่องค์ประกอบหลักเป็นโทนเย็นๆอยู่แล้ว เช่น สีเขียว สีม่วง สีฟ้าๆ อาจตัดกับของสีโทนร้อนก็ดูน่าสนใจมากขึ้น
สีสรรบำบัดในการประกอบอาหารยังทำให้เกิด “ความอยากกิน” กระตุ้นความอยากอาหารได้ดีมาก ช่วยเพิ่มน้ำลาย ประสิทธิภาพในการรับรสได้ดีมากขึ้น
จะทำให้เป็นหนทาง เป็นตัวเลือกให้ผู้สูงวัยและครอบครัวมากขึ้น
2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรเรียบง่ายเป็นมิตร
ผสานหลักการ Universal design เข้ามาใช้ ที่ผมมักสอนว่า
-ทุกคนเท่าเทียม
-ยอดเยี่ยมยืดหยุ่น
-ใช้งานได้ง่าย
-เข้าใจได้ไว
-เป็นมิตรปลอดภัย
-ขนาดเหมาะสม
การออกแบบให้การแสดงชื่ออาหาร สารอาหาร “คุณค่า” ที่จะได้
ควรที่จะ…
การเปิดปิดที่ง่ายสะดวก
เก็บรักษาอาหารในบรรจภุภัณฑ์
การใช้สีที่เหมาะกับอาหารเข้ามาประยุกต์ใช้ การดูเรื่องความปลอดภัยของห่อบรรจุที่เปิดแล้ว ใช้แล้ว
ระวัง…
ไม่ให้มีส่วนที่อาจเป็นอันตราย
เสี่ยงต่อการหกเลอะเทอะง่ายสำหรับผู้สูงวัยด้วยเป็นต้น
สูงวัยหลายคนหากได้มีโอกาสเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง เลือกเครื่องปรุง การทำอาหารเองได้ กลุ่มนี้ทางผู้ประกอบการควรเน้นโฟกัสในการให้ความรู้ถึงคุณสมบัติที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถ “เลือกได้” อย่างถูกต้องตาม โรค / ภาวะที่เขาเป็น
อาจต้องบอกถึงว่า …
เหมาะสำหรับใคร
เพราะอะไร
คุณค่าทางอาหารที่จะได้
ข้อควรระวังหากบริโภคมากเกินไป
ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของคุณ ที่ตรงใจ ตรงความต้องการของตลาดผสานทั้งในแง่วิชาการและความรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สำคัญด้วยนะครับ
ด้วยรัก
เก่งพงศ์
www.drgengpong.com