งานแถลงข่าวเปิดตัว “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป”

0
356
image_pdfimage_printPrint

ตามที่องค์กรวิชาชีพ” ทุกภาคส่วนกว่า “ 60 องค์กร”  ได้แก่ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคข้าราชการ สื่อมวลชน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ได้สร้างกลไกทำงานร่วมในนาม “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” เพื่อเรียกร้องคู่ขัดแย้งใน 3 ประเด็น ได้แก่ ขอให้ “หยุดความรุนแรง เริ่มการเจรจา เดินหน้าปฏิรูป” โดยได้แถลงข่าวต่อสาธารณะเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม เวลา 10.00-12.00 น. ณ  ห้องกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล 

reform

คำแถลง “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป”

หยุดความรุนแรง เริ่มเจรจา เดินหน้าปฏิรูป

 

“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” เป็นการรวมพลังร่วมกันขององค์กรหลายภาคส่วน ได้แก่ องค์กรธุรกิจ ข้าราชการ ประชาคมวิชาการ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรท้องถิ่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ เพื่อระดมความคิด สติปัญญา และเสริมสร้างความหวังว่าเราจะสามารถคลี่คลายวิกฤติการณ์ และเดินหน้าประเทศต่อไปได้ บนวิถีประชาธิปไตยและสันติวิธี เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปตามที่มีรายชื่อแนบท้ายขอเรียกร้องต่อทุกฝ่าย และขอแสดงเจตจำนงเพื่อร่วมกันแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งเพื่อให้สังคมไทยเดินหน้าต่อไป ดังนี้

  1. 1.       หยุดความรุนแรง การยั่วยุ ลดการเผชิญหน้าและการส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนและผู้มีความเห็นต่าง
  • เคารพเจตนารมณ์ของประชาชนกลุ่มที่เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูป และประชาชนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้งอีกฝ่ายหนึ่ง

 

  1. 2.       เริ่มต้นเจรจาเพื่อหาทางออกประเทศ เพราะไม่มีความขัดแย้งใดในโลกที่หาทางออกได้โดยปราศจากการเจรจา
  • ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเดินหน้าไปได้หรือไม่ก็ตาม คู่ความขัดแย้งและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเจรจาเกี่ยวกับการปฏิรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไก องค์กรที่มาของตัวแทนจากประชาชน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีส่วนร่วม

 

  1. 3.       เดินหน้าปฏิรูปทันที
  • ปกป้องวาระการปฏิรูปประเทศมิให้ถูกลดความสำคัญลงภายใต้บรรยากาศการเผชิญหน้าของฝ่ายต่างๆ และมิให้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศถูกซุกไว้ใต้พรม และสูญเสียโอกาสของความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและความเห็นพ้องร่วมกันเรื่องการปฏิรูป
    • อาสาร่วมสร้าง “เวทีกลาง-พื้นที่การมีส่วนร่วม” เพื่อให้ทุกฝ่ายนำเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยน เพื่อรวบรวมประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูป โดยไม่รวมศูนย์ รวบอำนาจ

 

 

“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” หรือ Reform Now Network”  เป็นการรวมพลังทำงานร่วมกันของบุคคลและองค์กรด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ ด้านธุรกิจ ด้านชุมชน ด้านการปฏิรูป ด้านการพัฒนาสังคม ฯลฯ  จำนวนกว่า 60 องค์กร  ณ วันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ  เมื่อ 30 มกราคม 2557  โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อผลักดัน ขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปประเทศบนวิถีทางประชาธิปไตยให้เกิดผลก้าวหน้าและมีผลสำเร็จอย่างจริงจัง โดยการปฏิรูปต้องเริ่มทันที มีกรอบแนวทางและประเด็นที่ชัดเจน ยึดถือหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทุกคนต้องเป็นเจ้าของการปฏิรูป

 

รายชื่อเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป ณ 30 ม.ค.2557

  1. FTA Watch
  2. Human Right Watch
  3. เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย
  4. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ
  5. เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล
  6. เครือข่ายกะเหรี่ยงประเทศไทย
  7. เครือข่ายการจัดการลุ่มน้ำ
  8. เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
  9. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
  10. เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
  11. เครือข่ายชุมชนพังงา
  12. เครือข่ายชุมชนอุบล
  13. เครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง จ.อยุธยา
  14. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบเหมืองทองพิจิตร
  15. เครือข่ายพลเมือง 14 จังหวัดภาคใต้
  16. เครือข่ายมวลมหาประชาคุย
  17. เครือข่ายวาระเปลี่ยนตะวันออก
  18. เครือข่ายสภาเกษตรกร
  19. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน
  20. เครือข่ายสมัชชาพลเมือง กทม.
  21. เครือข่ายสวัสดิการชุมชน
  22. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
  23. เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านแพ้ว
  24. เครือข่ายอ่าวตัว ก.
  25. เครือข่ายอาหารปลอดภัยคาบสมุทรสทิงพระ
  26. เครือข่ายสุขภาพ
  27. สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
  28. กลุ่มโลกสวยฯ
  29. กลุ่มจับตาความรุนแรง
  30. คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
  31. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
  32. คณะประสานงานองค์กรชุมชน (คปอ.)
  33. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  34. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
  35. นักวิชาการสุขภาพจิต
  36. ผู้แทนภาคประชาสังคมระดับภาค 11 ภาค
  37. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
  38. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  39. มูลนิธิเพื่อคนไทย
  40. มูลนิธิชีววิถี
  41. มูลนิธิชุมชนไท
  42. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  43. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
  44. มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย (ScenarioThailand)
  45. มูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  46. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  47. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
  48. ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
  49. สถานีโทรทัศน์ TPBS
  50. สถาบัน  Change Fusion
  51. สภาเกษตรกรแห่งชาติ
  52. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
  53. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
  54. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  55. หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  56. สมาคมธนาคารไทย
  57. สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
  58. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
  59. สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
  60. สำนักข่าวอิศรา
  61. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  62. หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  63. องค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย)
  64. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  65. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

 

 

————————————————————————————————-