งานวิจัยแพทย์ไทยถูกคัดเลือกไปเวทีโลก ไทย สเตมไลฟ์ แนะเก็บสเต็มเซลล์ผู้ใหญ่อย่างไรใช้รักษาโรคได้จริง

0
351
image_pdfimage_printPrint

ในปัจจุบันการเก็บสเต็มเซลล์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสเต็มเซลล์ถือเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ ต่างไปจากเซลล์ที่โตเต็มที่แล้วซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะของแต่ละอวัยวะนั้น ไม่สามารถเพิ่มจำนวนตัวเอง หรือเปลี่ยนรูปลักษณ์และการทำงานไปเป็นเซลล์ของอวัยวะอื่นได้อีก ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีเฉพาะในสเต็มเซลล์นี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ทั่วโลกสนใจการเก็บสเต็มเซลล์เพื่อมาใช้รักษาโรคอีกมากมายแทนการรักษาในปัจจุบันที่ให้ผลไม่น่าพึงพอใจ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเก็บสำรองสเต็มเซลล์ไว้ก่อนการเจ็บป่วยที่อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเก็บสเต็มเซลล์ตนเองได้ โดยส่วนใหญ่คนไทยจะรู้จักแต่การเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือ น้อยคนนักที่จะทราบว่าในขณะนี้ในประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการด้านการเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิตหรือที่เรียกว่าเก็บสเต็มเซล์ในผู้ใหญ่ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายจากทั่วโลก แพทย์บางท่านได้เปรียบเซลล์มหัศจรรย์นี้เสมือน “อวัยวะสำรอง” ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสในการรักษาโรคที่สามารถใช้สเต็มเซลล์ของตัวเองมาใช้ของแต่ละบุคคล

แพทย์หญิงวรัชยา ฟองศรัณย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัด กล่าวว่า การเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดเป็นวิธีการเก็บสเต็มเซลล์แบบหนึ่ง เซลล์ที่ได้มีคุณสมบัติในการเพิ่มจำนวนและเจริญเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้เช่นเดียวกับการเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือ การเก็บสเต็มเซลล์เป็นการสำรองเผื่อสำหรับการรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด ไม่ใช่การป้องกันโรค โดยสเต็มเซลล์ที่ดีที่สุดในการใช้รักษาโรค คือสเต็มเซลล์ของตนเองที่เก็บก่อนการเกิดโรค เพราะโรคบางชนิดเป็นโรคของสเต็มเซลล์โดยตรง สเต็มเซลล์ของคนที่เป็นโรคแล้วนั้นไม่สามารถใช้สเต็มเซลล์ตนเองรักษาโรคได้ โรคที่สามารถรักษาด้วยสเต็มเซลล์มีหลากหลาย เปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ อาทิเช่น โรคโลหิตจางชนิดธาลัสซีเมีย โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทั้งยังมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ทั่วโลกที่ศึกษาการรักษาโรคกลุ่มที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายด้วยสเต็มเซลล์ เช่น โรคของกระดูกอ่อนเสื่อม โรคข้อเสื่อมระยะต้น การบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกีฬา แผลเบาหวาน ฯลฯ

“การเก็บสเต็มเซลล์ในกระแสเลือดนั้น ก่อนอื่นต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ทั้งการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ความสมบูรณ์ของเลือด การแข็งตัวของเลือด ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด และเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงโรคที่สามารถถ่ายทอดทางการรับโลหิต การตรวจเอ๊กซเรย์ปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หลังจากตรวจสุขภาพผ่านแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นการสร้างสเต็มเซลล์ให้ออกมาในกระแสเลือดด้วยฉีดยา G-CSF บริเวณต้นแขน (คล้ายการฉีดวัคซีน) วันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นทำการเก็บสเต็มเซลล์ด้วยเครื่องแยกชนิดเซลล์จากกระแสโลหิต (Apheresis Machine) ซึ่งทำการคัดแยกชั้นสเต็มเซลล์ออกจากเลือด โดยเครื่องจะคำนวณปริมาณเลือดของผู้เก็บสเต็มเซลล์ จากข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูงและเพศของผู้เก็บ คำนวนเวลาที่ใช้ในการเก็บสเต็มเซลล์ อัตราการปั่นแยกสเต็มเซลล์ที่เหมาะสม ปริมาตรสเต็มเซลล์ที่เก็บได้ ในระหว่างการเก็บสเต็มเซลล์ จะมีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลตลอดกระบวนการเก็บ โดยสาย 1 สายจากเครื่องเก็บสเต็มเซลล์จะทำหน้าที่รับเลือดจากเส้นเลือดบริเวณข้อพับของแขนข้างหนึ่ง ซึ่งเลือดที่ถูกดึงออกมาจะถูกนำไปปั่นเพื่อคัดแยกชั้นของสเต็มเซลล์ออกมาเก็บไว้ ส่วนเม็ดเลือดแดงและพลาสม่าจะถูกคืนกลับสู่ร่างกายทางเส้นเลือดดำของแขนอีกข้างหนึ่ง โดยทั่วไปเลือด 1 ลิตรของเราจะสามารถคัดแยกสเต็มเซลล์เข้มข้นได้ประมาณ 10-20 ซีซีเท่านั้น ดังนั้นการเก็บสเต็มเซลล์ต้องใช้เครื่องดังกล่าวในการปั่นเก็บสเตมเซลล์ โดยปกติจะปั่นประมาณ 3 เท่าของปริมาณเลือดทั้งหมด เพื่อให้เก็บสเต็มเซลล์ได้มากที่สุดโดยมีผลกระทบต่อผู้เก็บน้อยที่สุด โดยกระบวนการเก็บใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 3-4 ชั่วโมง การเก็บแต่ละครั้ง ผู้เก็บจะเสียเลือดไม่เกิน 150 ซีซี ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่บริษัทมีประสบการณ์ในการเก็บสเต็มเซลล์คือ 9 ปี และผู้ที่อายุมากที่สุดคือ 89 ปี” แพทย์หญิงวรัชยากล่าว

แพทย์หญิงวรัชยา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ล่าสุดทาง บริษัทฯ ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยสำหรับงานวิจัยหัวข้อปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต และหัวข้อฟื้นฟูเข่าเสื่อมด้วยสเต็มเซล์ โดยโชว์ผลงานแนะแนวให้ความรู้ในงานประชุมประจำปีของสมาคมการบำบัดรักษาด้วยเซลล์นานาชาติ International Society for Cellular Therapy (ISCT 2017) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจของแพทย์ไทยที่สามารถนำงานวิจัยมาต่อยอดการรักษาผู้ป่วยได้จริง

# # #

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : บริษัท ซีเคร็ท คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
จิรสุดา จิตรากรณ์ : 064 301 2555